วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

คุณลักษณะการสอนที่เป็นเลิศ

คุณลักษณะการสอนที่เป็นเลิศ



                                                                                                                                                                            แก้วตา  ไทรงาม


                     นักการศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องต้องกันว่า คุณภาพของครูเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการพิจารณาคุณภาพของโรงเรียน แต่องค์ประกอบอะไรเล่าจะบ่งชี้คุณภาพของครูได้ในบทความนี้         ซึ่งเก็บความมาจากเรื่อง  Teaching  for  Excellence  โดยท่านจะทราบคุณลักษณะที่ผู้บริหารต้องการให้มีในตัวครู ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของครู 15 ประการ
ผู้บริหารโรงเรียนมองท่านอย่างไร
                  ผู้บริหารการศึกษาผู้มีอำนาจหน้าที่ในการคัดเลือกครู มีภาระงานสำคัญที่สุดอยู่อย่างหนึ่ง   ที่ต้องรับผิดชอบในการจัดวางครูมืออาชีพที่มีคุณภาพลงในแต่ละชั้นเรียน       มีองค์ประกอบหลายประการที่มีส่วนสำคัญต่อประสิทธิผลของโรงเรียน แต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดก็คือคุณภาพของครู   ผู้บรหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลอาจเห็นแตกต่างกันบ้างในการจัดลำดับความสำคัญในการคัดเลือกครู   แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะเห็นด้วยกับคุณลักษณะพื้นฐานที่ทำให้ครูมีประสิทธิภาพ
                คุณภาพที่ส่งผลต่อตัวนักเรียน การปรับปรุงการสอน          และช่วยให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ด้วยความราบรื่น ลองตรวจสอบคุณสมบัติเหล่านี้ เพื่อดูว่าคุณลักษณะใดที่ท่านนำมาใช้ได้ดีอยู่แล้ว และ      คุณลักษณะใดที่ท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้

คุณลักษณะสำคัญ 15 ประการ
                1. แสดงความกระตือรือร้น  ท่านต้องกระตือรือร้นที่จะสอน และหากมีก็จงแสดงออกมา!         ทำให้การเรียนสนุก ความกระตือรือร้นในการสอนของท่านจะทำให้เกิดแรงจูงใจในนักเรียนของท่านอย่างเห็นได้ชัดเจน แม้เมื่อออกมานอกห้องเรียนแล้วเขาก็จะคงมีความรู้สึกอยากทำงานร่วมกันต่อไป
                2. รู้เนื้อหา  ท่านต้องติดตามหาความรู้ในสายงานที่ท่านถนัดอยู่เสมอ         ถ้าท่านสอนระดับก่อนประถมศึกษา ท่านก็ควรหมั่นอ่านวารสารด้านปฐมวัย ถ้าท่านสอนเคมีก็ต้องหาโอกาสเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ       ในสถาบันท้องถิ่นที่จัดขึ้น ไม่ว่าท่านจะเพิ่งเริ่มเป็นครูปีแรกหรือเป็นปีที่ 30 แล้วก็ตาม อย่ามัวหลงภูมิใจอยู่กับความรู้ ความสามารถเดิม ๆ จงคอยติดตามความเคลื่อนไหวในสายวิชาที่ท่านถนัดอยู่เสมอ
                3. ทำงานให้เป็นระบบ      องค์กรที่มีประสิทธิภาพจะยินดีให้ท่านใช้เวลาศึกษาหาความรู้ร่วมกับนักเรียนให้มากขึ้น ท่านต้องคิดค้นวิธีทำงานประจำวันที่มีประสิทธิผล      รวบรวมผลงานของนักเรียนจัดหาวัสดุการเรียนการสอนมาให้ มอบงานกลับไปทบทวนและแนะนำด้วยว่าเมื่องานเสร็จแล้วให้ทำอะไรต่อ    ให้ข้อมูลข่าวสารในชั้นเรียนให้ถูกต้อง ชัดเจน ฯลฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องกำหนดวิธีการทำงานให้เป็นระบบ        เพื่อควบคุมชั้นให้ดำเนินไปได้ตามแนวทางที่ต้องการ แล้วจะทำให้ท่านมีเวลาสอนและช่วยเหลือนักเรียนในรายที่จำเป็นได้มากขึ้น
                4. สอนอย่างกระฉับกระเฉง  ไม่ว่าผู้บริหาร ผู้นิเทศงาน หรือผู้บริหารในสายงานอื่น ๆ จะชื่นชมผู้ทำงานหนักเหมือน ๆ กัน ครูที่มีประสิทธิภาพจะวุ่นอยู่กับงาน ทำโน่นทำนี่ เขาจะไม่อยู่นิ่ง จะยุ่งอยู่ตลอดเวลา เขาจะวุ่นอยู่กับนักเรียนและเพื่อนครูอย่างเอาจริงเอาจัง
                5. แสดงเจตคติที่ดี  โวลแตร์ ปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า การตัดสินใจที่กล้าหาญชาญฉลาดที่สุดของคนเราในรอบหนึ่งวัน ก็คือ การตัดสินใจที่อยู่ในช่วงอารมณ์ดี   นักเรียนไม่ต้องการครูที่อยู่ในอารมณ์บูด เขาต้องการต้นแบบที่มีเจตคติดี เขาจะคอยฟังว่าท่านพูดคุยกับคนอื่นอย่างไร   และฟังกระทั่งความรู้สึกของเสียงที่ผ่านคำพูดออกมา ท่านควรแสดงออกมาอย่างระมัดระวังเอาใจใส่และให้ความเคารพ   เช่นเดียวกับผู้บริหารก็ต้องสะท้อนเจตคติที่ดีต่อครู ต่อนักเรียน และต่อชุมชนด้วย
                6. วางแนวทางการจัดชั้นให้ประสบความสำเร็จ       วางแนวทางและกำหนดระบบการบริหารจัดการชั้นเรียนตั้งแต่วันแรกที่ท่านเข้าชั้นเรียน การมีวินัยและความมีเหตุผลเป็นสิ่งจำเป็นต่อนักเรียนในการทำงานและการทำให้ชั้นอยู่ในระเบียบแล้วบริหารชั้นให้เป็นไปตามกฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง จงหลีกเลี่ยงกฎระเบียบที่ไม่ได้กำหนดไว้ เพราะไม่ช้านักเรียนจะเรียนรู้ว่าคำที่ท่านพูดไม่มีความหมาย
                7. กำหนดระยะเวลาในแผนการสอน    เนื้อหาที่เรียนจะมากน้อยย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะเรียน นักเรียนเรียนได้ดีที่สุดโดยการกระทำ ไม่ใช่โดยการจ้องดู และไม่ใช่โดยการฟังเท่านั้น       ท่านต้องวางแผนการสอนตามกำหนดเวลาตลอดหลักสูตรของท่าน ไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่าเมื่อสิ้นปีการศึกษาแล้วพบว่ามีเวลาไม่พอจะสอนให้จบหลักสูตรได้
                8. ดำรงทักษะมนุษยสัมพันธ์ไว้  ในข้อสรุปชั้นต้น ผู้แสดงความเห็นใช้คำว่า       ทำงานกับผู้อื่นได้ดีหมายความว่า ผู้บริหารต้องการครูที่ทำงานกับผู้อื่นได้ดี ถ้าคนไม่ชอบพฤติกรรมของท่านเขาก็จะไม่เข้าหาท่านจะพากันให้ความร่วมมือท่านน้อยลง นี่เป็นความจริง ไม่ว่าจะในฐานะเพื่อนร่วมงาน         ผู้ปกครอง และแม้กระทั่งนักเรียน การศึกษาเป็นธุรกิจเกี่ยวกับมนุษย์       ทักษะมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครูที่ประสบความสำเร็จ
                9. พูดจาสื่อความหมายให้ได้ความชัดเจน  ครูที่มีประสิทธิภาพจะให้ข้อมูลข่าวสารชัดเจน อธิบายให้ชัดเจนพร้อมทั้งแสดงให้ดูขณะที่อธิบายด้วย เมื่อต้องการให้ข้อมูลใหม่ ครูต้องให้แนวทางที่ถูกซึ่งรวมถึงการอธิบาย การกำหนดหัวข้อ การสรุปย่อและการทบทวน บ่อยครั้งที่เด็ก ๆไม่เข้าใจว่าเขาเรียนอะไร        หรือทำไมเขาจึงต้องเรียน
                10. ถามคำถามให้มีประสิทธิภาพ      การถามเป็นเครื่องมือการสอนที่มีอำนาจ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จากการถามที่ดี ตั้งคำถามกับนักเรียนทั้งชั้น   แม้ครูจะต้องการถามเฉพาะตัวนักเรียน เมื่อจะถามเฉพาะตัวจงถามคำถามออกไปก่อนแล้วค่อยระบุชื่อนักเรียน หลังจากนั้นต้องให้เวลานักเรียนคิด    อย่าเรียกชื่อเตือนถี่เกินไป ตัวอย่างที่ไม่ค่อยได้ผล เช่น นที เธอคิดอย่างไร่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์มากที่สุดของเอดิสัน            และเพราะเหตุใด อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราเอ่ยชื่อคนอื่นออกไป  คนอื่นก็จะไม่สนใจคิดหาคำตอบและไม่สนใจติดตามเรื่องที่ถามต่อไป ทางที่ควรครูน่าจะพูดว่า อะไรเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์มากที่สุดของเอดิสัน     และเพราะเหตุใด แล้วหยุดเว้นระยะสัก 3-5 นาที การทิ้งช่วงเช่นนี้จะทำให้ทุกคนต้องคิดหาคำตอบ      มันดูเหมือนกับต้องเสียเวลานาน แต่วิธีนี้ครูเก่ง ๆ จะใช้ได้ผลดี
                11. แยกแยะการสอนให้แตกต่างกัน  สิ่งท้าทายที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งในการสอนก็คือ    การทำงานร่วมกันกับนักเรียนในรูปแบบต่าง ๆ กัน ทั้งบุคลิกและอัตราเร่งในการสอน    ครูต้องผสมผสานให้ผู้เรียนได้ฟังไปด้วยได้เห็นด้วยพร้อม ๆ กับใช้เทคนิคมาประกอบ เช่น บทเรียนพิเศษ ต้องรวบรวมนักเรียนที่มีความอ่อนด้อยคล้าย ๆ กัน หรือมีช่องว่างทักษะใกล้เคียงกันมาเข้ากลุ่มย่อย เป็นต้น
                12. สร้างความสำเร็จในชั้นของท่าน  อัตราความสำเร็จก็มีความสำคัญ     ถ้างานที่ทำต่อเนื่องมากสำหรับนักเรียนเขาจะเกิดความคับข้องใจ เป็นผลให้มีปัญหาทางพฤติกรรมและหมดความพยายาม    รายงานการวิจัยชี้ให้เห็นว่า อัตราความสำเร็จอย่างน้อยควรได้ 80% เมื่อนักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จ    จงสอนต่อไปและหรือให้งานที่ง่ายลงมาจนกว่าเขาจะชนะมันได้
                13. ตั้งความหวังให้สูง  ผู้บริหารต้องการครูที่ตั้งความหวังในตัวนักเรียน ความคาดหวังสูง ๆ จำเป็นต้องชี้แจงให้เป็นที่รู้กันล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลงานที่ดี ครูที่ประสบผลสำเร็จต้องไม่เพียงแต่คอยรับความร่วมมือเท่านั้น แต่ต้องแสดงความต้องการออกมาให้รู้ด้วย คนเรายินดีให้ความร่วมมือหากไม่ถูกบังคับหรือไม่ใช่วิธีการหยาบคาย ความจริงแล้ว นักเรียนมักเคารพครูที่คาดหวังในตัวเขาไว้สูง
                14. สร้างบรรยากาศให้น่าชื่นชมยินดี       อย่าปล่อยให้นักเรียนของท่านนั่งใจล่องลอยไปนอกชั้นเรียน หรือเหม่อลอย เซื่องซึม เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ลดลง จงทำบรรยากาศในห้องเรียนให้สนุกสนาน รื่นเริง เพื่อจะได้กระตุ้นให้การเรียนรู้ได้ผล ครูไม่จำเป็นต้องสร้างสิ่งวิเศษมหัศจรรย์ขึ้น   มาช่วยในการเรียนการสอน แต่ห้องเรียนที่สดชื่นขณะที่นักเรียนรู้สึกสบาย ๆ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้มากกว่า
                15. จงยืดหยุ่น   การสอนต้องการความยืดหยุ่น ท่านต้องปรับหัวข้อการเรียนให้เหมาะสมกับเวลาแทนที่ท่านจะยึดติดอยู่กับแผนการเรียน         ท่านควรสนองตอบความต้องการของนักเรียนเพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนภารกิจประจำและกฎข้อบังคับที่อยู่ เมื่อจำเป็นต้องช่วยเด็ก ท่านต้องควบคุมอารมณ์ และนำบทเรียนให้เดินหน้าไปได้เมื่อแผนการเรียนที่ท่านทำไว้อย่างดีแล้วต้องมาเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เหนือการควบคุมของท่าน    ดังคำกล่าวสมัยใหม่ว่า  การยืดหยุ่นจะไม่ทำให้งานเสียได้
ข้อควรสังเกต
                นักบริหารการศึกษาที่ดีต้องการความมั่นใจในความสำเร็จทางด้านวิชาการของเด็ก ๆ ทุกคน   เพื่อให้โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่น เขาจึงต้องรับผิดชอบในการพัฒนาครูให้มีคุณภาพ สามารถสอนได้อย่างลึกซึ้ง การศึกษามิใช่เป็นแต่เพียงศาสตร์        และคุณภาพที่ต้องการสร้างให้มีขึ้นในตัวครู จะแปรเปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์และความต้องการของโรงเรียน ซึ่งแตกต่างกัน อย่างไรก็ดีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น เป็นหลักทั่วๆ ไปซึ่งผู้บริหารที่มีคุณธรรมจะต้องแสวงหาเมื่อเขาต้องการครูใหม่หรือพยายามพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญในการสอนยิ่งขึ้น
                โปรดให้ความสำคัญกับคุณลักษณะความเป็นเลิศทั้ง 15 ประการนี้ว่า โปรดตรวจสอบว่าสิ่งใดที่ท่านมีอยู่แล้ว ข้อใดที่ท่านไม่มี ท่านต้องการปรับปรุงข้อใด   จัดลำดับความต้องการ แล้วพัฒนาตนเองขึ้นมาเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในวิชาชีพครู
                ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับตัวของท่านเอง



เทคนิคการเขียนเเผนการสอนภาษาอังกฤษ

เทคนิคการจัดทำแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษ

ในการเขียนแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษจำเป็นต้องอาศัยความรู้ด้านต่างๆ เช่น วิธีการเขียนแผนการสอน การใช้เลือกภาษาอังกฤษให้เหมาะกับระดับความรู้ของนักศึกษา วิธีการอธิบายคำศัพท์ที่อยู่ในบทเรียน รวมไปถึงตัวอย่างการแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษของคณะวิศวกรรมศาสตร์

วิธีการเขียนแผนการสอน [1]

แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ต้องทำการสอนตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า หรือ คือการบันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้ความหมายของแผนการสอนว่า หมายถึง การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนแต่ละครั้งโดยกำหนดสาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อ ตลอดจนการวัดผลและการประเมินผล
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ว่าเป็นแผนงานหรือโครงการที่ครูผู้สอนได้เตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อ ใช้ปฏิบัติการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงค์ การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
กรมวิชาการได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ คือผลของการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยนำสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา และกระบวนการเรียนรู้ โดยเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพ ของผู้เรียน
สุพล วังสินธ์ กล่าวว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้
  1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
  2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
  3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและประเมินผล
  4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน
  5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
  6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำ

ลักษณะที่ดีของการจัดทำแผน [2]

สมนึก ภัททิยธนี ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน ดังนี้
  1. เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดยเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)
  2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ
  3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
  4. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
  5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในหลักการได้ง่าย
  6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วงที่ทำการวัด (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
การเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้างเป็นแผนการสอนย่อยๆ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้
  1. สาระสำคัญ
  2. จุดประสงค์การเรียนรู้
  3. เนื้อหา
  4. กิจกรรมการเรียนการสอน
  5. สื่อการเรียนการสอน
  6. การวัดและประเมินผลการเรียน

รายละเอียดแผนการเรียนรู้

แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์
  1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
  2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
  3. เนื้อหา (Content) เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
  4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
  5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
  6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
  7. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
  8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอแนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
  9. บันทึกการสอน เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้วเพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป มี 3 หัวข้อ คือ
  1. ผลการเรียน เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง 3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน
  1. ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะสอน ก่อนสอน และหลังทำการสอน
  2. ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด

เทคนิคการวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในชั้นเรียน

การจัดทำแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษเพื่อให้มีประสิทธิภาพดี ไม่ใช่การใช้ภาษาอังกฤษระดับสูงเกินกว่าที่นักศึกษามี ดังนั้นก่อนการสอนจึงควรที่ต้องมีการวัดระดับความรู้ของนักศึกษาในชั้นเรียน ซึ่งในการวัดระดับความรู้ของนักศึกษาในชั้นเรียนอาจไม่จำเป็นต้องทำแบบทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว และวิเคราะห์ระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาจากแบบทดสอบภาษาอังกฤษอาจไม่เหมาะกับอาจารย์ที่ไม่ได้สอนวิชาภาษาอังกฤษโดยตรง ดังนั้นจึงมีเทคนิคการวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในชั้นเรียนอย่างง่ายๆ คือ
  1. การตั้งคำถามจากการสนทนาภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เริ่มจากการตั้งคำถามโดยใช้คำถามปลายเปิด (Open question) ถ้านักศึกษาในชั้นเรียนไม่สามารถตอบคำถามเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษได้ ให้อาจารย์เปลี่ยนคำถามนั้นเป็นคำถามปลายปิด (Close question)ดังตารางที่ 1
  2. การเล่นเกมส์ใบ้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยการเลือกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนและไม่ยากมากนัก แล้วให้ตัวแทนนักศึกษาที่อยู่ในชั้นเรียนเป็นคนใบ้คำ โดยที่ไม่สามารถพูดศัพท์คำนั้นออกมา แล้วให้เพื่อนนักศึกษาคนอื่นๆ ทายคำศัพท์เหล่านั้น วิธีการนี้นอกจากจะเป็นการตรวจสอบระดับความรู้ภาษาอังกฤษแล้วยังเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาในชั้นเรียนสนใจ และจดจำคำศัพท์เหล่านั้นอีกด้วย
  3. ให้นักศึกษาและอาจารย์รู้และเข้าใจความหมายของประโยคที่จำเป็นต้องใช้ในชั้นเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนภาคภาษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างน้อย 5 ประโยค โดยแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1
ItemOpen question (คำถามปลายเปิด)Close question (คำถามปลายปิด)
1How was your weekend?Do you have a good weekend?
2How is the weather today?It really hot/cold/windy/rainy today, isn’t it?
3What do you feel?Are you hot/cold/comfortable?
4How did you go to University?Did you go to University by bus/train?
5What did to think of ……….?Do you hear about …………?
ตารางที่ 2
ItemTopicPhase
1Greetings and Small talk
Good morning, Good afternoon
Hello, how are you all today? It’s really hot/cold/windy/rainy today, isn’t it? Are you hot/cold/comfortable?
Do you want me to turn the air condition (AC) on/off? Did you have a good weekend?
How was your weekend?
Did you hear about ………..? (asking for an opinion) What did you think of……………? (asking for an opinion)
2Controlling Classroom Language
Please take out your textbooks.
Please turn to page ……. in your textbook.
Please read the following passage.
Please listen to the recording.
Is that clear?/ Do you follow me?/ Does everyone understand? Does anyone have any questions about what we have just look at?
I am going to write this on the board now?
Is it Ok if I erase this from the board now?Please work with the person next to you. Please make a group with the people around you?
3Expressions for Reflecting and Reacting
That’s right./ That’s correct. That’s great! / That’s excellent! / Well done! / Good job! / Exactly! / Perfect!
That’s not exactly right./ I think you need to try again. What do you think? / What ‘s your openion?
I think you (name) make a point. I agree with you (name). / I agree with what you (name) said. Could you repeat that a little more slowly?
Can you say that a little louder?Could you start again from the beginning?
Could you say that one more time?
โดยอาจารย์ควรใช้ประโยคเหล่านี้บ่อยๆ เพื่อให้นักศึกษามีความคุ้นเคย และควรต้องออกเสียงที่ถูกต้องเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาในชั้นเรียน โดยการให้นักศึกษาออกเสียงตาม ในการฝึกออกเสียงและความคุ้นเคยกับประโยคเหล่านี้อาจใช้วิธีแสดงสถานการณ์จำลองโดยการแบ่งกลุ่มนักศึกษา แล้วให้นักศึกษาเลือกประโยคที่ให้มาเพื่อใช้ในสถานการณ์จำลองดังกล่าว

วิธีการอธิบายคำศัพท์ทางที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน

การอธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แผนภาพ (Diagram) การเขียนคำนิยาม (Written definition) การอธิบายคำนิยาม (Spoken definition) และการแสดงบทบาท (Demonstrations) ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าวิธีไหนมีประสิทธิภาพมากที่สุดขึ้นอยู่กับคำศัพท์และบริบทของคำศัพท์นั้นๆ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปประกอบการสอนภาคภาษาอังกฤษ ดังนี้
  1. ความเกี่ยวเนื่อง ควรจัดคำศัพท์ออกเป็นหมวดหมู่ ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างคำศัพท์ แล้วเขียนออกมาเป็นแผนผัง จะทำให้สามารถจำคำศัพท์ได้ง่ายขึ้น
  2. เขียน การนำคำศัพท์นั้นๆ มาใช้ จะทำให้สามารถจำได้ฝังใจยิ่งขึ้น ลองแต่งประโยค โดยนำคำศัพท์ใหม่ที่เรียนมาใช้ดูสิคะ แต่งเป็นเรื่องราวๆ ง่ายในชีวิตประจำวัน หรือเขียนเป็นไดอารี่ภาษาอังกฤษ
  3. วาดรูป ดึงวิญญาณศิลปินในตัวออกมาใช้ โดยการวาดรูปที่แสดงถึงคำศัพท์ที่เรียนอยู่ ภาพที่วาดจะช่วยกระตุ้นความทรงจำถึงศัพท์นั้นในอนาคต (วิธีนี้ใช้สอนภาษาจีนให้กับเด็ก ซึ่งได้ผลดีมาก)
  4. แสดง ท่าทางประกอบคำศัพท์ หรือสำนวนที่กำลังเรียนอยู่ หรือจินตนาการว่าจะแสดงออกอย่างไร ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ศัพท์คำนั้น
  5. ลองออกแบบสมุดศัพท์ภาษาอังกฤษ พร้อมความหมาย แล้วเปิดอ่าน หรือท่องในยามว่าง ทำเล่มใหม่ทุกอาทิตย์ ซึ่งจะได้คลังคำศัพท์ในหัวเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
  6. ความสัมพันธ์ กำหนดแต่ละสี ให้แต่ละคำศัพท์ ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่ จะช่วยให้จำศัพท์นั้นได้แม่นยำขึ้น เมื่อนึกถึงคำนั้นในคราวต่อไป
  7. ฟัง นึกถึงศัพท์คำอื่นที่ออกเสียงคล้ายๆ กับศัพท์ใหม่ที่กำลังเรียนอยู่ ใช้ความสัมพันธ์ตรงจุดนี้ในการช่วยให้สามารถจำการออกเสียงของคำใหม่นั้นได้ง่ายขึ้น
  8. เลือก จำไว้ว่า การเรียนในหัวข้อที่ชอบ จะทำให้รู้สึกว่ามันง่ายขึ้น ดังนั้นควรใส่ใจในการเลือกคำศัพท์ที่คิดว่ามีประโยชน์ หรือน่าสนใจ เพราะแม้แต่การเลือกคำที่จะเรียน ก็มีผลให้จำได้แม่นและเร็วขึ้นเช่นกัน
  9. ข้อจำกัด มันเป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะจำศัพท์ในดิกชันนารี่ได้หมดในวันเดียว ดังนั้นจำกัดการเรียนศัพท์ใหม่แค่วันละ 10-15 คำ ก็พอแล้ว อย่าพยายามยัดเยียดให้สมองตัวเองเยอะเกิน เพราะจะทำให้สมองตื้อ และเบื่อหน่าย
  10. สังเกต พยายามสังเกตคำศัพท์แปลกใหม่จากสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะจากเพลง หรือนสพ. ภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า น้องๆ ต้องรู้จักฟังเพลงและอ่านนสพ. ภาษาอังกฤษบ้างนั่นเอง นอกจากจะได้เจอศัพท์ใหม่ แล้ว ยังเพิ่มทักษะการฟัง และการอ่านไปในตัว

ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ

ในการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษ นอกจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาอังกฤษแล้ว การที่จะทำให้การเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษาประสพความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนทั้งตัวผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาคภาษาอังกฤษลดลงโดยสามารถสรุปเป็นตารางได้ดังตารางที่ 3
ปัญหาแนวทางแก้ไข
นักศึกษามีระดับความรู้ภาษาอังกฤษต่ำ นักศึกษาไม่ตั้งใจเรียน นักศึกษาเกิดความสับสนในเนื้อหาที่เรียน นักศึกษาเข้าเรียนช้าทำให้ตามไม่ทัน
ให้นักศึกษาท่องคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น หาวิธีการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาตั้งใจเรียนมากขึ้น ใช้สื่อหรือวิธีการต่างๆ เช่น Diagrams, Handouts หรือการพูดซ้ำ (Repeation) การใช้วิธีถามตอบ (Conceptchecking)

ใช้การคัดลอกภาษาอังกฤษจากแหล่งอื่นๆ โดยที่มีคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย กังวลเกี่ยวกับการพูดภาษาอังกฤษที่ไม่สมบูรณ์แบบ นักศึกษาเกิดความสับสนในเนื้อหาที่เรียน นักศึกษาเข้าเรียนช้าทำให้ตามไม่ทัน
ควรเปลี่ยนคำศัพท์ที่ยากเกินความสามารถของนักศึกษาให้ง่ายขึ้นไม่ควรคัดลอกทั้งประโยค จำไว้ว่าภาษาอังกฤษของนักศึกษาไม่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษให้สมบูรณ์แบบ แต่ควรพูดให้นักศึกษาเข้าใจ ถ้าอาจารย์มีความกังวลเกี่ยวกับภาษาอังกฤษนักศึกษาก็จะมีความกังวลไปด้วย ทำให้ประสิทธิภาพการเรียนของนักศึกษาลดลงด้วย

ตัวอย่างรูปแบบแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษ

Lesson Plan

Subject..................................................................................................................................................................
Lesson Topic..................................................................................................................................................................

Aim of the lesson
.................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................
Key English vocabulary
.................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................

How is this vocabulary going to be taught?
.................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................

Outline of the English taught in the lesson
.................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................

Brief Outline of the rest of the lesson
................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................

What opportunities are there in the rest of the lesson to check the ideal in English?
.................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................

ตัวอย่างแผนการสอนภาคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ [3]

CHEMICAL ENGINEERING AND MANUFACTURING CHEMICAL ENGINEERING
Objective
Chemical Engineers are involved in the production of food, cosmetics, fuels, and anything else that requires the mixing of chemicals. This lesson introduces students to one component of chemical engineering: food processing.
Learning Outcomes Students will learn:
  1. The difference between a food scientist, a chemist, and a chemical engineer
  2. How chemical engineers are involved in food production
  3. That chemical engineers need math to change a simple chemical equation or recipe into mass production
Essential Questions
  1. How do they make 4 billion Pop Tarts in a year?
  2. Why do Fruit Loops taste the same no matter where you are?
  3. How are chemical engineers involved with food processing?

Time Required (Itemized)
  1. Introduction to Chemical Engineering and activity (20 minutes)
  2. Assembly line preparation and competition (30 minutes)
  3. Judging of final products (10 minutes)

Assessments
Students may be graded on participation, leadership, completion, attention to detail, etc.

Materials
  1. Cookies
  2. Frosting
  3. Food coloring
  4. Sprinkles
  5. Butcher paper
  6. Knives
  7. Spoons
  8. Cups
  9. Paper towels
  10. Markers

การสร้างเครื่องมือวัดผลเเละประเมินผล

เรื่องที่ ๒
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
วัดและประเมินผลการเรียนรู้
58 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
แผนการฝึกอบรม
เรื่องที่ ๒ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ระยะเวลา
๖ ชั่วโมง
กิจ
กรรมที่ เนื้อหา เวลา วิธีดำเนินกิจกรรม


การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด
และประเมินผลการเรียนรู้
๒ ชั่วโมง
๔ ชั่วโมง
- แบ่งกลุ่มศึกษาใบความรู้
และเอกสารประกอบการ
ปฏิบัติกิจกรรม
- อภิปรายแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ แบ่งปัน
ประสบการณ์
- สะท้อนผลงาน
การวัดและประเมินผล
- ตรวจผลงาน
- สังเกตพฤติกรรม
การปฏิบัติงานกลุ่ม
- การนำเสนอผลงานกลุ่ม
- การแสดงความคิดเห็น
- การสะท้อนผลงาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน59
แผนการฝึกอบรม : เรื่องที่ ๒ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่/เวลา สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการปฏิบัติ สื่อและอุปกรณ์ การวัดและ
ประเมินผล
๑. การกำหนด
หลักฐาน
การเรียนรู้
(๒ ชั่วโมง)
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนด
หลักฐานการเรียนรู้ต้องวิเคราะห์
ได้อย่างถูกต้องว่าต้องการวัด
พฤติกรรมใด เพื่อให้การกำหนด
หลักฐานการเรียนรู้ การเลือกวิธีการ
และเครื่องมือวัดและประเมินผล
การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้
ความเข้าใจ และสามารถพิจารณา
ความเหมาะสม สอดคล้องของ
หลักฐานการเรียนรู้กับความรู้
ทักษะ คุณลักษณะที่กำหนด
ในตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑
กิจกรรมที่ ๑
๑. แบ่งกลุ่มตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
กลุ่มละ ๘ คน หรือตามความ
เหมาะสม
๒. ศึกษาใบความรู้กิจกรรมที่ ๑
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อ
กำหนดหลักฐานการเรียนรู้
และเอกสารประกอบ
การปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑
ตัวอย่างการวิเคราะห์
ตัวชี้วัด ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
และตัวอย่างการจัดกลุ่ม
ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐาน
การเรียนรู้
๓. ปฏิบัติตามใบกิจกรรม ที่ ๑
พร้อมบันทึกลงในแบบบันทึก
กิจกรรมที่ ๑.๑ และ ๑.๒
๔. นำเสนอผลงานกลุ่ม
๕. ร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติ
กิจกรรมกลุ่ม
๑. ใบความรู้กิจกรรมที่ ๑ การวิเคราะห์
ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐาน
การเรียนรู้
๒. เอกสารประกอบการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ๑ ตัวอย่างการวิเคราะห์
ตัวชี้วัด ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
และตัวอย่างการจัดกลุ่มตัวชี้วัด
เพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
๓. แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๑
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนด
หลักฐานการเรียนรู้
๔. แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๒
การจัดกลุ่มตัวชี้วัดเพื่อกำหนด
หลักฐานการเรียนรู้
๔. เอกสารตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้
แกนกลาง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ตรวจผลงาน
จากแบบบันทึก
กิจกรรมที่ ๑.๑
และ ๑.๒
60 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่/เวลา สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการปฏิบัติ สื่อและอุปกรณ์ การวัดและ
ประเมินผล
๒. การสร้าง
และพัฒนา
เครื่องมือวัด
และประเมิน
ผลการเรียนรู้
(๔ ชั่วโมง)
เครื่องมือวัดและประเมินผล
มีหลายประเภท แต่ละประเภท
มีลักษณะและข้อจำกัด ตลอดจน
วิธีการสร้างและพัฒนาแตกต่างกัน
ฉะนั้นจึงต้องเลือกประเภท
ของเครื่องมือวัดและประเมินผล
ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
ที่สะท้อนความรู้ ทักษะ และ
คุณลักษณะที่กำหนดในตัวชี้วัด
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
มีความรู้และสามารถสร้าง
เครื่องมือวัดและประเมินผล
ในระดับชั้นเรียนที่มีคุณภาพ
สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
ที่สะท้อนความรู้ ทักษะ และ
คุณลักษณะที่กำหนดในตัวชี้วัด
กิจกรรมที่ ๒
๑. วิทยากรให้ความรู้โดยใช้
Power Point เรื่อง การวัด
และประเมินผลการเรียนรู้
ระดับชั้นเรียน
๒. แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม
ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มละ
๘ คน หรือตามความเหมาะสม
๓. ผู้เข้ารับการอบรมนำผลงาน
จากแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๒
มาสร้างเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ โดย
กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำ
ไปสู่ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด
โดยศึกษาวิธีการสร้างและพัฒนา
เครื่องมือจากใบความรู้
ที่ ๒.๑ ๒.๒ ๒.๓ ๒.๔ และ
เอกสารประกอบการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ๒ แล้วบันทึกลงใน
แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๒
๔. นำเสนอผลงานกลุ่ม และ
สะท้อนผลงาน
๑. Power Point
๒. ใบความรู้กิจกรรมที่ ๒.๑
วิธีการและเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน
๓. ใบความรู้กิจกรรมที่ ๒.๒
แนวคิดการจัดระดับพฤติกรรม
ด้านความรู้ ความคิด
๔. ใบความรู้กิจกรรมที่ ๒.๓
เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)
๕. ใบความรู้กิจกรรมที่ ๒.๔
วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ
๖. เอกสารประกอบการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ๒
๗. แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๒
ตรวจผลงาน
จากแบบบันทึก
กิจกรรมที่ ๒
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน61
กิจกรรมที่ ๑ : การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
จุดประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถพิจารณาความหมาะสม
สอดคล้องของหลักฐานการเรียนรู้กับความรู้ ทักษะ คุณลักษณะที่กำหนดในตัวชี้วัด ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
วิธีดำเนินกิจกรรม
๑. ผู้เข้ารับการอบรมแบ่งกลุ่มตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มละประมาณ ๘ คน หรือ
ตามความเหมาะสม
๒. ศึกษาใบความรู้กิจกรรมที่ ๑ และเอกสารประกอบการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑
๓. ปฏิบัติกิจกรรมตามใบกิจกรรมที่ ๑ พร้อมบันทึกผลลงในแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๑
และ ๑.๒
๔. นำเสนอผลการปฏิบัติตามแบบกิจกรรมที่ ๑.๑ และ ๑.๒
สื่อ/อุปกรณ์
๑. ใบความรู้กิจกรรมที่ ๑ การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
๒. เอกสารประกอบการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑ ตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนด
หลักฐานการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
๓. ตัวอย่างการจัดกลุ่มตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
๔. แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๑ และ ๑.๒
การวัดและประเมินผล
๑. ตรวจผลงานตามแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๑ และ ๑.๒
๒. สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
๒ ชั่วโมง
62 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ใบกิจกรรมที่ ๑
การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
คำชี้แจง
๑. ให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้กิจกรรมที่ ๑ และเอกสารประกอบการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑
ตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
๒. ผู้เข้ารับการอบรมฝึกปฏิบัติการกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ โดยเลือกมาตรฐาน
การเรียนรู้/สาระการเรียนรู้มา ๑ ชั้นปี มาดำเนินการดังนี้
๒.๑ วิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ วิธีการและเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลลงในแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๑
๒.๒ จัดกลุ่มตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าด้วยกันเพื่อการกำหนดหน่วยการเรียนรู้
พร้อมทั้งกำหนดหลักฐานการเรียนรู้รวบยอด วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลลงในแบบ
บันทึกกิจกรรมที่ ๑.๒
๓. เลือกตัวแทนนำเสนอผลงานกลุ่ม
๔. แลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนที่ได้จากการทำกิจกรรมที่ ๑
๕. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน63
ใบความรู้กิจกรรมที่ ๑
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
ความหมายของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้ให้ความหมาย
ของมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไว้ดังนี้
มาตรฐานการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติ มีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม ที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้น
มาตรฐานการเรียนรู้ ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะ
มาตรฐานการเรียนรู้สะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร ต้องสอนอะไร จะสอนอย่างไร และ
ประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา
ตัวชี้วัด หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียน
ในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความ
เป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และ
เป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย
ตัวชี้วัดชั้นปี : เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษา
ภาคบังคับ
ตัวชี้วัดช่วงชั้น : เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ตัวชี้วัด : เป้าหมายการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ
หากถามว่าต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อะไร ครูที่สอนตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จะไม่ลังเลที่จะชี้ไปที่มาตรฐานและตัวชี้วัด และ
หากถามต่อว่าตัวชี้วัดเหล่านั้นจัดอยู่ในประเภทใดบ้าง หลายท่านคงจัดกลุ่มตัวชี้วัดด้วยความ
ชำนาญ เป็นด้านความรู้ ด้านกระบวนการ และด้านเจตคติ และถึงแม้จะมีการจัดประเภทเช่นนี้
แต่ก็เข้าใจกันอยู่แล้วว่าไม่ใช่การจัดแบ่งที่ตายตัว เพราะในความเป็นจริงเป้าหมายการเรียนรู้หนึ่ง
อาจเหลื่อมซ้อนอยู่ในหลายประเภท เช่น ความรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีมาก่อนทุกเป้าหมาย
64 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัดสื่อสารให้ทราบถึงสิ่งที่คาดหวังให้เกิดการเรียนรู้ที่ค่อนข้างเจาะจง ตัวชี้วัด
จึงเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้และสร้างภาระงานการประเมิน สะท้อนว่าสิ่งที่จะวัดและ
ประเมินผลนั้นจัดเป็นเป้าหมายประเภทใด ฉะนั้นการรู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าตัวชี้วัดนั้น
เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ประเภทใด จะทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้หรือ
แผนการสอน กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ
ผู้สอนจะได้ภาพที่บ่งชี้ชัดเจนขึ้นว่าผู้เรียนควรรู้อะไร ทำอะไรได้
Stiggins (๒๐๐๕) ได้จัดเป้าหมายการเรียนรู้ที่ละเอียดกว่า ๓ ด้าน (ด้านความรู้
ด้านกระบวนการ และด้านเจตคติ) โดยเป้าหมายการเรียนรู้ของ Stiggins ประกอบด้วย
เป้าหมายด้านความรู้ความเข้าใจ (Knowledge and Understanding Targets)
เป็นเป้าหมายเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา ได้แก่ ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ กรอบความคิด
กฎเกณฑ์ หลักการ ตลอดจนความรู้ว่ากระบวนการ วิธีการ ขั้นตอน กล่าวไว้ว่าอย่างไร
คำสำคัญที่บ่งบอกเป้าหมายด้านนี้ ได้แก่ อธิบาย เข้าใจ พรรณนา ระบุ บอก (บอกชื่อ
บอกรายการ) นิยาม จับคู่ เลือก จำ ระลึกได้ เป็นต้น
เป้าหมายด้านการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Reasoning Targets) เป็นเป้าหมาย
ที่เกี่ยวกับความสามารถในการคิด โดยกำหนดให้ต้องนำความรู้มาแก้ปัญหา ความรู้นี้จะได้มา
จากการคิดอย่างลึกซึ้ง คิดด้วยรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การวิเคราะห์ เปรียบเทียบความเหมือน
ความแตกต่าง สังเคราะห์ จัดประเภท อุปนัย นิรนัย ตัดสิน ประเมินค่า เมื่อคิดแล้วต้อง
แสดงออกมาให้เห็นว่ารู้ โดยผ่านผลผลิตที่เป็นได้ทั้งชิ้นงานหรือการกระทำ ผลผลิตที่เป็นชิ้นงาน
เช่น ประเด็นคำถามปลายเปิดที่ผู้เรียนสร้างขึ้นเพื่อสอบถามความคิดเห็น หรือการกระทำ คือ
สาธิตให้ดู ฉะนั้นเครื่องมือประเมินประเภทเลือกตอบ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบจึงไม่เพียงพอ
ที่จะบอกได้ถึงกระบวนการคิดรูปแบบต่าง ๆ ข้างต้น
เป้าหมายด้านทักษะการปฏิบัติ เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติ
หรือใช้วิธีการต่าง ๆ ได้ดี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน การประเมินการปฏิบัติมักประเมินผ่าน
การเห็นหรือได้ยิน คำสำคัญที่บ่งบอกเป้าหมายด้านนี้ ได้แก่ สังเกต ทดลอง แสดง ตั้งคำถาม
ประพฤติ ทำงาน ฟัง อ่าน พูด ปฏิบัติ ใช้ สาธิต วัด สำรวจ เป็นแบบอย่าง รวบรวม การจะมี
ทักษะการปฏิบัติได้จะต้องผ่านเป้าหมายด้านความรู้มาก่อนเสมอ และในหลายกรณีต้องผ่าน
เป้าหมายด้านการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน65
เป้าหมายด้านผลผลิต เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้ความรู้
การคิด ทักษะ เพื่อสร้างผลผลิตสุดท้ายที่มีคุณภาพและเป็นรูปธรรม เช่น งานเขียน ชิ้นงาน
ศิลปะ รายงาน แบบจำลอง เป็นต้น คำสำคัญที่บ่งบอกเป้าหมายนี้ ได้แก่ ออกแบบ สร้าง
ผลิต พัฒนา เขียน วาด จัดนิทรรศการ จัดแสดง
เป้าหมายด้านจิตนิสัย (Disposition Targets) เป็นเป้าหมายที่มิใช่ผลสัมฤทธิ์ทาง
วิชาการ แต่เป็นสถานะทางอารมณ์ ความรู้สึก เช่น ทัศนคติต่อสิ่งต่าง ๆ ความมั่นใจในตนเอง
แรงจูงใจ เป็นต้น
การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้
แสดงความรู้ความสามารถผ่านการปฏิบัติ หลักฐานการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง
ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เป็นรูปธรรม และมีความสัมพันธ์โดยตรงกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด หลักฐาน
การเรียนรู้จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทหลัก คือ
- ผลผลิต ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ แบบจำลอง แผนภูมิ คำตอบจากการประเมิน
รายงาน โครงงาน เป็นต้น
- ผลการปฏิบัติ ได้แก่ การสาธิต การนำเสนอ การอภิปราย การแสดง เป็นต้น
วิธีการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ต้องพิจารณามาตรฐาน
การเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี ตัวชี้วัดช่วงชั้น และสาระการเรียนรู้แกนกลางของชั้นปีนั้น ๆ
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดแต่ละตัวชี้วัดให้พิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
๑. คำสำคัญ (Key Word) เป็นคำแสดงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ในตัวชี้วัด เช่น เข้าใจ
อธิบาย บอก ระบุ วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ ปฏิบัติ แสดงความคิดเห็น บันทึก แสดง เล่น
เป็นต้น
๒. หลักฐานการเรียนรู้ พิจารณาว่าตัวชี้วัดนั้น ๆ จะมีร่องรอยหลักฐานการเรียนรู้
อะไรที่จะทำให้ทราบว่าผู้เรียนรู้เรื่องนั้น มีผลผลิตหรือการปฏิบัติได้แล้วตามคำสำคัญที่ปรากฏ
ในตัวชี้วัด เช่น ตอบคำถาม รายงาน คะแนนการทดสอบ เป็นต้น
66 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๓. วิธีการวัดและประเมิน พิจารณาคำสำคัญ (Key Word) ประกอบกับสาระ
การเรียนรู้แกนกลางของชั้นปีนั้น ๆ ว่าควรจะใช้วิธีการวัดและประเมินวิธีใด จึงจะทำให้ทราบว่า
ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือปฏิบัติได้ตามคำสำคัญ ตามสาระการเรียนรู้นั้น ๆ การกำหนดวิธี
การวัดและประเมินผลต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ตลอดจนพัฒนาการของ
ผู้เรียนและบริบทของการจัดการเรียนรู้ ในการประเมินครั้งหนึ่งอาจวัดได้หลายตัวชี้วัด หรือ
ตัวชี้วัดเดียวอาจวัดหลาย ๆ ครั้งได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวชี้วัด เช่น ตัวชี้วัดที่เน้นทักษะ
ควรมีการวัดและประเมินผลหลาย ๆ ครั้ง ทั้งนี้ตัวชี้วัดหลาย ๆ ตัวที่สอดคล้องและสัมพันธ์กัน
อาจกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลร่วมกันได้
๔. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมิน พิจารณาจากวิธีการประเมินที่กำหนดว่า
จะใช้เครื่องมือชนิดใดจึงจะสอดคล้องและสัมพันธ์กับหลักฐานการเรียนรู้ วิธีการวัดและ
ประเมินผล มีแบบบันทึกใดบ้างเป็นส่วนประกอบ มีเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) หรือไม่
P P P P P
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน67
เอกสารประกอบการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑
ตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ ๑ : กลุ่มสาระภาษาไทย สาระที่ ๑ การอ่าน มัธยมศึกษาปีที่ ๓
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
และบทร้อยกรอง
ได้ถูกต้องและเหมาะสม
กับเรื่องที่อ่าน
๒. ระบุความแตกต่างของคำ
ที่มีความหมายโดยตรง
และความหมายโดยนัย
๓. ระบุใจความสำคัญและ
รายละเอียดของข้อมูล
ที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน
- อ่านออกเสียง
- ระบุความ
แตกต่างของคำ
- ระบุใจความ
สำคัญและ
รายละเอียด
ให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
และบทร้อยกรอง (รายละเอียดตาม
สาระการเรียนรู้แกนกลาง)
ให้ผู้เรียนระบุ (พูด/เขียน) ความ
แตกต่างของคำที่มีความหมายโดยตรง
และความหมายโดยนัย จากการอ่าน
สื่อประเภทต่าง ๆ (รายละเอียดตาม
สาระการเรียนรู้แกนกลาง)
ให้ผู้เรียน (พูด/เขียน) ระบุใจความ
สำคัญและรายละเอียดของข้อมูล
ที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน (รายละเอียด
ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง)
- ผลการประเมิน
การอ่านออกเสียง
- ผลการระบุความ
แตกต่างของคำที่มี
ความหมายโดยตรง
และความหมายโดยนัย
- ผลการระบุใจความ
สำคัญและรายละเอียด
ของข้อมูลที่สนับสนุน
- การประเมิน
การอ่านออกเสียง
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบประเมิน
การอ่านออกเสียง
- แบบตรวจสอบ
รายการ
- แบบตรวจสอบ
รายการ
68 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๔. อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียน
กรอบแนวคิด ผังความคิด
บันทึก ย่อความ และ
รายงาน
๕. วิเคราะห์ วิจารณ์ และ
ประเมินเรื่องที่อ่านโดยใช้
กลวิธีการเปรียบเทียบ
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น
๖. ประเมินความถูกต้อง
ของข้อมูลที่ใช้สนับสนุน
ในเรื่องที่อ่าน
๗. วิจารณ์ความสมเหตุสมผล
การลำดับความ
และความเป็นไปได้
ของเรื่อง
- อ่านแล้วเขียน
- วิเคราะห์
วิจารณ์
และประเมิน
- ประเมิน
ความถูกต้อง
ของข้อมูล
- วิจารณ์
ให้ผู้เรียนเขียนกรอบแนวคิด
ผังความคิด บันทึก ย่อความ และ
รายงานจากเรื่องที่อ่าน (รายละเอียด
ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง)
ให้ผู้เรียนเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ และ
ประเมินเรื่องที่อ่าน (รายละเอียดตาม
สาระการเรียนรู้แกนกลาง) โดยใช้กลวิธี
การเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ
ให้ผู้เรียน (พูด/เขียน) ประเมิน
ความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุน
ในเรื่องที่อ่าน (รายละเอียดตาม
สาระการเรียนรู้แกนกลาง)
ให้ผู้เรียน (พูด/เขียน) วิจารณ์
ความสมเหตุสมผล การลำดับความ
และความเป็นไปได้ของเรื่อง (รายละเอียด
ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง)
- ผลงานการเขียน
กรอบแนวคิด ผังความคิด
บันทึก ย่อความ และ
รายงานจากเรื่องที่อ่าน
- ผลงานการเขียน
วิเคราะห์ วิจารณ์
และประเมิน
- ผลการประเมิน
ความถูกต้องของข้อมูล
ที่ใช้สนับสนุนในเรื่อง
ที่อ่าน
- ผลการวิจารณ์ความสมเหตุ
สมผล การลำดับความ
และความเป็นไปได้
ของเรื่อง
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน69
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๘. วิเคราะห์เพื่อแสดง
ความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับ
เรื่องที่อ่าน
๙. ตีความและประเมินคุณค่า
แนวคิดที่ได้จากงานเขียน
อย่างหลากหลาย เพื่อนำ
ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
๑๐. มีมารยาทในการอ่าน
- วิเคราะห์เพื่อ
โต้แย้ง
- ตีความและ
ประเมินคุณค่า
- มีมารยาท
ในการอ่าน
ให้ผู้เรียน (พูด/เขียน) วิเคราะห์เพื่อ
แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่อง
ที่อ่าน (รายละเอียดตามสาระการเรียนรู้
แกนกลาง)
ให้ผู้เรียน (พูด/เขียน) ตีความและ
ประเมินคุณค่าแนวคิดที่ได้จากงานเขียน
ที่อ่าน (รายละเอียดตามสาระการเรียนรู้
แกนกลาง) เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต
สังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงมารยาท
ในการอ่านของผู้เรียน
- ผลการวิเคราะห์เพื่อ
แสดงความคิดเห็น
โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- ผลการตีความและ
ประเมินคุณค่าแนวคิด
ที่ได้จากงานเขียนที่อ่าน
เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหา
ในชีวิต
- พฤติกรรมที่แสดงถึง
มารยาทในการอ่าน
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
- การสังเกต
พฤติกรรม
(มารยาท
ในการอ่าน)
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- แบบสังเกต
70 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. เขียนรูปเรขาคณิตสองมิติ
ที่กำหนดให้ในแบบต่าง ๆ
๒. บอกรูปเรขาคณิตต่าง ๆ
ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม
รอบตัว
- เขียนรูป
เรขาคณิต
สองมิติ
- บอกรูป
เรขาคณิต
ต่างๆ
ให้ผู้เรียนเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติ
ที่กำหนดให้ในแบบต่าง ๆ
ให้ผู้เรียนบอกรูปเรขาคณิตต่าง ๆ
ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- ผลงานการเขียน
รูปเรขาคณิตสองมิติ
ที่กำหนดให้ในแบบ
ต่าง ๆ
- ผลการบอกรูปเรขาคณิต
ต่าง ๆ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม
รอบตัว
- การตรวจผลงาน
- การใช้คำถาม
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบสำรวจรายการ
- แบบบันทึก
การตอบคำถาม
ตัวอย่างที่ ๒ : กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ ๓ เรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (Visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (Spatial Reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (Geometric Model)
ในการแก้ปัญหา
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน71
ตัวอย่างที่ ๓ : กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ ๒ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. สืบค้นข้อมูลและ
อภิปรายแหล่งทรัพยากร
ธรรมชาติในแต่ละ
ท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์
ต่อการดำรงชีวิต
๒. วิเคราะห์ผลของ
การเพิ่มขึ้นของ
ประชากรมนุษย์ต่อการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติ
๓. อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิต
จากการเปลี่ยนแปลง
สิ่งแวดล้อมทั้งโดยธรรมชาติ
และโดยมนุษย์
- สืบค้นข้อมูล
และอภิปราย
- วิเคราะห์
- อภิปราย
ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลและอภิปราย
เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ในท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการ
ดำรงชีวิต
ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ผล
ของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์
ที่มีต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลแล้วนำมา
อภิปรายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ที่มีผล
ต่อสิ่งมีชีวิต
- ผลการสืบค้นข้อมูลและ
อภิปรายเกี่ยวกับแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ
ในท้องถิ่นที่เป็น
ประโยชน์ต่อการ
ดำรงชีวิต
- ผลการวิเคราะห์การเพิ่มขึ้น
ของประชากรมนุษย์
ที่มีผลต่อการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติ
- ผลการอภิปรายการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
ทั้งโดยธรรมชาติและ
โดยมนุษย์ที่มีผล
ต่อสิ่งมีชีวิต
- การตรวจผลงาน
การสืบค้นข้อมูล
- การสังเกต
การอภิปราย
- การตรวจผลงาน
การสืบค้นข้อมูล
และการวิเคราะห์
- การตรวจผลงาน
การสืบค้นข้อมูล
- การสังเกต
การอภิปราย
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
72 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๔. อภิปรายแนวทาง
ในการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
๕. มีส่วนร่วมในการดูแล
รักษาสิ่งแวดล้อม
ในท้องถิ่น
- อภิปราย
- มีส่วนร่วม
ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลแล้วนำมา
อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมรักษา
สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และบันทึกผลการ
มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ในท้องถิ่น
- การอภิปรายแนวทาง
ในการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
- บันทึกการมีส่วนร่วม
ของผู้เรียนในการดูแล
รักษาสิ่งแวดล้อม
ในท้องถิ่น
- การตรวจผลงาน
การสืบค้นข้อมูล
- การสังเกต
การอภิปราย
- การตรวจบันทึก
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน73
ตัวอย่างที่ ๔ : กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
มาตรฐาน ง ๑.๑ เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะ
การทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และ
สิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. อธิบายวิธีการและ
ประโยชน์การทำงาน
เพื่อช่วยเหลือตนเอง
ครอบครัว และส่วนรวม
๒. ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ
เครื่องมือตรงกับ
ลักษณะงาน
๓. ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
ตามกระบวนการทำงาน
ด้วยความสะอาด
ความรอบคอบ และ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- อธิบายวิธีการ
และประโยชน์
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์
และเครื่องมือ
- ทำงานอย่าง
เป็นขั้นตอน
ให้ผู้เรียนอธิบาย (พูด/เขียน) วิธีการ
และประโยชน์ของการทำงาน
(รายละเอียดตามสาระการเรียนรู้
แกนกลาง) เพื่อช่วยเหลือตนเอง
ครอบครัว และส่วนรวม
ให้ผู้เรียนใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ
เครื่องมือในการทำงานตามที่กำหนด
(รายละเอียดตามสาระการเรียนรู้
แกนกลาง)
ให้ผู้เรียนทำงานตามที่กำหนด
(รายละเอียดตามสาระการเรียนรู้
แกนกลาง)
- การอธิบายวิธีการและ
ประโยชน์การทำงาน
เพื่อช่วยเหลือตนเอง
ครอบครัว และส่วนรวม
- การใช้วัสดุ อุปกรณ์
และเครื่องมือตรงกับ
ลักษณะงาน
- พฤติกรรมการทำงาน
อย่างเป็นขั้นตอน
ตามกระบวนการทำงาน
- การประเมิน
การอธิบาย
- การสังเกต
- การสังเกต
การทำงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบประเมิน
- แบบสังเกต
- แบบสังเกต
74 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ ๕ : กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
มาตรฐาน ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมและธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน
ในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. ปฏิบัติตามกฎหมาย
ในการคุ้มครองสิทธิ
ของบุคคล
๒. ระบุความสามารถ
ของตนเองในการ
ทำประโยชน์ต่อสังคม
และประเทศชาติ
๓. อภิปรายเกี่ยวกับคุณค่า
ทางวัฒนธรรมที่เป็น
ปัจจัยในการสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดี หรือ
อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด
ต่อกัน
๔. แสดงออกถึงการเคารพ
ในสิทธิเสรีภาพของตนเอง
และผู้อื่น
- ปฏิบัติตาม
กฏหมาย
- ระบุความ
สามารถ
- อภิปราย
เกี่ยวกับคุณค่า
ทางวัฒนธรรม
- แสดงออกถึง
การเคารพ
ในสิทธิเสรีภาพ
ของตนเอง
และผู้อื่น
ให้ผู้เรียนศึกษากฎหมายในการ
คุ้มครองสิทธิของบุคคล แล้วกำหนด
แนวปฏิบัติตามกฎหมายและบันทึก
การปฏิบัติตามกฎหมายของตนเอง
ให้ผู้เรียนเขียนบันทึกการทำประโยชน์
ต่อสังคมและประเทศชาติ
ตามความสามารถของตนเอง
ให้ผู้เรียนสืบค้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แล้ว (พูด/เขียน) อภิปรายถึงคุณค่า
ทางวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยในการสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดี หรืออาจนำไปสู่
ความเข้าใจผิดต่อกัน
ให้ครู ผู้ปกครอง และเพื่อนร่วมกัน
ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในการ
เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
- บันทึกการปฏิบัติตาม
กฎหมายของตนเอง
- บันทึกการทำประโยชน์
ต่อสังคมและประเทศชาติ
- การอภิปรายเกี่ยวกับ
คุณค่าทางวัฒนธรรม
ที่เป็นปัจจัยในการ
สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
หรืออาจนำไปสู่ความ
เข้าใจผิดต่อกัน
- พฤติกรรมของผู้เรียน
ที่แสดงออกถึงการเคารพ
ในสิทธิเสรีภาพของ
ตนเองและผู้อื่น
- การตรวจบันทึก
- การตรวจบันทึก
- การตรวจผลงาน
- การสังเกต
การอภิปราย
- การสังเกต
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- แบบสังเกต
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน75
ตัวอย่างที่ ๖ : กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐาน ศ ๑.๑ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอด
ความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. ระบุสีคู่ตรงข้าม และ
อภิปรายเกี่ยวกับ
การใช้สีคู่ตรงข้ามในการ
ถ่ายทอดความคิด
และอารมณ์
๒. อธิบายหลักการจัดขนาด
สัดส่วนความสมดุลในการ
สร้างงานทัศนศิลป์
๓. สร้างงานทัศนศิลป์
จากรูปแบบ ๒ มิติ
เป็น ๓ มิติ โดยใช้
หลักการของแสง เงา
และน้ำหนัก
- ระบุสีคู่
ตรงข้าม
- การอภิปราย
การใช้สีคู่
ตรงข้าม
- อธิบายหลักการ
- สร้างงาน
ทัศนศิลป์
ให้ผู้เรียนระบุ (พูด/เขียน) สีคู่ตรงข้าม
จากภาพที่กำหนดแล้วร่วมกันอภิปราย
ถึงการใช้สีคู่ตรงข้ามในการถ่ายทอด
ความคิดและอารมณ์
ให้ผู้เรียนอธิบาย (พูด/เขียน) หลักการ
จัดขนาด สัดส่วน ความสมดุล จากงาน
ทัศนศิลป์ที่กำหนด
ให้ผู้เรียนสร้างงานทัศนศิลป์จากรูป
แบบ ๒ มิติ เป็น ๓ มิติ โดยใช้หลักการ
ของแสง เงา และน้ำหนัก
- การระบุสีคู่ตรงข้าม
และการอภิปราย
การใช้สีคู่ตรงข้าม
- การอธิบายหลักการ
จัดขนาด สัดส่วน
ความสมดุลในการ
สร้างงานทัศนศิลป์
- ผลงานทัศนศิลป์ ๓ มิติ
ที่สร้างจากรูปแบบ ๒ มิติ
โดยใช้หลักการของแสง
เงา และน้ำหนัก
- การใช้คำถาม
- การประเมิน
การอธิบาย
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบบันทึก
การตอบคำถาม
- แบบประเมิน
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
76 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๔. สร้างสรรค์งานปั้นโดยใช้
หลักการเพิ่มและลด
๕. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
โดยใช้หลักการของรูป
และพื้นที่ว่าง
๖. สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
โดยใช้สีคู่ตรงข้าม หลักการ
จัดขนาด สัดส่วน และ
ความสมดุล
๗. สร้างงานทัศนศิลป์
เป็นแผนภาพ แผนผัง
และภาพประกอบ
เพื่อถ่ายทอดความคิด
หรือเรื่องราวเกี่ยวกับ
เหตุการณ์ต่าง ๆ
- สร้างสรรค์งาน
ปั้น
- สร้างสรรค์งาน
ทัศนศิลป์
- สร้างสรรค์งาน
ทัศนศิลป์
- สร้างสรรค์งาน
ทัศนศิลป์
ให้ผู้เรียนสร้างสรรค์งานปั้นโดยใช้
หลักการเพิ่มและลด
ให้ผู้เรียนสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้
หลักการของรูปและพื้นที่ว่าง
ให้ผู้เรียนสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้
สีคู่ตรงข้าม หลักการจัดขนาด สัดส่วน
และความสมดุล
ให้ผู้เรียนสร้างงานทัศนศิลป์เป็น
แผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบ
เพื่อถ่ายทอดความคิดหรือเรื่องราว
เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
- ผลงานปั้นที่ใช้หลักการ
เพิ่มและลด
- ผลงานทัศนศิลป์ที่ใช้
หลักการของรูปและ
พื้นที่ว่าง
- ผลงานทัศนศิลป์ที่ใช้
สีคู่ตรงข้าม หลักการ
จัดขนาด สัดส่วน และ
ความสมดุล
- แผนภาพ แผนผัง และ
ภาพประกอบที่ถ่ายทอด
ความคิดหรือเรื่องราว
เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน77
ตัวอย่างที่ ๗ : กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. อธิบายความสำคัญของ
ระบบสืบพันธุ์ ระบบ
ไหลเวียนโลหิต และ
ระบบหายใจ ที่มีผลต่อ
สุขภาพ การเจริญเติบโต
และพัฒนาการ
๒. อธิบายวิธีการดูแล
รักษาระบบสืบพันธุ์
ระบบไหลเวียนโลหิต
และระบบหายใจ
ให้ทำงานตามปกติ
- อธิบายความ
สำคัญ
- อธิบายวิธีการ
ดูแลรักษา
ให้ผู้เรียนอธิบาย (พูด/เขียน) ความ
สำคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียน
โลหิต และระบบหายใจ ที่มีผลต่อสุขภาพ
การเจริญเติบโต และพัฒนาการ
ให้ผู้เรียน (พูด/เขียน) อธิบายวิธีการ
ดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียน
โลหิต และระบบหายใจให้ทำงาน
ตามปกติ
- ผลการอธิบายความสำคัญ
ของระบบสืบพันธุ์
ระบบไหลเวียนโลหิต
และระบบหายใจ
ที่มีผลต่อสุขภาพ
การเจริญเติบโต
และพัฒนาการ
- ผลการอธิบายวิธีการ
ดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์
ระบบไหลเวียนโลหิต
และระบบหายใจ
ให้ทำงานตามปกติ
- การประเมิน
การอธิบาย
- การประเมิน
การอธิบาย
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบประเมิน
- แบบประเมิน
78 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ ๘ : กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. ปฏิบัติตามคำสั่ง
คำขอร้อง คำแนะนำ
และคำชี้แจงง่าย ๆ
ที่ฟังและอ่าน
๒. อ่านออกเสียงข้อความ
นิทาน และบทร้อยกรอง
(poem) สั้น ๆ ถูกต้อง
ตามหลักการอ่าน
๓. เลือก/ระบุประโยคและ
ข้อความให้สัมพันธ์กับ
สื่อที่ไม่ใช่ความเรียง
(non-text information)
ที่อ่าน
๔. ระบุหัวข้อเรื่อง (topic)
ใจความสำคัญ (main
idea) และตอบคำถาม
จากการฟังและอ่าน
บทสนทนา นิทาน
และเรื่องสั้น
- ปฏิบัติตามคำสั่ง
คำขอร้อง
คำแนะนำ
และคำชี้แจง
- อ่านออกเสียง
- เลือก/ระบุ
ประโยคและ
ข้อความ
- ระบุหัวข้อเรื่อง
(topic)
ใจความสำคัญ
(main idea)
และตอบคำถาม
ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งคำขอร้อง
คำแนะนำ และคำชี้แจงที่กำหนด
ให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงข้อความ
นิทาน และบทร้อยกรอง (poem) สั้น ๆ
ให้ผู้เรียนเลือก/ระบุประโยคและ
ข้อความที่สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียง
(non-text information) ที่อ่าน
ให้ผู้เรียนฟังและอ่านบทสนทนา
นิทาน และเรื่องสั้น แล้วระบุหัวข้อเรื่อง
(topic) ใจความสำคัญ (main idea)
และตอบคำถาม
- ผลการปฏิบัติตามคำสั่ง
คำขอร้อง คำแนะนำ
และคำชี้แจงง่าย ๆ ที่ฟัง
และอ่าน
- ผลการอ่านออกเสียง
ข้อความ นิทาน และ
บทร้อยกรอง (poem)
สั้น ๆ
- ผลการเลือก/ระบุ
ประโยคและข้อความ
ที่สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่
ความเรียง (non-text
information)
- ผลการระบุหัวข้อเรื่อง
(topic) ใจความสำคัญ
(main idea) การตอบ
คำถามจากการฟังและ
อ่านบทสนทนา นิทาน
และเรื่องสั้น
- การสังเกต
การปฏิบัติ
- การสังเกต
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบสังเกต
- แบบสังเกต
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubric)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน79
ตัวอย่างการวิเคราะห์ตัวชี้วัดรายวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ทั้งรายวิชา
สาระที่ ๑ จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. เขียนและอ่านตัวเลขฮินดู
อารบิก ตัวเลขไทย
และตัวหนังสือแสดง
จำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน
และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
๒. เปรียบเทียบและ
เรียงลำดับจำนวนนับ
และศูนย์ เศษส่วน
และทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง
- เขียน
- อ่าน
- เปรียบเทียบ
- เรียงลำดับ
ให้ผู้เรียนเขียนและอ่านตัวเลขฮินดู
อารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดง
จำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยม
หนึ่งตำแหน่ง
ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบและเรียงลำดับ
จำนวนนับ ศูนย์ เศษส่วน และทศนิยม
หนึ่งตำแหน่ง
- ผลการเขียน
- ผลการอ่าน
- ผลการเขียนคำอ่าน
- ผลการเปรียบเทียบ
- ผลการเรียงลำดับ
- การทดสอบ
- การทดสอบ
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
80 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวน และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการ
แก้ปัญหา
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. บวก ลบ คูณ หาร และ
บวก ลบ คูณ หารระคน
ของจำนวนนับและศูนย์
พร้อมทั้งตระหนักถึง
ความสมเหตุสมผล
ของคำตอบ
๒. วิเคราะห์และแสดงวิธี
หาคำตอบของโจทย์ปัญหา
และโจทย์ปัญหาระคน
ของจำนวนนับและศูนย์
พร้อมทั้งตระหนัก
ถึงความสมเหตุสมผลของ
คำตอบ และสร้างโจทย์ได้
๓. บวกและลบเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนเท่ากัน
- การบวก
- การลบ
- การคูณ
- การหาร
- การบวก ลบ
คูณ หารระคน
- ความตระหนัก
ถึงความ
สมเหตุสมผล
- วิเคราะห์
- แสดงวิธีหา
คำตอบ
- ความตระหนัก
ถึงความสมเหตุ
สมผล
- สร้างโจทย์
- การบวก
เศษส่วนที่มี
ตัวส่วนเท่ากัน
- การลบ เศษส่วน
ที่มีตัวส่วนเท่ากัน
ให้ผู้เรียนบวก ลบ คูณ หาร และบวก
ลบ คูณ หารระคนจำนวนนับและศูนย์
พร้อมทั้งตรวจสอบความสมเหตุสมผล
ของคำตอบ
ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแสดงวิธีหา
คำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหา
ระคนของจำนวนนับและศูนย์ พร้อมทั้ง
ตรวจสอบความสมเหตุสมผล
ของคำตอบ
ให้ผู้เรียนสร้างโจทย์ปัญหาตาม
เงื่อนไขที่กำหนด
ให้ผู้เรียนบวกและลบเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนเท่ากัน
- ผลการบวก ลบ คูณ
หาร
- ผลการบวก ลบ คูณ
หารระคน
- ผลการตรวจสอบ
ความสมเหตุสมผล
ของคำตอบ
- ผลการแสดงวิธีหา
คำตอบและตรวจสอบ
ความสมเหตุสมผล
ของคำตอบ
- ผลงานการสร้าง
โจทย์ปัญหา
- ผลการบวกเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนเท่ากัน
- ผลการลบเศษส่วน
ที่มีตัวส่วนเท่ากัน
- การทดสอบ
- การทดสอบ
- การทดสอบ
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน81
สาระที่ ๒ การวัด
มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. บอกความสัมพันธ์ของ
หน่วยการวัดความยาว
น้ำหนัก ปริมาตรหรือ
ความจุ และเวลา
๒. หาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
มุมฉาก
๓. บอกเวลาบนหน้าปัด
นาฬิกา อ่านและเขียน
เวลาโดยใช้จุด และ
บอกระยะเวลา
๔. คาดคะเนความยาว
น้ำหนัก ปริมาตร
หรือความจุ
- บอกความ
สัมพันธ์ของ
หน่วยการวัด
- การหาพื้นที่
ของรูป สี่เหลี่ยม
มุมฉาก
- บอกเวลาบน
หน้าปัดนาฬิกา
- อ่านและเขียน
เวลาโดยใช้จุด
- บอกระยะเวลา
- การคาดคะเน
ความยาว
- การคาดคะเน
น้ำหนัก
- การคาดคะเน
ปริมาตรหรือ
ความจุ
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาว
น้ำหนัก ปริมาตรหรือความจุ
และเวลา
ให้ผู้เรียนหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม
มุมฉาก
ให้ผู้เรียนบอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา
อ่านและเขียนเวลาโดยใช้จุด และ
บอกระยะเวลาตามสถานการณ์จริง
ให้ผู้เรียนคาดคะเนความยาว น้ำหนัก
ปริมาตรหรือความจุ ของสิ่งที่อยู่รอบตัว
พร้อมทั้งตรวจสอบความใกล้เคียง/
ความถูกต้องของคำตอบ
จากสถานการณ์ที่กำหนด
- ผลการทดสอบ
- ผลการหาพื้นที่ของ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- ผลการบอกเวลา
- ผลการอ่านและเขียน
เวลาโดยใช้จุด
- ผลการบอกระยะเวลา
- ผลการคาดคะเน
- การทดสอบ
- การตรวจผลงาน
- การใช้คำถาม
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบตรวจผลงาน
- แบบบันทึก
การตอบคำถาม
- แบบตรวจผลงาน
- แบบตรวจผลงาน
82 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สาระที่ ๒ การวัด
มาตรฐาน ค ๒.๒ แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. แก้ปัญหาเกี่ยวกับ
การวัดความยาว การชั่ง
การตวง เงิน และเวลา
๒. เขียนบันทึกรายรับ
รายจ่าย
๓. อ่านและเขียนบันทึก
กิจกรรมหรือเหตุการณ์
ที่ระบุเวลา
- แก้ปัญหา
เกี่ยวกับการวัด
ความยาว
- แก้ปัญหา
เกี่ยวกับการชั่ง
- แก้ปัญหา
เกี่ยวกับการตวง
- แก้ปัญหา
เกี่ยวกับเงิน
- แก้ปัญหา
เกี่ยวกับเวลา
- เขียนบันทึก
รายรับรายจ่าย
- อ่านบันทึก
กิจกรรมหรือ
เหตุการณ์
ที่ระบุเวลา
- เขียนบันทึก
กิจกรรมหรือ
เหตุการณ์
ที่ระบุเวลา
ให้ผู้เรียนแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
ความยาว การชั่ง การตวง เงิน และเวลา
ตามสถานการณ์ที่กำหนด
ให้ผู้เรียนเขียนบันทึกรายรับรายจ่าย
ตามเงื่อนไขที่กำหนด
ให้ผู้เรียนอ่านและเขียนบันทึก
กิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่ระบุเวลา
- ผลการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับการวัด
ความยาว
- ผลการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับการชั่ง
- ผลการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับการตวง
- ผลการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับเงิน
- ผลการแก้ปัญหา
เกี่ยวกับเวลา
- ผลงานการบันทึกรายรับ
รายจ่าย
- ผลการอ่านบันทึก
กิจกรรมหรือเหตุการณ์
ที่ระบุเวลา
- ผลการเขียนบันทึก
กิจกรรมหรือเหตุการณ์
ที่ระบุเวลา
- การตรวจผลงาน
- การตรวจผลงาน
- การประเมิน
การอ่าน
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- แบบประเมิน
การอ่าน
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน83
สาระที่ ๓ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๑ อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. บอกชนิดของมุม ชื่อมุม
ส่วนประกอบของมุม
และเขียนสัญลักษณ์
๒. บอกได้ว่าเส้นตรงหรือ
ส่วนของเส้นตรงคู่ใด
ขนานกัน พร้อมทั้ง
ใช้สัญลักษณ์แสดง
การขนาน
- บอกชนิดของมุม
- บอกชื่อมุม
- บอกส่วน
ประกอบ
ของมุม
- เขียนสัญลักษณ์
ของมุม
- บอกเส้นตรง
หรือส่วนของ
เส้นตรง
ที่ขนานกัน
- ใช้สัญลักษณ์
แสดงการขนาน
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
ชนิดของมุม ชื่อมุม ส่วนประกอบของมุม
และสัญลักษณ์ของมุม
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
เส้นขนานและการใช้สัญลักษณ์แสดง
การขนาน
- ผลการทดสอบ
- ผลการทดสอบ
- การทดสอบ
- การทดสอบ
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
84 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๓. บอกส่วนประกอบ
ของรูปวงกลม
๔. บอกได้ว่ารูปใดหรือ
ส่วนใดของสิ่งของ
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม
มุมฉาก และจำแนกได้
ว่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
๕. บอกได้ว่ารูปเรขาคณิต
สองมิติรูปใด เป็นรูปที่
มีแกนสมมาตร และบอก
จำนวนแกนสมมาตร
- บอก
ส่วนประกอบ
ของรูปวงกลม
- บอกลักษณะ
ของรูปสี่เหลี่ยม
มุมฉาก
- จำแนกรูป
สี่เหลี่ยมจัตุรัส
กับรูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า
- บอกรูป
เรขาคณิต
สองมิติที่มี
แกนสมมาตร
- บอกจำนวน
แกนสมมาตร
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
ส่วนประกอบของรูปวงกลม
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
และรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
รูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตร
- ผลการทดสอบ
- ผลการทดสอบ
- ผลการทดสอบ
- การทดสอบ
- การทดสอบ
- การทดสอบ
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน85
สาระที่ ๓ เรขาคณิต
มาตรฐาน ค ๓.๒ ใช้การนึกภาพ (Visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (Spatial Reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (Geometric Model)
ในการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. นำรูปเรขาคณิตมา
ประดิษฐ์เป็นลวดลาย
ต่าง ๆ
- ประดิษฐ์
ลวดลาย
โดยใช้รูป
เรขาคณิต
ให้ผู้เรียนประดิษฐ์ลวดลายโดยใช้
รูปเรขาคณิต
- ผลงานการประดิษฐ์
ลวดลายโดยใช้รูป
เรขาคณิต
- การตรวจผลงาน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
86 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สาระที่ ๔ พีชคณิต
มาตรฐาน ค ๔.๑ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (Pattern) ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
- การทดสอบ
- การทดสอบ
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. บอกจำนวนและ
ความสัมพันธ์ในแบบรูป
ของจำนวนที่เพิ่มขึ้น
หรือลดลงทีละเท่ากัน
๒. บอกรูปและความสัมพันธ์
ในแบบรูปของรูปที่
กำหนดให้
- บอกจำนวน
ในแบบรูปของ
จำนวนที่เพิ่มขึ้น
หรือลดลง
ทีละเท่ากัน
- บอกความ
สัมพันธ์
ในแบบรูปของ
จำนวนที่เพิ่มขึ้น
หรือลดลง
ทีละเท่ากัน
- บอกรูป
ในแบบรูปของ
รูปที่กำหนดให้
- บอกความ
สัมพันธ์
ในแบบรูปของ
รูปที่กำหนดให้
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ในแบบรูปของจำนวน
ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่ากัน
ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ในแบบรูปที่กำหนดให้
- ผลการทดสอบ
- ผลการทดสอบ
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบทดสอบ
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน87
สาระที่ ๕ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค ๕.๑ เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. รวบรวมและจำแนก
ข้อมูล
๒. อ่านข้อมูลจากแผนภูมิ
รูปภาพ แผนภูมิแท่ง
และตาราง
๓. เขียนแผนภูมิรูปภาพ
และแผนภูมิแท่ง
- รวบรวมข้อมูล
- จำแนกข้อมูล
- อ่านข้อมูล
- เขียนแผนภูมิ
ให้ผู้เรียนรวบรวมและจำแนกข้อมูล
ตามสถานการณ์ที่กำหนด
ให้ผู้เรียนอ่านข้อมูลจากแผนภูมิ
รูปภาพ แผนภูมิแท่ง และตาราง
ตามสถานการณ์ที่กำหนด
ให้ผู้เรียนเขียนแผนภูมิรูปภาพและ
แผนภูมิแท่งตามสถานการณ์ที่กำหนด
- ผลงานการรวบรวม
และจำแนกข้อมูลตาม
สถานการณ์ที่กำหนด
- ผลการทดสอบ
- ผลงานการเขียนแผนภูมิ
รูปภาพและแผนภูมิแท่ง
ตามสถานการณ์
ที่กำหนด
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- แบบทดสอบ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- การตรวจผลงาน
- การทดสอบ
- การตรวจผลงาน
88 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สาระที่ ๖ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค ๖.๑ มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยง
ความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. ใช้วิธีการที่หลากหลาย
ในการแก้ปัญหา
๒. ใช้ความรู้ ทักษะ
และกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์และ
เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา
ในสถานการณ์ ต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสม
๓. ให้เหตุผลประกอบ
การตัดสินใจและสรุปผล
ได้อย่างเหมาะสม
- วิธีการในการ
แก้ปัญหา
- ใช้ความรู้
ทักษะและ
กระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์
และเทคโนโลยี
ในการแก้
ปัญหา
- การให้เหตุผล
- การสรุปผล
กำหนดสถานการณ์ให้ผู้เรียนแก้ปัญหา
ด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทักษะ และ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์
และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา
ตามสถานการณ์ที่กำหนด
กำหนดสถานการณ์ตามสาระ
การเรียนรู้และใช้คำถามกระตุ้น
ให้ผู้เรียนหาคำตอบพร้อมให้เหตุผล
และสรุปผลจากสถานการณ์นั้น ๆ
- ผลการทดสอบ
- ผลการสังเกต*
- ผลการทดสอบ
การแก้ปัญหา
- ผลการตอบคำถาม
- ผลการทดสอบ
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบทดสอบ
- แบบสังเกต
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- แบบบันทึก
การตอบคำถาม
- แบบทดสอบอัตนัย
- การทดสอบ
- การสังเกต*
- การประเมินผลงาน
- การใช้คำถาม
- การทดสอบ
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน89
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๔. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์ในการ
สื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนำเสนอได้อย่าง
ถูกต้อง
๕. เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ในคณิตศาสตร์ และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์
กับศาสตร์อื่น
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การใช้ภาษา
และสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์
- การเชื่อมโยง
ความรู้
- ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
กำหนดสถานการณ์ตามสาระ
การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
กำหนดสถานการณ์/เงื่อนไขที่เชื่อมโยง
กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เพื่อให้
ผู้เรียนใช้ความรู้และทักษะกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา/
หาคำตอบ
ให้ผู้เรียนใช้ความรู้และทักษะ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการ
แสวงหาความรู้ที่แปลกใหม่
- ผลงานการใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ทาง
คณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และ
นำเสนอ
- ผลงานการเชื่อมโยง
คณิตศาสตร์กับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
- ผลงานการใช้ความรู้
และทักษะกระบวนการ
ทางคณิตศาสตร์ในการ
แสวงหาความรู้
ที่แปลกใหม่
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- การประเมินผลงาน
- การประเมินผลงาน
- การประเมินผลงาน
* ครูสามารถใช้วิธีการสังเกตโดยสร้างเครื่องมือในการสังเกต หรือสังเกตเพื่อนำผลไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการปฏิบัติก็ได้
90 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๑. รวบรวมและจำแนก
ข้อมูล
๒. อ่านข้อมูลจากแผนภูมิ
รูปภาพ แผนภูมิแท่ง
และตาราง
๓. เขียนแผนภูมิรูปภาพ
และแผนภูมิแท่ง
- รวบรวมข้อมูล
- จำแนกข้อมูล
- อ่านข้อมูล
- เขียนแผนภูมิ
ให้ผู้เรียนรวบรวมและจำแนกข้อมูล
ตามสถานการณ์ที่กำหนด
ให้ผู้เรียนอ่านข้อมูลจากแผนภูมิ
รูปภาพ แผนภูมิแท่ง และตาราง
ตามสถานการณ์ที่กำหนด
ให้ผู้เรียนเขียนแผนภูมิรูปภาพและ
แผนภูมิแท่งตามสถานการณ์ที่กำหนด
- ผลงานการรวบรวม
และจำแนกข้อมูลตาม
สถานการณ์ที่กำหนด
- ผลการทดสอบ
- ผลงานการเขียนแผนภูมิ
รูปภาพและแผนภูมิแท่ง
ตามสถานการณ์
ที่กำหนด
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- แบบทดสอบ
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- การตรวจผลงาน
- การทดสอบ
- การตรวจผลงาน
ตัวอย่างการจัดกลุ่มตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน91
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน หลักฐานการเรียนรู้
๔. ให้เหตุผลประกอบ
การตัดสินใจและสรุปผล
ได้อย่างเหมาะสม
๕. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์ในการ
สื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนำเสนอได้อย่าง
ถูกต้อง
๖. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- ให้เหตุผล
- สรุปผล
- ใช้ภาษา
และสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์
- ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
กำหนดสถานการณ์ตามสาระ
การเรียนรู้ และใช้คำถามกระตุ้น
ให้ผู้เรียนหาคำตอบพร้อมให้เหตุผล
และสรุปผล จากสถานการณ์นั้น ๆ
กำหนดสถานการณ์ตามสาระ
การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
กำหนดสถานการณ์ตามสาระ
การเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน
ใช้ความรู้และทักษะกระบวนการทาง
คณิตศาสตร์ในการแสดงความสามารถ
ของตนเองในลักษณะที่แปลกใหม่
และเป็นไปได้
- ผลการตอบคำถาม
- ผลการทดสอบ
- ผลงานการใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ทาง
คณิตศาสตร์ในการสื่อสาร
การสื่อความหมาย และ
นำเสนอ
- ผลงานการใช้ความรู้และ
ทักษะกระบวนการทาง
คณิตศาสตร์ที่แปลกใหม่
และเป็นไปได้
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
- แบบบันทึก
การตอบคำถาม
- แบบทดสอบอัตนัย
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- เกณฑ์การให้
คะแนน (Rubrics)
- การใช้คำถาม
- การทดสอบ
- การประเมินผลงาน
- การประเมินผลงาน
92 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้จากกลุ่มตัวชี้วัด
ในหน่วยการเรียนรู้
จากตัวอย่าง เมื่อวิเคราะห์แต่ละตัวชี้วัดจะพบว่าหลักฐานการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเป็นไปตามตัวชี้วัด แต่หากจัดกลุ่มตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกันเป็นหน่วยการเรียนรู้ ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอดจะสะท้อนกลุ่มตัวชี้วัดเหล่านั้น
ค ๕.๑ ป.๔/๑ รวบรวมและจำแนกข้อมูล
ค ๕.๑ ป.๔/๒ อ่านข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพ
แผนภูมิแท่ง และตาราง
ค ๕.๑ ป.๔/๓ เขียนแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิ
แท่ง
ค ๖.๑ ป.๔/๓ ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ค ๖.๑ ป.๔/๔ ใช้ภาษาและสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย
และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ค ๖.๑ ป.๔/๖ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- รวบรวมข้อมูล
- จำแนกข้อมูล
- อ่านข้อมูล
- เขียนแผนภูมิ
- ให้เหตุผล
- สรุปผล
- ใช้ภาษาและ
สัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์
- มีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์
ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
หลักฐานการเรียนรู้
(ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด)
ให้ผู้เรียนใช้ความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์รวบรวมข้อมูล
เรื่องที่สนใจ แล้วนำเสนอ
ด้วยแผนภูมิรูปภาพ หรือ
แผนภูมิแท่ง พร้อมให้เหตุผล
ประกอบการตัดสินใจ
ในการเลือกนำเสนอ
แผนภูมิรูปภาพหรือ
แผนภูมิแท่งตามสถานการณ์
ที่กำหนด
- การตรวจ
ผลงาน
การเขียน
แผนภูมิ
รูปภาพและ
แผนภูมิแท่ง
- เกณฑ์การ
ให้คะแนน
(Rubric)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน93
แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๑
การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : ……………………………….………………………………....................................สาระที่……………………….ชั้น……………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
หลักฐานการเรียนรู้
(ชิ้นงาน/ภาระงาน)
94 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๒
การจัดกลุ่มตัวชี้วัดเพื่อกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ (ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : ……………………………….………………………………....................................สาระที่……………………….ชั้น……………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด คำสำคัญ แนวทางการประเมิน
การประเมิน
วิธีการ เครื่องมือ
หลักฐานการเรียนรู้
(ชิ้นงาน/ภาระงาน)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน95
กิจกรรมที่ ๒ : การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
จุดประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ และสามารถสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลในระดับ
ชั้นเรียนที่สะท้อนความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่กำหนดในตัวชี้วัด
วิธีดำเนินกิจกรรม
๑. ฟังการบรรยายเรื่อง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน
๒. แบ่งกลุ่มตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มละประมาณ ๘ คน หรือตามความเหมาะสม
๓. นำผลงานการกำหนดหลักฐานการเรียนรู้จากแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๒ มาสร้าง
เครื่องมือวัดและประเมินผล และบันทึกลงในใบกิจกรรมที่ ๒ โดยศึกษาใบความรู้ต่าง ๆ ดังนี้
- ใบความรู้ที่ ๒.๑ วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- ใบความรู้ที่ ๒.๒ แนวคิดการจัดระดับพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด
- ใบความรู้ที่ ๒.๓ เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)
- ใบความรู้ที่ ๒.๔ วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ
- เอกสารประกอบการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๒ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้
๔. นำเสนอผลงานกลุ่มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๕. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมสรุปความรู้จากการปฏิบัติกิจกรรม
สื่อ/อุปกรณ์
๑. Power Point
๒. ใบความรู้ที่ ๒.๑ วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๓. ใบความรู้ที่ ๒.๒ แนวคิดการจัดระดับพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด
๔. ใบความรู้ที่ ๒.๓ เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)
๕. วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ
๖. แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๒ การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลระหว่างเรียน และชิ้นงาน/
ภาระงานรวบยอด
เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
๔ ชั่วโมง
96 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ใบกิจกรรมที่ ๒
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
คำชี้แจง
การสร้างเครื่องมือประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลระหว่างเรียน
และการประเมินชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ให้ความสำคัญกับการร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์เครื่องมือ
ประเมินที่ร่วมกันสร้างขึ้น
๑. นำผลงานการกำหนดหลักฐานการเรียนรู้จากแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๑.๒ มาสร้าง
เครื่องมือวัดและประเมินผล โดยมีทั้งเครื่องมือวัดและประเมินผลระหว่างเรียน และเครื่องมือวัด
และประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ไม่น้อยกว่า ๓ ชนิด (โดยเป็นเครื่องมือประเมินประเภท
ที่ต้องใช้ Rubric ๑ ชิ้น) แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกกิจกรรมที่ ๒
๒. ศึกษาแนวการสร้างเครื่องมือจาก
๒.๑ ใบความรู้ที่ ๒.๑ วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๒.๒ ใบความรู้ที่ ๒.๒ แนวคิดการจัดระดับพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด
๒.๓ ใบความรู้ที่ ๒.๓ เกณฑ์การประเมิน (Rubrics)
๒.๔ ใบความรู้ที่ ๒.๔ วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ
๒.๕ เอกสารประกอบการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๒ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ โดยศึกษาและทำความเข้าใจการประเมินผู้เรียนในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้
๓. นำเสนอผลการปฏิบัติตามใบกิจกรรมที่ ๒
๔. เลือกตัวแทนนำเสนอผลงานกลุ่ม
๕. วิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ ๒
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน97
ใบความรู้ที่ ๒.๑
วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบ ยุทธวิธีและเครื่องมือ
ประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมาย
๓ ประการ คือ เพื่อรู้จักผู้เรียน เพื่อประเมินวิธีเรียนของผู้เรียน และเพื่อประเมินพัฒนาการของผู้เรียน
ผู้สอนสามารถเลือกใช้หรือคิดค้นวิธีการวัดและประเมินผลให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนำผล
การประเมินไปใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการ ๓ ประการดังกล่าวข้างต้น วิธีการวัดและประเมินผล
อาจแบ่งออกตามรูปแบบหรือลักษณะการวัดและประเมินได้เป็น ๒ แบบใหญ่ ๆ ดังนี้
๑. วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Assessment)
เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลผลการเรียนรู้ที่นิยมใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น วัดและประเมินโดยการจัดสอบ
และใช้แบบทดสอบ (test) ที่ครูสร้างขึ้น การเก็บข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้การวัดและประเมินที่ได้ผล
เป็นคะแนน และนำผลการประเมินไปใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียนเพื่อดูพัฒนาการ หรือใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์เมื่อสิ้นสุดการสอนในแต่ละหน่วย
หรือรายวิชา วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการเหมาะสำหรับการประเมิน
เพื่อตัดสินมากกว่าที่จะใช้เพื่อประเมินพัฒนาการผู้เรียน หรือเพื่อหาจุดบกพร่องสำหรับนำไป
ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามวิธีการและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลผล
การเรียนรู้แบบเป็นทางการ ซึ่งให้ข้อมูลสารสนเทศในเชิงปริมาณ มีข้อสังเกตที่ผู้สอนต้องระมัดระวัง
ในการนำไปใช้เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เป็นตัวแทนของระดับความสามารถที่แท้จริงของ
ผู้เรียน ต้องได้มาจากวิธีการวัดที่ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะข้อมูล เครื่องมือวัดและประเมิน
มีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง สามารถวัดได้ตรงตามสิ่งที่ต้องการวัด และมีความเชื่อมั่น
(Reliability) หมายถึง ผลการวัดมีความคงเส้นคงวาเมื่อมีการวัดซ้ำ โดยใช้เครื่องมือคู่ขนาน
เมื่อวัดในระยะเวลาใกล้เคียงกัน และวิธีการวัดมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบและเชื่อถือได้
(Acceptable)
98 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๒. วิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment)
เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากแหล่งข้อมูลหลากหลายที่ผู้สอน
เก็บรวบรวมตลอดเวลา วิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาความพร้อมและพัฒนาการของผู้เรียน ปรับการเรียน
การสอนให้เหมาะสม และแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของข้อมูลที่ได้ นอกเหนือจาก
ตัวเลขหรือข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว อาจเป็นข้อมูลบรรยายลักษณะพฤติกรรมที่ผู้สอนเฝ้าสังเกต หรือ
ผลการเรียนรู้ในลักษณะคำอธิบายระดับพัฒนาการ จุดแข็ง จุดอ่อน หรือปัญหาของผู้เรียน ที่พบจาก
การสังเกต สัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ
วิธีการประเมินแบบต่าง ๆ ที่ผู้สอนสามารถเลือกใช้ในการประเมินในชั้นเรียนมีดังต่อไปนี้
๑. การสังเกตพฤติกรรม เป็นการเก็บข้อมูลจากการสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน
โดยไม่ขัดจังหวะการทำงานหรือการคิดของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ตลอดเวลา
แต่ควรมีกระบวนการและมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการประเมินอะไร โดยอาจใช้เครื่องมือ เช่น
แบบประเมินค่า แบบตรวจสอบรายการ สมุดจดบันทึกเพื่อประเมินผู้เรียนตามตัวชี้วัด และ
ควรสังเกตหลายครั้งเพื่อขจัดความลำเอียง
๒. การสอบปากเปล่า เป็นการให้ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยการพูด ตอบประเด็นเกี่ยวกับ
การเรียนรู้ตามมาตรฐาน แล้วผู้สอนเก็บข้อมูลโดยจดบันทึก การประเมินรูปแบบนี้ผู้สอนและผู้เรียน
มีปฏิสัมพันธ์กัน สามารถมีการอภิปราย โต้แย้ง ขยายความ ปรับแก้ไขความคิดกันได้ มีข้อที่พึงระวัง
คือ อย่าเพิ่งขัดความคิดขณะที่ผู้เรียนกำลังพูด
๓. การพูดคุย เป็นการสื่อสาร ๒ ทางอีกประเภทหนึ่งระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน สามารถ
ดำเนินการเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ โดยทั่วไปมักใช้เพื่อติดตามตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
เพียงใด เป็นข้อมูลสำหรับพัฒนา วิธีการนี้อาจใช้เวลาแต่มีประโยชน์ต่อการค้นหา วินิจฉัยข้อปัญหา
ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัญหา อุปสรรคต่อการเรียนรู้ เช่น วิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
๔. การใช้คำถาม การใช้คำถามเป็นเรื่องปกติมากในการจัดการเรียนรู้ แต่ข้อมูลงานวิจัย
บ่งชี้ว่าคำถามที่ครูใช้ส่วนใหญ่เป็นด้านความจำ และเป็นเชิงการจัดการทั่ว ๆ ไป เพราะถามง่าย
แต่ไม่ท้าทายให้ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง การพัฒนาการใช้คำถามให้มีประสิทธิภาพ
แม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่สามารถทำให้ได้ผลรวดเร็วขึ้น หากผู้สอนมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการถาม
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดอย่างสม่ำเสมอ (Clarke, ๒๐๐๕) Clarke ได้นำเสนอวิธีการฝึกถาม
ให้มีประสิทธิภาพ ๕ วิธี ดังนี้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน99
วิธีที่ ๑ ให้คำตอบที่เป็นไปได้หลากหลาย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเริ่มต้นเปลี่ยนการถาม
แบบความจำให้เป็นคำถามที่ต้องใช้การคิดบ้าง เพราะมีคำตอบที่เป็นไปได้หลายคำตอบ (แต่พึงระวัง
ว่าการใช้คำถามแบบนี้หมายความว่าผู้เรียนต้องผ่านการเรียนรู้ มีความเข้าใจพื้นฐานตามตัวชี้วัด
ที่กำหนดให้เรียนรู้มาแล้ว) คำถามแบบนี้ทำให้ผู้เรียนต้องตัดสินใจว่า คำตอบใดถูกหรือใกล้เคียงที่สุด
เพราะเหตุใด และที่ไม่ถูกเพราะเหตุใด นอกจากนี้การใช้คำถามแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ยิ่งขึ้นอีก
หากมีกิจกรรมให้ผู้เรียนทำเพื่อพิสูจน์คำตอบ เช่น
ตัวอย่าง
คำถามจำ : การออกกำลังกายแบบใดทำให้
หัวใจทำงานดีขึ้น
ตัวอย่าง
คำถามคิด : การออกกำลังกายแบบใดต่อไปนี้
ช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น
- การขี่จักรยาน
- การเดิน
- การเล่นกอล์ฟ
- การว่ายน้ำ
- การกระโดดร่ม
- การพุ่งแหลน
วิธีที่ ๒ เปลี่ยนคำถามจำให้เป็นประโยคบอกเล่า เพื่อให้ผู้เรียนระบุว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
พร้อมเหตุผล การใช้วิธีนี้จะต้องให้ผู้เรียนได้อภิปราย ผู้เรียนต้องใช้การคิดที่สูงขึ้นกว่าวิธีแรก เพราะ
ผู้เรียนจะต้องยกตัวอย่างเพื่อสนับสนุนความเห็นของตน เมื่อให้ประโยคที่ผู้เรียนจะต้องสะท้อน
ความคิดเห็น ผู้เรียนจะต้องปกป้องหรืออธิบายทัศนะของตน การฝึกด้วยวิธีการนี้บ่อย ๆ จะเป็นการ
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ฟังที่ดี มีจิตใจเปิดกว้าง พร้อมรับฟังและเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นผ่าน
กระบวนการอภิปราย ครูใช้วิธีการนี้กดดันให้เกิดการอภิปรายอย่างมีคุณภาพระหว่างเด็กต่อเด็ก
และให้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาแก่ทุกคนในชั้นเรียน เช่น
คำถามจำ : การออกกำลังกายแบบใดทำให้
หัวใจทำงานได้ดีขึ้น
คำถามคิด : “การออกกำลังกายแบบต่าง ๆ นั้น
ทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น” ท่านเห็นด้วย
หรือไม่ เพราะเหตุใด
100 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีที่ ๓ หาสิ่งตรงกันข้าม หรือสิ่งที่ใช่/ถูก สิ่งที่ไม่ใช่/ผิด และถามเหตุผล วิธีการนี้ใช้ได้ดีกับ
เนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น จำนวนในวิชาคณิตศาสตร์ การสะกดคำ โครงสร้างไวยากรณ์ในวิชา
ภาษา เป็นต้น เมื่อได้รับคำถามว่าทำไมทำเช่นนี้ถูก แต่ทำเช่นนั้นผิด หรือทำไมผลบวกนี้ถูก
แต่ผลบวกนี้ผิด หรือทำไมประโยคนี้ถูกไวยากรณ์แต่ประโยคนั้นผิดไวยากรณ์ เป็นต้น จะเป็นโอกาส
ให้ผู้เรียนคิดและอภิปราย มากกว่าเพียงการถามว่าทำไมโดยไม่มีการเปรียบเทียบกัน และวิธีการนี้
จะใช้กับการทำงานเป็นคู่มากกว่าถามทั้งห้องแล้วให้ยกมือตอบ
ตัวอย่าง
คำถามจำ : พืชต้องการอะไรเพื่อการ
เจริญเติบโต
คำถามจำ : อะไรที่ทำให้อาหารมื้อนั้น ๆ
มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ตัวอย่าง
คำถามคิด : ทำไมต้นไม้ต้นนี้จึงสมบูรณ์
แข็งแรง แต่อีกต้นหนึ่งกำลังจะตาย
คำถามคิด : จากภาพ เหตุใดภาพที่ ๑
จึงเป็นอาหารสุขภาพ แต่ภาพที่ ๒ ไม่ใช่
อาหารสุขภาพ
วิธีที่ ๔ ให้คำตอบเป็นประเด็นสรุปแล้วตามด้วยคำถามให้คิด เป็นการให้ผู้เรียนต้อง
อธิบายเพิ่มเติม
ตัวอย่าง
คำถามจำ : จงบอกคำที่เป็นคำเชื่อม
คำถามจำ : การพรรณนาความที่ดี
ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตัวอย่าง
คำถามคิด : ทำไมเราจึงเรียกคำว่า “แต่”
และ “ดังนั้น” ว่าเป็นคำเชื่อม
คำถามคิด : ทำไมข้อความนี้จึงเป็นการ
พรรณนาความที่ดี
วิธีที่ ๕ ตั้งคำถามจากจุดยืนที่เห็นต่าง เป็นวิธีที่ต้องใช้ความสามารถมากทั้งผู้สอนและ
ผู้เรียน เพราะมีประเด็นที่ต้องอภิปรายโต้แย้งเชิงลึก เหมาะที่จะใช้อภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวกับ
สภาพเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาสุขภาพ ปัญหาเชิงจริยธรรม เป็นต้น
ตัวอย่าง
คำถามจำ : การรีไซเคิลดีอย่างไร
คำถามจำ : การสูบบุหรี่มีอันตรายอย่างไร
ตัวอย่าง
คำถามคิด : เหตุใดโรงงานผลิตพลาสติก
จึงชูประเด็นการรีไซเคิล
คำถามคิด : การสูบบุหรี่ควรเป็นสิ่งที่เลือก
กระทำหรือไม่
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน101
นอกจากนี้ การใช้ Bloom’s Taxonomy เป็นกรอบแนวคิดในการตั้งคำถามก็เป็นวิธีการที่ดี
ในการเก็บข้อมูลการเรียนรู้จากผู้เรียน ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสำคัญ
ที่ใช้ในการสร้างคำถามได้จากใบความรู้ที่ ๒.๒
๕. การเขียนสะท้อนการเรียนรู้ (Journals) เป็นรูปแบบการบันทึกการเขียนอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่ให้ผู้เรียนเขียนตอบกระทู้หรือคำถามของครู ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับความรู้ ทักษะที่กำหนดในตัวชี้วัด
การเขียนสะท้อนการเรียนรู้นี้นอกจากทำให้ผู้สอนทราบความก้าวหน้าในผลการเรียนรู้แล้ว
ยังใช้เป็นเครื่องมือประเมินพัฒนาการด้านทักษะการเขียนได้อีกด้วย
๖. การประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) เป็นวิธีการประเมินงานหรือ
กิจกรรมที่ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน เพื่อให้ทราบถึงผลการพัฒนาของผู้เรียน การประเมิน
ลักษณะนี้ผู้สอนต้องเตรียมสิ่งสำคัญ ๒ ประการ คือ ภาระงาน (Tasks) หรือกิจกรรมที่จะให้ผู้เรียน
ปฏิบัติ เช่น การทำโครงการ/โครงงาน การสำรวจ การนำเสนอ การสร้างแบบจำลอง การท่องปากเปล่า
การสาธิต การทดลองวิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการ การแสดงละคร เป็นต้น และเกณฑ์การ
ให้คะแนน (Scoring Rubrics) ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติอาจจะปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะงาน
หรือประเภทกิจกรรม ดังนี้
● ภาระงานหรือกิจกรรมที่เน้นขั้นตอนการปฏิบัติและผลงาน เช่น การทดลอง
วิทยาศาสตร์ การจัดนิทรรศการ การแสดงละคร การแสดงเคลื่อนไหว การประกอบอาหาร
การประดิษฐ์ การสำรวจ การนำเสนอ การจัดทำแบบจำลอง เป็นต้น ผู้สอนจะต้องสังเกตและ
ประเมินวิธีการทำงานที่เป็นขั้นตอนและผลงานของผู้เรียน
● ภาระงานหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างลักษณะนิสัย เช่น การรักษาความสะอาด
การรักษาสาธารณสมบัติ/สิ่งแวดล้อม กิจกรรมหน้าเสาธง เป็นต้น ผู้สอนจะประเมินด้วย
วิธีการสังเกต จดบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้เรียน
● ภาระงานที่มีลักษณะเป็นโครงการ/โครงงาน เป็นกิจกรรมที่เน้นขั้นตอนการปฏิบัติ
และผลงานที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ จึงควรมีการประเมินเป็นระยะ ๆ เช่น ระยะก่อนดำเนิน
โครงการ/โครงงาน โดยประเมินความพร้อม การเตรียมการและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน
ระยะระหว่างดำเนินโครงการ/โครงงาน จะประเมินการปฏิบัติจริงตามแผน วิธีการและขั้นตอน
ที่กำหนดไว้ และการปรับปรุงระหว่างการปฏิบัติ สำหรับระยะสิ้นสุดการดำเนินโครงการ/โครงงาน
จะประเมินผลงาน ผลกระทบและวิธีการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ/โครงงาน
● ภาระงานที่เน้นผลผลิตมากกว่ากระบวนการขั้นตอนการทำงาน เช่น การจัดทำแผนผัง
แผนที่ แผนภูมิ กราฟ ตาราง ภาพ แผนผังความคิด เป็นต้น อาจประเมินเฉพาะคุณภาพของผลงาน
ก็ได้ ในการประเมินการปฏิบัติงาน ผู้สอนต้องสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ประกอบการประเมิน เช่น
แบบมาตรประมาณค่า แบบบันทึกพฤติกรรม แบบตรวจสอบรายการ แบบบันทึกผลการปฏิบัติ เป็นต้น
102 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๗. การประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment) แฟ้มสะสมงานเป็นการ
เก็บรวบรวมชิ้นงานของผู้เรียน เพื่อสะท้อนความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน เช่น แฟ้มสะสมงาน
ที่แสดงความก้าวหน้าของผู้เรียน ต้องมีผลงานในช่วงเวลาต่าง ๆ ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของผู้เรียน
หากเป็นแฟ้มสะสมงานดีเด่นต้องแสดงผลงานที่สะท้อนความสามารถของผู้เรียน โดยผู้เรียน
ต้องแสดงความคิดเห็น หรือเหตุผลที่เลือกผลงานนั้นเก็บไว้ตามวัตถุประสงค์ของแฟ้มสะสมงาน
แนวทางในการจัดทำแฟ้มสะสมงาน มีดังนี้
● กำหนดวัตถุประสงค์ของแฟ้มสะสมงาน ว่าต้องการสะท้อนเกี่ยวกับความก้าวหน้า
และความสำเร็จของผู้เรียนในเรื่องใดด้านใด ทั้งนี้อาจพิจารณาจากตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้
● วางแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงานที่เน้นการจัดทำชิ้นงาน กำหนดเวลาของการ
จัดทำแฟ้มสะสมงาน และเกณฑ์การประเมิน
● จัดทำแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน และดำเนินการตามแผนที่กำหนด
● ให้ผู้เรียนเก็บรวบรวมชิ้นงาน
● ให้มีการประเมินชิ้นงานเพื่อพัฒนาชิ้นงาน ควรประเมินแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ประเมิน
ได้แก่ ตนเอง เพื่อน ผู้สอน ผู้ปกครอง บุคคลที่เกี่ยวข้อง
● ให้ผู้เรียนคัดเลือกชิ้นงาน ประเมินชิ้นงานตามเงื่อนไขที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกัน
กำหนด เช่น ชิ้นงานที่ยากที่สุด ชิ้นงานที่ชอบที่สุด เป็นต้น โดยดำเนินการเป็นระยะ อาจจะเป็น
เดือนละครั้งหรือบทเรียนละครั้งก็ได้
● ให้ผู้เรียนนำชิ้นงานที่คัดเลือกแล้วจัดทำเป็นแฟ้มที่สมบูรณ์ ซึ่งควรประกอบด้วย
หน้าปก คำนำ สารบัญ ชิ้นงาน แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
● ผู้เรียนต้องสะท้อนความรู้สึกและความคิดเห็นต่อชิ้นงาน หรือแฟ้มสะสมงาน
● สถานศึกษาควรจัดให้ผู้เรียนแสดงแฟ้มสะสมงานและชิ้นงานเมื่อสิ้นภาคเรียน/
ปีการศึกษาตามความเหมาะสม
๘. การวัดและประเมินด้วยแบบทดสอบ เป็นการประเมินตัวชี้วัดด้านการรับรู้ข้อเท็จจริง
(Knowledge) ผู้สอนควรเลือกใช้แบบทดสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวัดและประเมินนั้น ๆ
เช่น แบบทดสอบเลือกตอบ แบบทดสอบถูก-ผิด แบบทดสอบจับคู่ แบบทดสอบเติมคำ แบบทดสอบ
ความเรียง เป็นต้น ทั้งนี้ แบบทดสอบที่จะใช้ต้องเป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพ มีความเที่ยงตรง
(Validity) และเชื่อมั่นได้ (Reliability)
๙. การประเมินด้านความรู้สึกนึกคิด (Attitude) เป็นการประเมินคุณธรรม จริยธรรม
คุณลักษณะและเจตคติที่ควรปลูกฝังในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการวัดและประเมินผลจะเป็นลำดับขั้น
จากต่ำสุดไปสูงสุด ดังนี้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน103
● ขั้นรับรู้ เป็นการประเมินพฤติกรรมที่แสดงออกว่ารู้จัก เต็มใจ สนใจ
● ขั้นตอบสนอง เป็นการประเมินพฤติกรรมที่แสดงว่าเชื่อฟัง ทำตาม อาสาทำ
พอใจที่จะทำ
● ขั้นเห็นคุณค่า (ค่านิยม) เป็นการประเมินพฤติกรรมที่แสดงความเชื่อ ซึ่งแสดงออก
โดยการกระทำหรือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ยกย่องชมเชย สนับสนุนช่วยเหลือ หรือทำกิจกรรมที่ตรง
กับความเชื่อของตน ทำด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธา และปฏิเสธที่จะกระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อ
ของตน
● ขั้นจัดระบบคุณค่า เป็นการประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม อภิปราย
เปรียบเทียบ จนเกิดอุดมการณ์ในความคิดของตนเอง
● ขั้นสร้างคุณลักษณะ เป็นการประเมินพฤติกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะประพฤติปฏิบัติ
เช่นนั้นอยู่เสมอในสถานการณ์เดียวกันหรือเกิดเป็นอุปนิสัย การวัดและประเมินผลด้านจิตพิสัย
ควรใช้การสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติเป็นหลัก และสังเกตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งโดยมีการ
บันทึกผลการสังเกต ทั้งนี้อาจใช้เครื่องมือการวัดและประเมินผล เช่น แบบประเมินค่า แบบตรวจสอบ
รายการ แบบบันทึกพฤติกรรม แบบรายงานพฤติกรรมตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้อาจใช้แบบวัดความรู้
และความรู้สึกเพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เช่น แบบวัดความรู้โดยสร้างสถานการณ์เชิงจริยธรรม
แบบวัดเจตคติ แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม แบบวัดพฤติกรรมเชิงจริยธรรม เป็นต้น
๑๐. การประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) เป็นการประเมินด้วยวิธี
การที่หลากหลายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริง
ของผู้เรียน จึงควรใช้การประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) ร่วมกับการประเมิน
ด้วยวิธีการอื่น ภาระงาน (Tasks) ควรสะท้อนสภาพความเป็นจริง หรือใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากกว่า
เป็นการปฏิบัติกิจกรรมทั่ว ๆ ไป ดังนั้น การประเมินสภาพจริงจะต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้และ
การประเมินผลไปด้วยกัน และกำหนดเกณฑ์การประเมิน (Rubrics) ให้สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับ
ชีวิตจริง
104 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๑๑. การประเมินตนเองของผู้เรียน (Student self-assessment) การประเมินตนเอง
นับเป็นทั้งเครื่องมือประเมินและเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ เพราะทำให้ผู้เรียนได้คิดใคร่ครวญว่า
ได้เรียนรู้อะไร เรียนรู้อย่างไร และผลงานที่ทำนั้นดีแล้วหรือยัง การประเมินตนเองจึงเป็นวิธีหนึ่ง
ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง การประเมินตนเองของผู้เรียนที่ประสบ
ความสำเร็จจะต้องมีเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน มีเกณฑ์ที่บ่งบอกความสำเร็จของชิ้นงาน/ภาระงาน
และมาตรการการปรับปรุงแก้ไขตนเอง เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดชัดเจนและผู้เรียนได้รับทราบ
หรือร่วมกำหนดด้วย จะทำให้ผู้เรียนทราบว่าตนถูกคาดหวังให้รู้อะไรทำอะไร มีหลักฐานใดที่แสดง
การเรียนรู้ตามความคาดหวังนั้น หลักฐานที่มีคุณภาพควรมีเกณฑ์เช่นไร เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เรียน
พิจารณาประเมิน ซึ่งหากเป้าหมายและเกณฑ์การประเมินเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน
กับผู้สอนด้วยแล้ว จะเป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การที่ผู้เรียนได้ใช้การประเมิน
ตนเองบ่อย ๆ โดยมีกรอบแนวทางการประเมินที่ชัดเจนนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินได้
ค่อนข้างตรงและซื่อสัตย์ คำวิจารณ์ คำแนะนำของผู้เรียนมักจะจริงจังมากกว่าของครู การประเมินตนเอง
จะเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น หากผู้เรียนทราบสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขและตั้งเป้าหมายการปรับปรุงแก้ไข
ของตนแล้วฝึกฝนพัฒนา โดยการดูแลสนับสนุนจากผู้สอนและความร่วมมือของครอบครัว
๑๒. การประเมินโดยเพื่อน (Peer Assessment) เป็นเทคนิคการประเมินอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่น่าจะนำมาใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เข้าถึงคุณลักษณะของงานที่มีคุณภาพ เพราะการที่ผู้เรียนจะบอก
ได้ว่าชิ้นงานนั้นเป็นเช่นไร ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนว่าเขากำลังตรวจสอบอะไรในงาน
ของเพื่อน ฉะนั้นผู้สอนต้องอธิบายผลที่คาดหวังให้ผู้เรียนทราบก่อนที่จะลงมือประเมิน การที่จะสร้าง
ความมั่นใจว่าผู้เรียนเข้าใจการประเมินรูปแบบนี้ควรมีการฝึก โดยผู้สอนอาจหาตัวอย่าง เช่น
งานเขียนให้กลุ่มผู้เรียนตัดสินใจว่าควรประเมินอะไร และควรให้คำอธิบายเกณฑ์ที่บ่งบอกความสำเร็จ
ของภาระงานนั้น จากนั้นให้ผู้เรียนประเมินภาระงานเขียนที่เป็นตัวอย่างนั้นโดยใช้เกณฑ์ที่ช่วยกัน
สร้างขึ้น หลังจากนั้นผู้สอนตรวจสอบการประเมินของผู้เรียน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน
ที่ประเมินเกินจริง การประเมินโดยเพื่อนที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องสร้างสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้
ที่สนับสนุนให้เกิดการประเมินรูปแบบนี้ กล่าวคือ ผู้เรียนต้องรู้สึกผ่อนคลาย เชื่อใจกันและไม่อคติ
เพื่อการให้ข้อมูลย้อนกลับจะได้ซื่อตรงเป็นเชิงบวกที่ให้ประโยชน์ ผู้สอนที่ให้ผู้เรียนทำงานกลุ่มตลอด
ภาคเรียน แล้วใช้เทคนิคเพื่อนประเมินเพื่อนเป็นประจำจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจ
ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การให้ข้อมูลย้อนกลับที่เก่งขึ้นได้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน105
เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินแบบต่าง ๆ ที่ผู้สอนนำไปใช้ในการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนนั้น
มีหลากหลายแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของผู้เรียนก็มีหลากหลายเช่นกัน บางกรณีวิธีประเมิน
อาจใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว บางกรณีอาจใช้เครื่องมือหลายอย่าง ผู้สอนสามารถเลือกใช้ได้
ตามวัตถุประสงค์และความเหมาะสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
๑. แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพูดคุยซักถามระหว่างครูกับผู้เรียนเพื่อ
รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ครูสามารถสังเกตกิริยาท่าทาง ลักษณะทางร่างกาย การแสดงพฤติกรรม
ท่วงทีการพูดโต้ตอบ การสัมภาษณ์ที่ใช้ในโรงเรียนมักเป็นการสัมภาษณ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและ
การสัมภาษณ์เพื่อปรึกษาปัญหา การสัมภาษณ์อาจทำในหรือนอกห้องเรียน ในหรือนอกเวลาเรียน
หรือมีการนัดหมายกันก็ได้
การสัมภาษณ์ที่ดีต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าครูต้องการจะได้ข้อมูลอะไร เช่น สัมภาษณ์
ผู้เรียนเพื่อหาข้อมูลในการแก้ปัญหาการมาโรงเรียนสายบ่อย ๆ ข้อมูลในการจัดหาหนังสือ
เข้าห้องสมุด เป็นต้น
ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์
คำถาม ผู้เรียนชอบอ่านหนังสือประเภทใดมากที่สุด.....................................................................
คำถาม เพราะเหตุใดถึงชอบหนังสือเล่มนั้น..................................................................................
คำถาม ผู้เรียนใช้เวลาช่วงใดในการอ่านหนังสือ............................................................................
๒. แบบสังเกต เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่ผู้สอนใช้ในการสังเกตผู้เรียนแต่ละคนหรือ
เป็นกลุ่มในเวลาใดเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการสังเกตของครู การสังเกตที่ให้ผลเชื่อถือได้นั้น
ผู้สอนต้องสังเกตผู้เรียนทีละคน ระบุพฤติกรรมที่สังเกตได้ชัด จัดเวลาสังเกตให้เป็นระบบ สังเกต
ซ้ำ ๆ กันหลายช่วงเวลา ถ้าจะให้เชื่อถือได้สูงควรมีผู้สังเกต ๒ คน สังเกตผู้เรียนคนเดียวกันในเวลา
เดียวกัน หรือผู้สอนสังเกตผู้เรียนทีละคนแล้วบันทึกการสังเกตไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม (๑)
วัน...........เดือน....................ปี..................ที่สังเกต ผู้สอน.............................................................
วิชาใด................................................................... เวลา...............................................................
ชื่อผู้เรียน.........................................................................................................................................
ผู้เรียนกำลังทำอะไร..........................................................................................................................
มีใครอยู่กับผู้เรียนขณะที่สังเกตบ้าง..................................................................................................
พฤติกรรมของผู้เรียนที่สังเกตพบบ่อย ๆ คือ.....................................................................................
ผู้บันทึก..........................................................
106 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๓. แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นที่ให้ผู้ตอบเขียนตอบเอง
ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ให้ผู้ตอบทำเครื่องหมายเพื่อตอบ เขียนตอบสั้น ๆ หรือให้ทำเครื่องหมาย
เป็นมาตรประมาณค่า ผู้ตอบแบบสอบถามอาจเป็นผู้เรียน ผู้ปกครอง หรือผู้เกี่ยวข้องกับประเด็น
ที่ต้องการคำตอบ ดังนั้นแบบสอบถามจึงต้องมีคำชี้แจงในประเด็นที่ต้องการ เพื่อให้ผู้ตอบเข้าใจตรงกัน
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม (๒)
รายการพฤติกรรม บ่อยครั้ง บางครั้ง ไม่เคยเลย
๑. เข้าเรียนตรงเวลา
๒. ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๓. ทำการบ้านและแบบฝึกหัดตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ส่งการบ้านและแบบฝึกหัดตามที่ได้รับมอบหมาย
๕. นำอุปกรณ์การเรียนมาเรียนครบ
๖. จดงานหรือบันทึกขณะทำกิจกรรมการเรียน
๗. ตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมการเรียนในห้อง
๘. ระวังรักษาอุปกรณ์ของส่วนรวมและของตนเอง
ผู้ประเมิน.....................................
ตัวอย่างแบบสอบถามสภาพครอบครัว
ที่อยู่..................................................................................................................................................
อาชีพบิดา.....................................................อาชีพมารดา................................................................
ปัจจุบันอาศัยอยู่กับ
❑ บิดา-มารดา ❑ บิดา ❑ มารดา
❑ ผู้อื่น ระบุ..........................................................................................
ท่านเป็นบุตรคนที่...................................
จำนวนพี่น้อง รวมตัวท่าน..............คน ชาย..............คน หญิง..............คน
จำนวนคนในครอบครัว..............คน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน107
ตัวอย่างแบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรม
งานอดิเรกที่ผู้เรียนชอบทำคือ...........................................................................................................
ผู้เรียนชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับ........................................................................................................
กีฬาที่ชอบมากที่สุด..........................................................................................................................
๔. แบบสำรวจรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็น
รายการสำรวจเอาไว้ เมื่อเก็บข้อมูลก็ตรวจสอบไปทีละรายการว่ามีหรือไม่ มักใช้ประกอบการ
เก็บข้อมูลโดยวิธีการสังเกตหรือการวัดทักษะการปฏิบัติ
ตัวอย่างแบบสำรวจปัญหาของผู้เรียน (๑)
เมื่อมีปัญหาหรือความคับข้องใจ ผู้เรียนปรึกษาใคร
............... ครูประจำชั้น
............... พ่อ/แม่
............... เพื่อนสนิท
............... ญาติ
............... อื่น ๆ โปรดระบุ..................................................................................
ตัวอย่างแบบสำรวจปัญหาของผู้เรียน (๒)
ข้อความ ใช่ ไม่ใช่
ผู้เรียนไม่เข้าใจบทเรียน
ผู้เรียนรู้สึกเบื่อการเรียน
ผู้เรียนไม่อยากไปโรงเรียน
ผู้เรียนไม่ชอบครูบางคน
ผู้เรียนรู้สึกประหม่าเมื่ออยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก
108 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๕. แบบทดสอบ (Test) แบบทดสอบ หมายถึง ชุดของคำถาม (items) ที่สร้างขึ้นเพื่อให้
ผู้สอบแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาให้ผู้สอนสังเกตและวัดได้ แบบทดสอบเป็นเครื่องมือ
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นสติปัญญาของมนุษย์ที่ซ่อนแฝงอยู่ในตัวบุคคลว่ามีความรู้
หรือไม่เพียงใด ทั้งในด้านพฤติกรรมความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ และอื่น ๆ หากแบ่ง
ประเภทแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เกณฑ์ลักษณะการตอบแล้ว สามารถแบ่งออก
ได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๕.๑ แบบทดสอบอัตนัยหรือแบบความเรียง มีลักษณะเด่นที่ให้อิสระแก่ผู้ตอบ
ผู้ตอบจะต้องหาหรือสร้างคำตอบเองแทนที่จะมีคำตอบให้เลือก เหมือนกับข้อสอบแบบกำหนด
คำตอบให้ ข้อสอบแบบนี้จะใช้ในการวัดผลการเรียนรู้ที่ไม่สามารถวัดโดยใช้ข้อสอบแบบกำหนด
คำตอบได้ เช่น วัดความสามารถในการจัดการ ความสามารถในการบูรณาการ ความสามารถในการ
สังเคราะห์ความรู้ ความสามารถในการแก้ปัญหา ตลอดจนความสามารถในการประเมิน เป็นต้น
เหมาะที่จะนำมาใช้เมื่อต้องการวัดความสามารถในการใช้เหตุผล การวางแผน การแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์หรือจินตนาการ ผู้ตอบจะต้องรู้ลึกในเรื่องที่จะตอบจึงจะเขียนตอบได้ดี
ข้อสอบแบบความเรียงแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ คำถามแบบจำกัดคำตอบ
(restricted response questions) และคำถามแบบขยายคำตอบ (extended response
questions) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
๕.๑.๑ คำถามแบบจำกัดคำตอบ เป็นคำถามที่จำกัดเนื้อหาคือกำหนดขอบเขต
ที่จะให้ตอบ ดังตัวอย่าง
๑) ให้ผู้เรียนอธิบายเรื่องยาเสพติดให้ครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้
ก. ความหมายของยาเสพติด
ข. ประเภทของยาเสพติด
๒) ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงคู่กับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
๕.๑.๒ คำถามแบบขยายคำตอบ เป็นคำถามที่ไม่จำกัดขอบเขตให้ตอบ ผู้ตอบ
สามารถเลือกข้อความรู้และนำความรู้เหล่านั้นมาจัดระบบให้ดีแล้วนำมาเขียนเป็นคำตอบ จึงเป็น
ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถในการรวบรวมความรู้ สังเคราะห์ความรู้เหล่านั้นแล้วนำมาเรียบเรียง
และเขียนเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี ดังตัวอย่าง
๑) ให้ผู้เรียนอธิบายโครงสร้างของสังคมไทยปัจจุบัน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน109
ข้อสอบแบบความเรียงนี้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักรวบรวมความรู้หรือข้อมูลต่าง ๆ
นำมาประมวลเป็นเรื่องเดียวกัน จัดระบบความรู้เหล่านั้น แล้วเรียบเรียงถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นออกมา
ด้วยภาษาของตนเองเพื่อสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นกระบวนการของการฝึกความสามารถในการอ่าน
คิดวิเคราะห์ และเขียนของผู้เรียน และสอดคล้องกับแนวคิดใหม่ของบลูม (Revised Bloom’s
Taxonomy) ที่กล่าวถึงการประเมินด้านสติปัญญาว่า เป็นการประเมินได้ทั้งทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน
จนถึงขั้นสูง โดยผู้สอบจะต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐาน คือ จำได้ (remember) และเข้าใจ (understand)
เนื้อหาความรู้เหล่านั้น แล้วนำไปปรับใช้ (apply) โดยอาจจะวิเคราะห์ (analyze) ประเมิน
(evaluate) แล้วสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (create) โดยเขียนสื่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามกระบวนการทางการคิดนั้น
ออกมาเป็นคำตอบ ในขณะเดียวกันผู้สอนต้องคำนึงถึงการตรวจให้คะแนนด้วย เนื่องจากการตรวจ
ให้คะแนนต้องใช้เวลามาก ต้องกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (rubrics) เพื่อตรวจให้คะแนนได้อย่าง
ยุติธรรม
หลักการเขียนข้อสอบแบบอัตนัย
๑. กำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการวัดพฤติกรรมด้านใดของผู้สอบ
๒. เขียนคำถามให้ชัดเจน จำเพาะเจาะจง ว่าต้องการให้ผู้สอบทำอย่างไร เช่น
อธิบาย วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น ฯลฯ รวมทั้งมีคะแนนข้อละกี่คะแนน
๓. เขียนคำถามโดยใช้สถานการณ์ใหม่ ๆ ไม่ควรถามตามตำรา หรือถามในสิ่งที่
เรียนมาแล้ว
๔. ต้องถามเฉพาะสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่อง
๕. กำหนดเวลาในการสอบให้เหมาะสม เพื่อผู้ตอบจะได้วางแผนการตอบได้ถูกต้อง
โดยเอาจำนวนข้อไปหารจำนวนเวลาทั้งหมด ก็จะทราบว่าแต่ละข้อควรใช้เวลาเท่าไร
๖. ถ้าไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการให้ผู้ตอบเลือกตอบเป็นบางข้อได้ ควรให้ทำ
ทุกข้อ
๗. พยายามใช้คำถามหลาย ๆ แบบโดยเน้นการอธิบาย ควรเป็นคำถาม
ประเภททำไม อย่างไร หรือให้อธิบาย บรรยาย เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาความขัดแย้ง
ตีความ วิเคราะห์เหตุผล วิจารณ์ และประเมินผล เป็นต้น
๘. เมื่อเขียนคำถามแล้ว ควรเขียนคำตอบหรือแนวคำตอบที่ต้องการไว้ด้วย
หรืออาจจะเขียนในลักษณะคำหรือข้อความสำคัญ (Key Words) ของคำตอบข้อนั้น ๆ เอาไว้ด้วย
๙. ควรกำหนดความยาวและความซับซ้อนของข้อสอบให้พอเหมาะกับ
ความสามารถของผู้สอบ
๑๐. ถ้าข้อสอบมีหลายข้อควรจัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก เพื่อยั่วยุให้อยากตอบ
มากยิ่งขึ้น
110 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๕.๒ แบบทดสอบปรนัย เป็นข้อสอบที่มีคำถามเฉพาะเจาะจง ตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน
มีคำสั่ง วิธีการปฏิบัติและวิธีการตรวจให้คะแนนที่ชัดเจน แบบทดสอบปรนัยที่นิยมใช้กัน คือ
แบบถูก-ผิด (true-false) แบบจับคู่ (matching) และแบบเลือกตอบ (multiple choices)
ซึ่งแต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้
๕.๒.๑ ข้อสอบแบบถูกผิด เป็นข้อคำถามที่กำหนดข้อความให้ผู้เรียนพิจารณา
เลือกตอบสองทางเลือก เช่น ถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ จริง-ไม่จริง เหมือนกัน-ต่างกัน ฯลฯ โดยใช้ความรู้
ตามหลักวิชาเป็นเกณฑ์พิจารณา ตัวคำถามมักจะเขียนในรูปประโยคบอกเล่าธรรมดา หรืออาจจะ
เป็นประโยคคำถาม โดยมีข้อความถูกบ้างผิดบ้างคละเคล้ากันไป
หลักการเขียนข้อสอบแบบถูกผิด
๑) ข้อความจะต้องมีความหมายชัดเจน ไม่กำกวม และไม่ควรใช้คำที่แสดง
คุณภาพ เช่น มาก น้อย บ่อย ๆ บางครั้ง ส่วนมาก ส่วนน้อย ไม่ค่อยจะ เป็นต้น ควรเลือกคำที่แสดง
ปริมาณจะมีความหมายชัดเจนกว่า เช่น
ไม่ดี - พม่ายกกองทัพมาตีไทยบ่อยครั้งในสมัยกรุงธนบุรี
ดีขึ้น - พม่ายกกองทัพมาตีไทย ๔ ครั้งในสมัยกรุงธนบุรี
๒) ข้อความที่กำหนดให้ต้องตัดสินได้ว่าถูกจริงหรือผิดจริงและเป็นสากล เช่น
ไม่ดี - น้ำเดือดที่อุณหภูมิ ๑๐๐ องศาเซลเซียส
ดีขึ้น - ณ ระดับน้ำทะเล น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ ๑๐๐ องศาเซลเซียส
๓) แต่ละข้อคำถาม ควรถามจุดสำคัญเพียงเรื่องเดียว เช่น
ไม่ดี - อำเภอแม่สายอยู่ในจังหวัดเชียงราย และอยู่เหนือสุดของประเทศไทย
ดีขึ้น - อำเภอแม่สายอยู่ในจังหวัดเชียงราย
ดีขึ้น - อำเภอแม่สายอยู่เหนือสุดของประเทศไทย
๔) ไม่ควรสร้างข้อคำถามเชิงปฏิเสธหรือปฏิเสธซ้อน เพราะจะทำให้ผู้สอบเข้าใจผิด
ไม่ดี - ถ้าผู้เรียนไม่ออกไปตากน้ำค้าง ผู้เรียนจะไม่เป็นหวัด
ดีขึ้น - การออกไปตากน้ำค้างทำให้ผู้เรียนเป็นหวัด
๕) ควรหลีกเลี่ยงการลอกข้อความจากหนังสือหรือตำราเรียนโดยตรง เพราะจะ
ส่งเสริมการเรียนแบบท่องจำ
๖) ให้ข้อสอบแต่ละข้อเป็นอิสระแก่กัน
๗) ข้อความแต่ละข้อควรมีความยาวใกล้เคียงกัน
๘) ข้อสอบควรเรียงลำดับตามเนื้อหา
๙) ควรให้มีจำนวนข้อถูกและข้อผิดใกล้เคียงกัน และอยู่กระจายคละกัน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน111
๕.๒.๒ ข้อสอบแบบจับคู่ เป็นข้อคำถามที่กำหนดข้อความที่สัมพันธ์กันให้
๒ รายการ รายการทางด้านซ้ายเรียกว่าตัวยืนหรือคำถาม รายการทางด้านขวาเรียกว่าตัวเลือกหรือ
คำตอบ ให้ผู้ตอบพิจารณาความสัมพันธ์ของรายการทั้งสองด้าน รายการที่นำมาออกข้อสอบแบบจับคู่
ได้แก่ คำศัพท์กับความหมาย เหตุการณ์กับเวลา เวลากับสถานที่ ชื่อบุคคลกับผลงาน ชื่อ
กระบวนการกับการผลิต กฎกับการใช้เหตุกับผล เครื่องมือกับประโยชน์ใช้สอย เป็นต้น
หลักการเขียนข้อสอบแบบจับคู่
๑) เขียนคำชี้แจงให้ชัดเจนว่าจะให้จับคู่ได้เพียงตัวเลือกเดียว หรืออาจจับคู่ได้
หลายตัวเลือก
๒) เนื้อหาวิชาที่นำมาออกข้อสอบจะต้องเป็นเรื่องหรือเนื้อหาเดียวกัน เช่น
ตัวอย่างแบบทดสอบแบบจับคู่
คำชี้แจง : รายการทางด้านซ้ายเป็นคำถาม รายการทางด้านขวาเป็นคำตอบ ให้ท่านนำเอาหัวข้อ
ของคำตอบทางขวามือมาใส่ในวงเล็บหน้าคำถามทางซ้ายมือ คำตอบทางขวามือนั้น
สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวหรือไม่ใช้เลยก็ได้
(.........) ๑. ใครเป็นคนแต่งหนังสือจินดามณี ก. พระโหราธิบดี
(.........) ๒. ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย ข. พ่อขุนรามคำแหง
(.........) ๓. ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นคนแรก ค. พระยาโกษาธิบดี
ง. พระยาพหลพลพยุหเสนา
จ. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
๓) ควรให้คำตอบมีมากกว่าคำถาม ๓-๔ ตัว
๔) ข้อสอบแบบจับคู่ชุดหนึ่งไม่ควรมีมากข้อเกินไป ควรอยู่ระหว่าง ๕-๑๒ คู่
และควรให้อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งหมด
๕) คำหรือข้อความที่เป็นคู่กันไม่ควรจัดให้อยู่ตรงกัน
๕.๒.๓ ข้อสอบแบบเลือกตอบ เป็นข้อสอบที่ประกอบด้วยคำถามและคำตอบ
ให้เลือกหลาย ๆ คำตอบ ข้อสอบประเภทนี้มี ๒ ส่วน คือ
๑) ตัวนำหรือตัวคำถาม (stem) เป็นข้อความที่เป็นตัวเร้าให้ผู้สอบคิด
๒) ตัวเลือก (choices) เป็นคำตอบหลาย ๆ คำตอบ เพื่อให้ผู้สอบเลือกตอบ
อย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้งตัวถูก (key) และตัวลวง (distracters)
112 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ข้อสอบแบบเลือกตอบที่ดีนั้นตัวเลือกทุกตัวจะมีน้ำหนักพอ ๆ กัน ถ้าดูผิวเผิน
หรือไม่มีความรู้ในข้อนั้นจริง ๆ จะเห็นว่าถูกหมดทุกข้อ และในการสอบแต่ละครั้งตัวเลือกแต่ละตัว
จะมีโอกาสถูกเลือกพอ ๆ กัน นั่นคือ หากมีข้อสอบ ๒๐ ข้อ และมี ๔ ตัวเลือก โอกาสที่ตัวเลือก ก ข ค
หรือ ง จะถูกเลือกจะเท่ากัน และคำตอบถูกควรจะกระจายกันไปทุกตัวเลือก ไม่ใช่อยู่ที่ตัวใดตัวหนึ่ง
หลักการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบ
ด้านตัวคำถาม
๑) เขียนคำถามให้เป็นประโยคคำถามที่สมบูรณ์
๒) เขียนคำถามให้กะทัดรัด ชัดเจน ตรงจุด ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
๓) ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับระดับผู้สอบ
๔) คำถามควรเร้าให้ผู้สอบได้ใช้ความคิด
๕) หลีกเลี่ยงการใช้คำถามปฏิเสธซ้อน
๖) ไม่ควรถามในสิ่งที่เด็กท่องจำจนคล่องปาก
๗) คำถามแต่ละข้อควรเป็นอิสระขาดจากกัน
๘) อาจใช้รูปภาพช่วยเพื่อลดความเครียดของผู้สอบ หรือทำให้เข้าใจคำถามดีขึ้น
ด้านตัวเลือก
๑) คำถามข้อหนึ่ง ๆ ต้องมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้น
๒) เขียนให้ทั้งตัวถูกและตัวผิด ถูกผิดตามหลักวิชา
๓) เขียนให้ตัวเลือกเป็นอิสระจากกัน
๔) เขียนตัวเลือกให้กะทัดรัด ไม่ยืดยาว หรือเพิ่มคำที่ไม่จำเป็น
๕) ตัวเลือกต้องเป็นเอกพันธ์
๖) ตัวเลือกที่ถูกไม่ควรยาวเกินไป
๗) จัดตัวเลือกให้เป็นระบบ เช่น เรียงตาม พ.ศ. เรียงจากน้อยไปมาก เป็นต้น
๘) หลีกเลี่ยงการเขียนตัวถูกให้พ้องเสียง หรือมีคำ/ข้อความที่ซ้ำกับตัวคำถาม
๙) ตำแหน่งของตัวถูกควรกระจายในลักษณะสุ่ม
๑๐) ตัวลวงต้องมีโอกาสเป็นไปได้
๑๑) ไม่ควรมีตัวเลือกประเภท “ถูกหมดทุกข้อ” หรือ “ไม่มีข้อใดถูก”
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจเป็นแบบปรนัยหรืออัตนัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรืออาจเป็นทั้งแบบปรนัยและอัตนัยรวมกันในแบบทดสอบฉบับเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
วัตถุประสงค์ในการวัด ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการวัด จำนวนผู้เข้าสอบ ระยะเวลาในการ
สร้างข้อสอบ การดำเนินการสอบและการตรวจข้อสอบ
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน113
ใบความรู้ที่ ๒.๒
แนวคิดการจัดระดับพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด
การตรวจสอบความรู้ ทักษะ ความสามารถของผู้เรียนจะดูจากพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับ
ผู้เรียน อันเป็นผลมาจากประสบการณ์การศึกษา พฤติกรรมเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทาง
ปัญญาและการคิด นักคิดชั้นนำทางการศึกษาได้นำพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นมาจัดประเภทอย่าง
เป็นระบบ เรียกว่า Taxonomy of Educational Objectives เพื่อช่วยในการเขียนจุดประสงค์
ทางการศึกษา และเอื้อให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องระหว่างหลักสูตร การสอน และการประเมินผล
สำหรับในด้านการวัดผลประเมินผล คำที่บ่งบอกพฤติกรรมระดับต่าง ๆ เหล่านี้เป็นโครงสร้าง
ที่ใช้อ้างอิงในการสร้างคำถาม และจัดประเภทของคำถามว่าวัดกระบวนการทางปัญญาที่อยู่ในระดับ
พื้นฐานหรือระดับสูง ระบบที่รู้จักกันดีทางการศึกษา และเป็นกรอบแนวคิดที่มีทฤษฎีและการปฏิบัติ
ที่หยั่งรากลึก คือ Bloom’s Taxonomy (๑๙๕๖) และ Bloom’s Revised Taxonomy (๒๐๐๑)
ซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงโดย Anderson และ Krathwohl
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน Wiggins และ McTighe ได้กล่าวถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความ
เข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่เรียน ผ่านการปฏิบัติจริงเพราะมีคุณค่า เนื่องจากทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้
และทักษะที่ได้รับในชั้นเรียนมาแก้ปัญหา ผลิตและสร้างสรรค์ Wiggins และ McTighe ได้จำแนก
ความเข้าใจอย่างแท้จริงเป็น ๖ มิติ เรียกว่า The Six Facets of Understanding โดยระบุว่า
เมื่อผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้เรียนจะสามารถอธิบายได้ ตีความได้ ใช้ความรู้
ได้ประเมินมุมมองต่าง ๆ ได้ มีความเข้าใจผู้อื่นและมีความเข้าใจตนเอง
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาได้รวบรวมความหมายและคำสำคัญที่บ่งบอก
การปฏิบัติ ทั้งที่เป็น Bloom’s Taxonomy, Bloom’s Revised Taxonomy และ The Six
Facets of Understanding ไว้ในใบความรู้นี้ เพื่อให้ครูผู้สอนนำไปใช้ในการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
และสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
114 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives
Bloom (๑๙๕๖) จำแนกการเรียนรู้เป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านปัญญาหรือทักษะการคิด
(cognitive domain) ด้านอารมณ์ (affective domain) และด้านทักษะทางกาย (psychomotor
domain) ทั้ง ๓ ด้าน มิได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด แต่มีความเหลื่อมซ้อนกัน ด้านปัญญาหรือ
ทักษะการคิดเป็นด้านที่มีการนำไปใช้มากที่สุด ทั้งในการออกแบบหลักสูตร จัดกิจกรรมการเรียน
การสอนและการวัดผลประเมินผล ซึ่ง Bloom จัดการเรียนรู้ทางปัญญาไว้เป็น ๖ ระดับ เรียงจาก
ระดับพื้นฐานถึงระดับสูง ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และ
การประเมินค่า โดยระดับความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ จัดเป็นทักษะการคิดระดับพื้นฐาน
สำหรับการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า เป็นทักษะการคิดระดับสูง แต่ละระดับ
มีคำกริยาสำคัญที่บ่งชี้พฤติกรรมกำกับไว้ทำให้ครูผู้สอนพอใจเพราะใช้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการจัดทำ
เป็นตารางหรือแผนภูมิแบบต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายสู่การทำกิจกรรม
ในชั้นเรียน ดังนี้
ตาราง Bloom’s Taxonomy และคำสำคัญที่ใช้ในการสร้างคำถาม
ระดับของ
กระบวนการ
ทางปัญญา
ทักษะที่แสดงออก
(ตัวอย่าง)
คำสำคัญที่ใช้ในการสร้างคำถาม
- สังเกตแล้วจำข้อมูล
- ความรู้ข้อมูล วันที่ เหตุการณ์
สถานที่
- ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดสำคัญ
- ความรู้ในเนื้อหาวิชา
ความรู้
จัดทำรายการ (list) แสดง (show)
ระบุ (define) ติดป้ายบอก (label)
บอก (tell) รวบรวม (collect)
พรรณนา (describe) ตรวจ (examine)
ระบุ (identify) จัดทำตาราง (tabulate)
ระบุคำพูด จดบันทึก (record)
บอกชื่อ เลือก (select)
การใช้คำถามประเภท ใคร เมื่อไร ที่ไหน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน115
ระดับของ
กระบวนการ
ทางปัญญา
ทักษะที่แสดงออก
(ตัวอย่าง)
คำสำคัญที่ใช้ในการสร้างคำถาม
- เข้าใจข้อมูล
- จับความได้
- ถ่ายโอนความรู้เป็นบริบทใหม่
- ตีความ เปรียบเทียบความเหมือน
ความแตกต่าง
- ทำนายผลพวงที่ตามมา
- ใช้ข้อมูลสารสนเทศ
- ใช้วิธีการ กรอบความคิดทฤษฎี
ในสถานการณ์ใหม่
- แก้ปัญหาโดยใช้ทักษะหรือความรู้
ที่จำเป็นนั้น ๆ
- การเห็นรูปแบบ
- การจัดส่วนย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
- การเข้าใจนัยของความหมายแฝง
- การระบุส่วนประกอบต่าง ๆ
ความเข้าใจ
การนำไปใช้
การวิเคราะห์
สรุป (summarize) พรรณนา (describe)
อภิปราย (discuss) ตีความ (interpret)
อธิบาย (explain) บอกความแตกต่าง
(contrast)
เชื่อมโยง (associate) จำแนก (distinguish)
ประมาณ (estimate)
ทำนาย พยากรณ์ (predict)
ใช้ (apply) เชื่อมโยง (relate)
สาธิต (demonstrate) เปลี่ยนแปลง (change)
คำนวณ (calculate) จัดประเภท (classify)
ทดลอง (experiment) ค้นหา (discover)
แสดงให้ดู (show) ติดตั้ง (establish)
แก้ปัญหา (solve) ถ่ายโอน (transfer)
ตรวจสอบ (examine) สร้าง (construct)
ปรับ (modify) บริหารจัดการ
(administer)
ทำให้สมบูรณ์ (complete)
ขยายความประกอบ (illustrate)
วิเคราะห์ (analyze) จัดประเภท (classify)
แยก (separate) จัดเรียง (arrange)
จัดลำดับ (order) แบ่ง (divide)
อธิบาย (explain) เปรียบเทียบ (compare)
เชื่อมโยง (connect) เลือก (select)
พาดพิง (infer)
116 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ระดับของ
กระบวนการ
ทางปัญญา
ทักษะที่แสดงออก
(ตัวอย่าง)
คำสำคัญที่ใช้ในการสร้างคำถาม
- ใช้ความคิดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
- สรุปกฎจากข้อเท็จจริงที่ให้
- เชื่อมโยงความรู้จากสาขาวิชาต่าง ๆ
- พยากรณ์ ลงสรุป
- เปรียบเทียบแล้วจำแนกระหว่าง
ผลความคิดต่าง ๆ
- ประเมินคุณค่าของทฤษฎี
การนำเสนอ
- เลือกโดยใช้เหตุผลที่โต้แย้งกันแล้ว
พิสูจน์คุณค่าของหลักฐาน
การสังเคราะห์
การประเมินค่า
ผนวก (combine) แต่ง เขียน (write)
บูรณาการ (integrate) สร้างสูตร (formulate)
ต่อรอง (negotiate) แนะนำ (devise)
จัดเรียงใหม่ (rearrange) สรุปเป็นกฎ (generalize)
แทนที่ (substitute) แก้ไขเขียนใหม่ (rewrite)
วางแผน (plan) ออกแบบ (design)
ประดิษฐ์ (invent) สร้างสรรค์ (create)
ประเมิน (assess) วิจารณ์ (criticize)
ตัดสินใจ (decide) ชักจูง (convince)
จัดอันดับ (rank) ปกป้อง (defend)
ให้ระดับ (grade) ตัดสิน (judge)
ทดสอบ (test) อธิบาย (explain)
วัด (measure) แบ่งแยก (discriminate)
สรุป (summarize) เปรียบเทียบ (compare)
Bloom’s Revised Taxonomy
เพื่อตอบสนองความรู้ใหม่ ๆ ที่พัฒนาอย่างมาก ทั้งในเรื่องจิตวิทยา สมองกับการเรียนรู้
ตลอดจนการศึกษาที่อิงมาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษาว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐาน
Anderson และ Krathwohl จึงได้ปรับปรุง Bloom’s Taxonomy และจัดพิมพ์ฉบับปรับปรุง
ในปี ๒๐๐๑ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องคำศัพท์และโครงสร้างของกรอบความคิด ดังนี้
๑. Bloom’s Revised Taxonomy ได้เพิ่มมิติความรู้อีกมิติหนึ่ง นอกเหนือจาก
กระบวนการทางปัญญา ๖ ระดับ ประกอบด้วยความรู้ ๔ ประเภท ได้แก่ ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง
ความรู้ที่เป็นความคิดรวบยอด ความรู้ที่เป็นกระบวนการ และความรู้ที่เป็นการรู้คิดในตนหรือ
อภิปัญญา ซึ่งจัดทำเป็นตารางมิติสัมพันธ์ ๒ ด้าน ดังนี้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน117
มิติความรู้
(The Knowledge
Dimension)
มิติกระบวนการทางปัญญา (The Cognitive Process Dimension)
จำ เข้าใจ ใช้ วิเคราะห์ ประเมินค่า สร้างสรรค์
(Remember) (Understand) (Apply) (Analyze) (Evaluate) (Create)
ก. ความรู้ที่เป็น
ข้อเท็จจริง
ข. ความรู้ที่เป็น
ความคิด
รวบยอด
ค. ความรู้ที่เป็น
กระบวนการ
ง. ความรู้ที่เป็น
การรู้คิดในตน
หรืออภิปัญญา
๒. กระบวนการทางปัญญา มี ๖ ระดับเช่นเดิม แต่มีการสลับลำดับขั้นการสังเคราะห์
และ การประเมินค่า มาเป็นประเมินค่าและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ได้เปลี่ยนจากการใช้คำนาม
มาเป็นคำกริยาในการระบุกระบวนการทางปัญญา ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาที่อิงมาตรฐาน
ซึ่งระบุว่าผู้เรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ ดังนี้
Bloom’s Taxonomy Bloom’s Revised Taxonomy
ความรู้ (Knowledge) จำ (Remember)
ความเข้าใจ (Comprehension) เข้าใจ (Understand)
การนำไปใช้ (Application) ใช้ (Apply)
การวิเคราะห์ (Analysis) วิเคราะห์ (Analyze)
การสังเคราะห์ (Synthesis) ประเมินค่า (Evaluate)
การประเมินค่า (Evaluation) สร้างสรรค์ (Create)
118 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๓. Bloom’s Taxonomy แสดงการพัฒนาตามลำดับขั้นจากพื้นฐานถึงระดับสูง เช่น
เมื่อใช้ความเข้าใจ หมายความว่าจะต้องผ่านขั้นความรู้มาแล้ว หรือหากจะประเมินค่าได้ต้องผ่าน
๕ ลำดับขั้นต้น ๆ มาก่อน จึงมีข้อวิพากษ์ไม่เห็นด้วยกับการเรียนรู้ที่ต้องเป็นลำดับอย่างเข้มงวดเช่นนี้
เพราะกระบวนการทางปัญญาบางอย่างเหลื่อมซ้อนกัน เช่น เข้าใจ และใช้ ที่บอกว่าต้องพัฒนาตาม
ลำดับจึงไม่จริงเสมอไป แต่เห็นด้วยว่าการพัฒนากระบวนการทางปัญญาหรือการคิดเป็นการเพิ่ม
ระดับความซับซ้อนยิ่งขึ้น
๔. ใช้ตารางมิติสัมพันธ์ ๒ ด้าน ในการออกแบบจัดการเรียนรู้และการประเมินผล
ให้สอดคล้องกัน นั่นคือทั้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสิ่งที่จะประเมินจะลงอยู่ในช่องเดียวกันในตาราง
มิติสัมพันธ์นี้ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนสามารถจำรูปทรงเรขาคณิตได้ ๕ รูปทรง จุดประสงค์นี้
มิติกระบวนการทางปัญญาจะลงในช่องจำ และมิติความรู้จะเป็นข้อเท็จจริง วิธีการประเมินอาจ
เป็นการสอบ โดยให้บอกชื่อและบรรยายรูปทรงเรขาคณิต ๕ รูปทรง เป็นต้น
ความหมายของมิติความรู้และมิติกระบวนการทางปัญญาโดยสังเขป
มิติความรู้
Anderson และ Krathwohl ได้ยกขั้นความรู้ (Knowledge) ของ Bloom มาเป็นมิติความรู้
อีก ๑ มิติ เพิ่มจากของเดิม ความรู้ ๔ ประเภทนี้ จำแนกเป็น ๑๑ ประเภทย่อย ดังนี้
๑. ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน นิยามศัพท์ หรือรายละเอียดของ
วิชา/สาขา/เนื้อหาที่ศึกษา ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงนี้ แบ่งเป็น ๒ ประเภทย่อย คือ
- ความรู้เกี่ยวกับนิยามศัพท์ (Knowledge of terminology)
- ความรู้ในรายละเอียดและองค์ประกอบ (Knowledge of details and
elements)
๒. ความรู้ที่เป็นความคิดรวบยอด เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีในการจำแนกประเภทแนวคิด
หรือสิ่งของ การจัดกลุ่มแนวคิดหรือสิ่งของ หรือพัฒนาให้เป็นหลักการ รูปแบบ หรือทฤษฎี หรือเป็น
ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือความคิดรวบยอด เช่น จัดประเภทวัตถุในระบบสุริยะ
เป็นดาวนพเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวหาง หรือจัดประเภทความรู้ที่เป็นหลักการ
ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ผลกระทบของแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ที่มีต่อกระแสน้ำในมหาสมุทร
หรือเกี่ยวกับทฤษฎี เช่น ทฤษฎีสัมพันธภาพ ความรู้ที่เป็นความคิดรวบยอด แบ่งเป็น ๓ ประเภทย่อย คือ
- การจำแนกประเภทและจัดเข้ากลุ่ม (Classifications and Categories)
- หลักการและการสรุปเป็นกฎ (Principle and Generalizations)
- ทฤษฎี รูปแบบ และโครงสร้าง (Theories, Models and Structures)
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน119
๓. ความรู้ที่เป็นวิธีการ/กระบวนการ เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการปฏิบัติ
กิจกรรม วิธีการทำ ทักษะเฉพาะต่าง ๆ เช่น ความรู้ในวิธีการเขียนรายงาน ความรู้ในด้านนี้แบ่งเป็น
๓ ประเภทย่อย คือ
- ทักษะเฉพาะของวิชา (Subject specific skills)
- วิธีการเฉพาะของวิชา (Subject specific techniques)
- ความรู้ว่าจะใช้กระบวนการ/วิธีการที่เหมาะสมเมื่อใด (Knowledge of when to
use appropriate procedures)
๔. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดในตน (อภิปัญญา) เป็นความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดและ
กระบวนการคิดของตนเอง ความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีการจำ ยุทธวิธีการแสวงหาความรู้ และความรู้
เกี่ยวกับการสำรวจตนเอง ซึ่งจะช่วยในการเรียนรู้ เช่น การตระหนักรู้ในเป้าหมาย ความสามารถ
และความสนใจของตนเอง แบ่งเป็น ๓ ประเภทย่อย คือ
- ความรู้ที่เป็นยุทธวิธี
- การรู้เหมาะรู้ควร
- การรู้จักตนเอง
มิติกระบวนการทางปัญญา
มิติกระบวนการทางปัญญา ประกอบด้วย การคิด ๖ ประเภท ได้แก่ จำ เข้าใจ ใช้
วิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์ โดยที่กระบวนการทางปัญญาจะระบุเป็นคำกริยา เพื่อให้
สะดวกต่อการใช้เขียนจุดประสงค์การเรียนรู้และการประเมิน การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้จะนำ
คำกริยาจากมิติกระบวนการทางปัญญา และคำนามจากด้านความรู้มาเขียนคู่กัน เช่น ใช้/ความรู้
กระบวนการ
คำอธิบายกระบวนการทางปัญญา
กระบวนการทางปัญญาทั้ง ๖ ประเภท ประกอบด้วยการคิดย่อย ๆ ๑๙ ประเภท โดยสรุป ดังนี้
กระบวนการทางปัญญา ความหมาย/ตัวอย่าง
๑. จำ (Remember) การผลิตสารสนเทศที่ถูกต้องจากการจำ กระบวนการคิดนี้เกี่ยวข้องกับการเรียกใช้ความรู้
จากความจำระยะยาว แบ่งเป็น ๒ ด้าน คือ
ระบุได้ (Recognizing)
การจำ/หวนคิดได้
(Recalling)
- เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการระบุการกระทำหรือเหตุการณ์ โดยมีตัวเร้า
ภายนอกช่วย เช่น ให้ผู้เรียนบอกคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยมีรายการคำ
มาให้จำนวนหนึ่ง
- เป็นขั้นที่สูงกว่า recognizing กล่าวคือ ไม่มีตัวเร้าภายนอกช่วยในการเรียก
ความจำ เช่น ให้ผู้เรียนบอกชื่อนายกรัฐมนตรี ภาระงานเช่นนี้เป็นภาระงานจำ
(recall task) อย่างแท้จริง
120 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
กระบวนการทางปัญญา ความหมาย/ตัวอย่าง
๒. เข้าใจ (Understand) เป็นกระบวนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรู้ความหมาย โดยใช้กิจกรรมการสอน
หลากหลาย ประเภทของเข้าใจประกอบด้วยกระบวนการคิดย่อย ๗ ประเภท ได้แก่
การตีความ (Interpreting)
การยกตัวอย่าง (Exemplifying)
การจำแนกประเภท
(Classifying)
การสรุป (Summarizing)
การอนุมาน (Inferring)
การเปรียบเทียบ (Comparing)
การอธิบาย (Explaining)
- การจัดประเภท การแปลความหมาย การทำให้เกิดความกระจ่างชัด
- แสดงตัวอย่างประกอบ เช่น วาดรูปประกอบ ระบุรายการสิ่งของประกอบ
- การจัดกลุ่มความสัมพันธ์ เช่น บอกจำนวนเลขคี่ เลขคู่
- การจับใจความสำคัญจากสิ่งที่อ่านหรือฟัง
- การลงสรุปจากสิ่งที่อ่าน การค้นหาความหมายจากบริบทในสิ่งที่อ่าน
- การอธิบายรายละเอียด เช่น อธิบายว่าการทำงานของหัวใจเหมือนปั๊มน้ำ
อย่างไร หรือนำเสนอด้วยตารางเปรียบเทียบวรรณกรรม ๒ เรื่องว่าเหมือนหรือ
ต่างกันอย่างไร
- การระบุผลลัพธ์ นำเสนอข้อคิดเห็นด้วยเหตุผล หรือข้อพิสูจน์ การบอกวิธีการ
ขั้นตอนการปฏิบัติ
๓. ใช้ (Apply) กระบวนการคิดนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ขั้นตอน วิธีการ วิธีการปฏิบัติ กระบวนการเพื่อปฏิบัติภาระงาน
แบ่งเป็นกระบวนการคิดย่อย ๆ ๒ ประเภท คือ
การปฏิบัติ (Executing)
การดำเนินการ
(Implementing)
- ใช้กับภาระงานที่ผู้เรียนคุ้นเคย เช่น ปฏิบัติภาระงานในห้องปฏิบัติการ เคมี
- ใช้กับภาระงานที่ใหม่สำหรับผู้เรียน เช่น ผู้เรียนตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุด
ในการจ่ายค่าบ้านหลังใหม่ ในการดำเนินการ ผู้เรียนต้องเลือกจากทางเลือก
ที่หลากหลาย ซึ่งไม่มีคำตอบทันที หรือคำตอบที่ชัดแจ้ง หรือถูก-ผิด ชัดเจน
๔. วิเคราะห์ (Analyze) กระบวนการคิดนี้เป็นทั้งการแยกประเด็นปัญหาหรือโครงสร้างให้เป็นองค์ประกอบย่อย
และการได้ข้อสรุปว่าส่วนย่อยต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกันได้อย่างไร ได้ข้อสรุปว่าโครงสร้างทั้งหมดได้มาอย่างไร
กระบวนการคิดนี้ประกอบด้วยกระบวนการคิดย่อย ๆ ๓ ประเภท คือ
การบอกความแตกต่าง
(Differentiating)
การสร้าง จัดระบบ จัดตั้ง
รวบรวม (Organizing)
การวิเคราะห์สาเหตุ
(Attributing)
- เป็นการวินิจฉัยส่วนต่าง ๆ ที่อยู่แยก ๆ กัน ให้เห็นความแตกต่างอย่างเด่นชัด
เช่น การแยกระหว่างตัวละครเอกและตัวละครรองในการเล่นละคร
- เป็นการตัดสินใจว่าส่วนย่อยต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นทั้งหมดได้อย่างไร
- เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุ หรือค้นหาเจตนารมณ์แฝงในการสื่อสาร
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน121
กระบวนการทางปัญญา ความหมาย/ตัวอย่าง
๕. ประเมินค่า (Evaluate) กระบวนการคิดนี้เป็นการให้ผู้เรียนตัดสิน โดยพิจารณาจากมาตรฐานหรือเกณฑ์
ที่กำหนด กระบวนการคิดนี้ประกอบไปด้วยกระบวนการคิดย่อย ๆ ๒ ประเภท คือ
การตรวจสอบ (Checking)
การวิพากษ์วิจารณ์ (Critiquing)
- เป็นการให้ผู้เรียนตรวจค้น สืบหาสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ (Detect) ข้อสรุป
ที่ไม่สอดคล้องหรือไม่เป็นผลจากชุดข้อมูล เช่น ให้ตรวจสอบข้อสรุปเกี่ยวกับ
โลกร้อน เพื่อหาว่าเป็นการสรุปตามข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่
- เกี่ยวข้องกับการพิจารณาตัดสิน (Judging) ผลงานหรือกระบวนการ โดยยึด
เกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หรือการจัดทำรายการคุณสมบัติทั้งเชิงบวกและลบ
๖. สร้างสรรค์ (Create) กระบวนการคิดนี้เป็นการพัฒนาผลงาน หรือความคิดที่เป็นเอกลักษณ์ (Unique)
ตลอดจนสังเคราะห์ข้อมูลที่มีปรากฏอยู่แล้ว Anderson และ Krathwohl ได้ให้ข้อสังเกตว่า “นักการศึกษา
ต้องระบุว่าอะไรคืองานต้นฉบับ (Original) และอะไรคืองานเอกลักษณ์ (Unique) ... และสิ่งสำคัญที่ต้องทราบ
คือ จุดประสงค์หลายอย่างในขั้นสร้างสรรค์ ไม่มีทั้งความเป็นต้นฉบับหรือความเป็นเอกลักษณ์” ดังนั้น
เกณฑ์ของกระบวนการคิดสร้างสรรค์จึงมีตั้งแต่การนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประดิษฐ์ใหม่ (Devising) จนถึงผลงาน
ที่สร้างสรรค์ใหม่จริง ๆ กระบวนการคิดนี้แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
การระดมสมอง/สร้าง
(Generation)
การวางแผน (Planning)
การผลิต (Producing)
- เป็นการให้ได้แนวทางที่หลากหลายในการแก้ปัญหา
- เป็นการพัฒนาแผนปฏิบัติการ เพื่อดำเนินงานให้ได้แนวทางที่หลากหลาย
ในการแก้ไขปัญหา
- เป็นการทำแผนให้สำเร็จ โดยได้ข้อยุติสุดท้ายของแนวทางแก้ไขปัญหา
122 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
The Six Facets of Understanding
ในหนังสือ Understanding by Design ยกตัวอย่างเสียงสะท้อนจากครูคนหนึ่งว่า
“ผู้เรียนเก่ง (เพราะมีคะแนนสูง) ใช่ว่าจะได้แสดงความเข้าใจอย่างแท้จริงในสิ่งที่เรียน เพราะการ
วัดผลใช้การทดสอบที่วัดความจำจากหนังสือเรียนเสียเป็นส่วนมากกับการรายงานในชั้นเรียน”
การวัดผลมักถูกกล่าวหาว่าวัดแต่ข้อเท็จจริง ความรู้และทักษะจากหนังสือ ทำให้วัดได้เพียง
ทักษะการคิดพื้นฐานขั้นจำและเข้าใจ (comprehension) เป็นส่วนใหญ่ แต่ความเข้าใจที่แท้จริง
(real understanding) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรู้ชัดแจ้ง และความสามารถที่จะสะท้อนออกมา
จากการปฏิบัติ การประเมินความเข้าใจจึงต้องดูจากหลักฐานที่ไม่ใช่การทดสอบอย่างเดียว Wiggins
และ McTighe ซึ่งนำเสนอกรอบความคิดการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ ได้ให้ความ
สำคัญกับงานรวบยอดของหน่วยการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนทำ ว่าต้องเป็นงานที่ผู้เรียนนำความรู้ ทักษะ
ที่เรียนมาใช้ในสถานการณ์ใหม่ การที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในฉับพลัน
และจากการบอกของครู แต่ต้องเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตน ฉะนั้น
ตลอดช่วงของการพัฒนาในแต่ละหน่วย ต้องให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงการแสวงหาความรู้และ
คิดทบทวนปรับปรุง ครูผู้สอนเก็บหลักฐานที่บ่งบอกว่าเกิดการเรียนรู้แล้วหรือไม่ ในระดับใด
อย่างต่อเนื่อง ด้วยการประเมินหลาย ๆ วิธี หลาย ๆ ครั้ง ทั้งอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการ
Wiggins และ McTighe ให้ข้อเสนอแนะว่า ในการวางแผนเก็บหลักฐานที่แสดงร่องรอยความเข้าใจนั้น
ครูควรใช้วิธีการประเมินหลายวิธีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ ระดับ
ความซับซ้อนของการประเมิน กรอบเวลา บริบท และโครงสร้างแตกต่างกัน ดังนี้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน123
: เป็นการเผชิญประเด็นและปัญหาที่เหมือนการทำงานของผู้ใหญ่
เป็นสภาพจริง เป็นได้ทั้งเรื่องที่ใช้เวลาสั้น ๆ หรือยาว หรือเป็น
โครงการที่มีหลายขั้นตอน กำหนดให้ผู้เรียนผลิตหรือปฏิบัติ
ใช้บริบทจริงหรือจำลอง ผู้เรียนรับทราบลักษณะงาน เกณฑ์ที่ใช้
ในการประเมินล่วงหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังใช้เป็นแนวทางในการทำงาน
ของผู้เรียนด้วยการปฏิบัติ/โครงงาน
: เป็นคำถามปลายเปิด หรือปัญหาที่กำหนดให้ผู้เรียนคิดอย่างมี
วิจารณญาณ แล้วจึงเตรียมหาคำตอบ ผลิตหรือปฏิบัติ บริบทเป็น
ภายในโรงเรียนหรือสภาวะของการสอบ เป็นแบบเปิด
คือไม่มีคำตอบเดียวที่ดีที่สุด หรือวิธีเดียวสำหรับการตอบหรือ
แก้ปัญหา ไม่กำหนดวิธีการมาให้ ผู้เรียนต้องพัฒนาหาวิธีการ ต้องใช้
การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า มักกำหนดให้อธิบาย
หรือให้เหตุผล แสดงจุดยืนในคำตอบหรือวิธีการที่เลือกใช้ การให้
คะแนนพิจารณาจากเกณฑ์หรือมาตรฐานผลการปฏิบัติ
: ข้อคำถามเน้นการวัดเนื้อหา ข้อเท็จจริง concept และทักษะ
ย่อย รูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ หรือแบบตอบสั้น
ซึ่งมักจะมีคำตอบถูกคำตอบเดียว หรือคำตอบดีที่สุด
: ดำเนินการเป็นปกติ ต่อเนื่องในระหว่างการเรียนการสอน
ภาระงานที่เป็นชิ้น
งาน/โครงการ
(Performance
task/project)
ประเด็นวิชาการ
(Academic
prompt)
ข้อสอบ
(Quiz/test)
การสังเกต/พูดคุย
(Observation/
dialogue)
การตรวจสอบ
ความเข้าใจอย่าง
ไม่เป็นทางการ
(Informal checks
for understanding)
124 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Wiggins และ McTighe กล่าวว่าเมื่อเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง เราจะสามารถอธิบายได้
ตีความได้ ใช้ความรู้ได้ ประเมินมุมมองได้ สามารถเข้าใจผู้อื่น และเข้าใจรู้จักตัวเอง สำนักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษาได้รวบรวมความหมายของความเข้าใจแต่ละมิติ คำสำคัญที่บ่งบอก
การปฏิบัติในแต่ละมิติ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินจากหนังสือ Understanding by Design
ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงความหมายและตัวอย่างการปฏิบัติของมิติความเข้าใจ
มิติ
ความเข้าใจ
ความหมายและตัวอย่างการปฏิบัติ
คำสำคัญ
(ที่ใช้ในการตั้ง
คำถาม)
เกณฑ์
การประเมิน
อธิบาย
ผู้เรียนที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงจะสามารถอธิบายได้
ซึ่งคำอธิบายนั้นมีข้อมูลสนับสนุน มีน้ำหนัก มีความชัดเจน
ผู้เรียนมีการแสดงออกโดย
- ให้เหตุผลที่ซับซ้อน โดยมีทฤษฎีและหลักการสนับสนุน
คำอธิบายที่ชัดแจ้งและเชื่อถือได้ สามารถฉายภาพ เหตุการณ์
ข้อเท็จจริง สิ่งที่อ่าน หรือความคิด มีรูปแบบการคิดที่เป็น
ระบบ ช่วยให้เห็นภาพ วิธีคิดชัดเจน
- ป้องกันหรือแก้ไขความเข้าใจผิด ความคิดเห็นที่ยังไม่ได้
วิเคราะห์ ทฤษฎี หรือคำอธิบาย ที่ไม่ถูกต้อง
- บอกกล่าวความเข้าใจในวิชานั้นด้วยภาษาของตนเอง
โดยผ่านการไตร่ตรองและมีความสมเหตุสมผลได้
สาธิต บรรยาย
สอน ออกแบบ
แนะ ปรับ
ทำนาย พยากรณ์
พิสูจน์ แสดง
สังเคราะห์
แสดงรูปแบบ
จัดนิทรรศการ
ถ่ายทอด
ความรู้สึก
ถูกต้อง
สมเหตุสมผล
เป็นระบบ
คาดคะเนได้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน125
มิติ
ความเข้าใจ
ความหมายและตัวอย่างการปฏิบัติ
คำสำคัญ
(ที่ใช้ในการตั้ง
คำถาม)
เกณฑ์
การประเมิน
ตีความ
ใช้
เห็นอก
เห็นใจผู้อื่น
ผู้เรียนที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงจะสามารถตีความได้
สิ่งที่ตีความ แปลความ หรือบรรยายความนั้นมีน้ำหนัก
มีความหมาย ผู้เรียนมีการแสดงออกโดย
- ตีความหมายที่แฝงอยู่ หรือสิ่งที่อยู่ระหว่างบรรทัดในสิ่งที่อ่าน
ในภาษา หรือสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถเสนอนัยที่เป็นไปได้ใน “สาร” นั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นได้
ทั้งหนังสือ สถานการณ์ หรือพฤติกรรมของมนุษย์
- เสนอภาพของสถานการณ์ ความคิด เหตุการณ์ หรือบุคคล
ที่มีความซับซ้อนได้ชัดเจน ทำให้เข้าถึงความคิดได้ง่ายขึ้น
และตรงประเด็นขึ้น
ผู้เรียนที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงจะสามารถใช้ความรู้
และมีความรู้ในวิธีการ (know-how) ซึ่งผู้เรียนมีการ
แสดงออกโดย
- ใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทต่าง ๆ ที่เป็นสภาพจริง
- ใช้ความรู้ประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ
- ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ขณะปฏิบัติ
ผู้เรียนที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงจะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้
เข้าถึงความรู้สึกและทัศนะของผู้อื่น ซึ่งผู้เรียนมีการ
แสดงออกโดย
- เห็นคุณค่าในสิ่งที่ผู้อื่นอาจมองว่าแปลกประหลาด ไม่น่า
เป็นไปได้ โดยนำตัวเองไปสัมผัสความรู้สึก ความชื่นชม
ในสถานการณ์ของผู้อื่นที่ส่งผลต่อทัศนคตินั้น
- รับรู้ความรู้สึกได้ไว โดยอาศัยประสบการณ์ที่พบมาก่อน
- สามารถระบุ บอกความรู้สึกและทัศนะของผู้อื่น
สร้างคำอุปมา
อุปมัย วิพากษ์
จัดทำเป็นเอกสาร
ประเมินค่า
บรรยายภาพ
ตัดสิน
เปรียบเปรย
บอกเล่า
เหตุการณ์
แปล ทำให้เข้าใจ
บอกนัย
ปรับ สร้าง
ทดสอบ ตัดสิน
ออกแบบ
แสดงนิทรรศการ
ประดิษฐ์ ปฏิบัติ
ผลิต นำเสนอ
แก้ปัญหา
เปิดเผย เชื่อ
พิจารณา
จินตนาการ
เชื่อมโยง
บทบาทสมมุติ
สมมติว่า
เป็น..................
มีความหมาย
ชัดแจ้ง
เห็นภาพ
ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล
คล่อง
ปรับตัวได้
สง่างาม
ไวต่อการรับรู้
เปิดเผย
รับรู้
มองไกล
126 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
มิติ
ความเข้าใจ
ความหมายและตัวอย่างการปฏิบัติ
คำสำคัญ
(ที่ใช้ในการตั้ง
ข้อคำถาม)
เกณฑ์
การประเมิน
รู้จักตัวเอง
ผู้เรียนที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงจะรู้จักตัวเอง
ซึ่งผู้เรียนมีการแสดงออกโดย
- รู้จุดเด่น จุดด้อยของตัวเอง
- มองเห็นว่าบุคลิกและอุปนิสัยแบบใดบ้างที่สนับสนุน
และเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจของบุคคลนั้น ๆ เอง
- รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ และทำไมการทำความเข้าใจ
สิ่งนั้นจึงเป็นเรื่องยาก
- มีความรู้ความเข้าใจว่า แบบแผนความคิดและการกระทำ
ทำให้เกิดความเข้าใจและความเป็นตนเอง
รู้คิด สะท้อน
ประเมินตนเอง
รู้ตนเอง
อภิปัญญา
ปรับตัว
สะท้อน
ข้อมูลกลับ
เฉลียวฉลาด
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน127
ใบความรู้ที่ ๒.๓
เกณฑ์การประเมิน (Rubric)
เกณฑ์การประเมิน (Rubric) คืออะไร
เกณฑ์การประเมิน (Rubric) คือ แนวการให้คะแนนเพื่อประเมินผลงานหรือการปฏิบัติงาน
ของผู้เรียน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า Rubric เป็นเครื่องมือให้คะแนนชนิดหนึ่ง ใช้ในการประเมิน
การปฏิบัติงานหรือผลงานของผู้เรียน
องค์ประกอบของเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
เกณฑ์การประเมิน (Rubric) ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ประเมิน
การปฏิบัติหรือผลผลิตของผู้เรียน และระดับคุณภาพหรือระดับคะแนน เกณฑ์จะบอกผู้สอนหรือ
ผู้ประเมินว่าการปฏิบัติงานหรือผลงานนั้น ๆ จะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง ระดับคุณภาพหรือระดับ
คะแนนจะบอกว่าการปฏิบัติหรือผลงานที่สมควรจะได้ระดับคุณภาพหรือระดับคะแนนนั้น ๆ ของ
เกณฑ์แต่ละตัว มีลักษณะอย่างไร เกณฑ์การประเมิน (Rubric) จึงเป็นเหมือนการกำหนดลักษณะ
เฉพาะของการปฏิบัติหรือผลงานนั้น ๆ ในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ หรือทั้ง ๒ ประการรวมกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการประเมิน
ชนิดของเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
เกณฑ์การประเมิน (Rubric) มี ๒ ชนิด คือ เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (Holistic
Rubric) และเกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric)
เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม (Holistic Rubric) ครูจะให้คะแนนโดยดูภาพรวม
ของกระบวนการหรือผลงาน ไม่แยกพิจารณาเป็นส่วน ๆ เกณฑ์การประเมิน (Rubric) แบบนี้จะใช้
เมื่อต้องการดูภาพโดยรวมมากกว่าจะดูข้อบกพร่องส่วนย่อย ๆ เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม
จะเหมาะกับการปฏิบัติที่ต้องการให้ผู้เรียนสร้างสรรค์และไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน
เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) ใช้เมื่อต้องการเน้นการตอบสนอง
ที่มีลักษณะเฉพาะ และไม่ได้เน้นความคิดสร้างสรรค์ ใช้เป็นตัวแทนของการประเมินหลายมิติ การใช้
เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วนจึงได้ผลสะท้อนกลับค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียน
และผู้สอนมาก ผู้สอนที่ใช้เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วนจึงสามารถสร้างเส้นภาพ (Profile)
จุดเด่น-จุดด้อยของผู้เรียนแต่ละคนได้
128 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ประโยชน์ของเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
๑. เกณฑ์การประเมิน เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาก ทั้งในการเรียนการสอนและ
การประเมิน ช่วยปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติหรือการแสดงออกของผู้เรียน ในขณะเดียวกันก็ช่วย
ควบคุมการปฏิบัตินั้น ๆ ด้วย
๒. เกณฑ์การประเมิน ช่วยให้ผู้เรียนตัดสินคุณภาพผลงานของตนเองและของคนอื่น
อย่างมีเหตุผล
๓. เกณฑ์การประเมิน ช่วยลดเวลาผู้สอนในการประเมินงานของผู้เรียน
๔. เกณฑ์การประเมิน สามารถยืดหยุ่นตามสภาพของผู้เรียน
๕. เกณฑ์การประเมิน ใช้ง่ายและอธิบายได้ง่าย
ขั้นตอนการออกแบบเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
ขั้นที่ ๑ วิเคราะห์และระบุตัวชี้วัดที่ใช้เกณฑ์การประเมินเป็นเครื่องมือในการวัดและ
ประเมินผล
ขั้นที่ ๒ อธิบายคุณลักษณะ ทักษะ หรือพฤติกรรมที่ผู้สอนต้องการเห็น รวมทั้งข้อผิดพลาด
ทั่ว ๆ ไปที่ไม่ต้องการให้เกิด
ขั้นที่ ๓ อธิบายลักษณะการปฏิบัติที่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย ระดับค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าระดับ
ค่าเฉลี่ย สำหรับแต่ละคุณลักษณะที่สังเกตจากขั้นที่ ๒
ขั้นที่ ๔ สำหรับเกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม เขียนคำบรรยายลักษณะงานที่ดีและ
งานที่ไม่ดี โดยรวมทุกเกณฑ์หรือทุกคุณลักษณะเข้าด้วยกันเป็นข้อความเดียว สำหรับเกณฑ์การประเมิน
แบบแยกส่วน เขียนคำบรรยายลักษณะงานที่ดีและงานที่ไม่ดี โดยแยกแต่ละเกณฑ์หรือแต่ละ
คุณลักษณะ
ขั้นที่ ๕ สำหรับเกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม เขียนรายละเอียดการปฏิบัติที่อยู่ระหว่าง
กลางของระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย ระดับค่าเฉลี่ย และระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เพื่อให้เกณฑ์การประเมิน
สมบูรณ์ สำหรับเกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน เขียนรายละเอียดสำหรับการปฏิบัติที่อยู่ระหว่าง
กลางของทุกเกณฑ์หรือทุกคุณลักษณะ
ขั้นที่ ๖ รวบรวมตัวอย่างผลงานของผู้เรียนซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละระดับ ซึ่งจะช่วยการให้
คะแนนในอนาคตของครู
ขั้นที่ ๗ ทบทวนเกณฑ์การประเมินที่ทำแล้ว
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน129
ตัวอย่าง Rubric
130 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เรื่อง การพูดชักชวน
ตัวชี้วัด ม.๒/๔ พูดในโอกาสต่าง ๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ภาระงาน ให้ผู้เรียนพูดชักชวนให้เพื่อน ๆ เข้าร่วมนิทรรศการวิชาการของโรงเรียน
คะแนน
ประเด็น
ระดับดีมาก ระดับดี ระดับพอใช้ ระดับปรับปรุง
(๔ คะแนน) (๓ คะแนน) (๒ คะแนน) (๑ คะแนน)
การเกริ่นนำและ
การสรุป
เนื้อหา
จังหวะการพูด
ภาษาท่าทาง
(ภาษากาย)
การประสาน
สายตา
พูดเปิดประเด็น
ได้น่าสนใจ
และสรุปประเด็น
ได้ชัดเจนครอบคลุม
เนื้อหาสาระครบถ้วน
มีรายละเอียดชัดเจน
กระชับ ตรงตาม
วัตถุประสงค์
การพูดถูกต้อง
ตามรูปแบบและรู้จัก
การแบ่งช่วงเวลา
การเคลื่อนไหว
เป็นไปอย่าง
ลื่นไหลและ
ช่วยให้ผู้ฟัง
มองเห็นภาพ
ตรึงความสนใจ
ของผู้ฟังด้วยการ
สบตาผู้ฟัง
พูดเปิดประเด็น
ได้น่าสนใจ
แต่สรุปประเด็น
ไม่ชัดเจน
เนื้อหาสาระครบถ้วน
มีรายละเอียด
ตรงตามวัตถุประสงค์
แต่ไม่กระชับ
การพูดถูกต้อง
ตามรูปแบบ
แต่แบ่งช่วงเวลา
ไม่ดี
การเคลื่อนไหว
หรือกิริยาที่แสดง
ช่วยเพิ่มความชัดเจน
สบตาผู้ฟัง
ตลอดเวลา
พูดเปิดประเด็น
ไม่น่าสนใจ
และสรุปประเด็น
ไม่ชัดเจน
เนื้อหาสาระครบถ้วน
แต่ให้รายละเอียด
ไม่ครบถ้วน
การพูดเกิดขึ้น
อย่างฉับพลันและ
แบ่งช่วงเวลาไม่ดี
มีการเคลื่อนไหว
น้อยมาก
สบตาผู้ฟังบ้าง
ไม่มีการเปิดประเด็น
หรือไม่มีการสรุป
ประเด็น
เนื้อหาสาระและ
รายละเอียด
ไม่ครบถ้วน
การพูดไม่เร็วไป
ก็ช้าไป แบ่งช่วง
เวลาไม่ดี
ไม่มีการเคลื่อนไหว
ไม่มีการสบตาผู้ฟัง
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน131
คะแนน
ประเด็น
ระดับดีมาก ระดับดี ระดับพอใช้ ระดับปรับปรุง
(๔ คะแนน) (๓ คะแนน) (๒ คะแนน) (๑ คะแนน)
ความมั่นใจ
น้ำเสียง
มีท่าทางผ่อนคลาย
มีความเชื่อมั่น
เป็นตัวของตัวเอง
ไม่มีข้อผิดพลาด
พูดอย่างลื่นไหล
มีการเปลี่ยนแปลง
ระดับเสียงทำให้ผู้ฟัง
สนใจ
มีข้อผิดพลาดน้อย
แต่ก็แก้ไขได้รวดเร็ว
มีความตึงเครียดน้อย
หรือไม่มีเลย
การเปลี่ยนแปลง
ระดับเสียงให้ผล
น่าพอใจ แต่การพูด
บางช่วงไม่ลื่นไหล
มีความตึงเครียด
ปานกลาง
มีปัญหาในการ
แก้ข้อผิดพลาด
มีการเปลี่ยนแปลง
ระดับเสียงตลอดเวลา
มีความตึงเครียด
และวิตกกังวล
มีปัญหาในการ
แก้ข้อผิดพลาด
ใช้น้ำเสียง
ระดับเดียว
ตลอดการพูด
เกณฑ์การตัดสิน
คะแนนรวม ๗-๑๓ ระดับคุณภาพ ปรับปรุง
๑๔-๑๘ ระดับคุณภาพ พอใช้
๑๙-๒๓ ระดับคุณภาพ ดี
๒๔-๒๘ ระดับคุณภาพ ดีมาก
132 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวอย่าง
เกณฑ์การให้คะแนนการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (LAS) ของสำนักทดสอบทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๕๓)
คะแนน
ประเด็น
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
จุดเน้นของเรื่อง
ที่นำเสนอ
- กำหนด
จุดมุ่งหมาย
ในบทนำ
ด้วยวิธีการ
ที่เหมาะสม
เช่น การใช้
เกร็ดความรู้
อ้างคำพูดของ
คนอื่น
- เขียนเรื่องได้
สอดคล้องกับ
ประเด็นที่โจทย์
กำหนด
ตลอดเรื่อง
- ย่อหน้าสุดท้าย
เสนอภาพสรุป
รวมที่สำคัญ
ของเรื่อง
- เขียนประเด็น
ที่ต้องการ
นำเสนอ
ได้ชัดเจน
- เขียนภาพรวม
ของเรื่องครบ
ตามประเด็น
ที่นำเสนอ
ในบทนำ
- นำเสนอ
ประโยคที่เป็น
ใจความสำคัญ
ของเรื่องใน
บทนำของเรื่อง
- เขียนเรื่อง
ส่วนใหญ่ได้
สอดคล้องกับ
ประเด็นที่โจทย์
กำหนด
- ย่อหน้าสุดท้าย
สอดคล้องกับ
บทนำและ
เนื้อเรื่อง
- นำเสนอภาพ
รวมของเรื่องเกิน
หรือน้อยกว่า
ประเด็นที่
นำเสนอในบทนำ
- มีการระบุ
ประเด็นสำคัญ
ของเรื่องไว้
ในบทนำ
- เขียนเรื่องซ้ำไป
ซ้ำมา และไม่จบ
สมบูรณ์
- เขียนเรื่องเป็น
ไปตามโจทย์
ที่กำหนด
แต่มีการเขียน
ออกนอก
ประเด็นเป็น
บางจุด
- จบการเขียน
เรื่องด้วยประโยค
สั้น ๆ
- เขียนเรื่อง
สอดคล้องกับ
บางส่วนของ
ประเด็นที่
กำหนด
- เขียนเรื่องราว
ซ้ำไปซ้ำมา
- ลักษณะ
การเขียนไม่ใช่
การเชิญชวน
- ไม่มีข้อความ
ที่แสดงการ
จบเรื่อง
- ประเด็นที่นำ
เสนอไม่ชัดเจน
- เรื่องที่เขียน
เป็นการเล่า
เรื่องไปเรื่อย ๆ
ไม่แสดง
จุดเน้นของเรื่อง
- เรื่องที่เขียนไม่
เป็นไปตามโจทย์
ที่กำหนด
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน133
คะแนน
ประเด็น
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
รายละเอียด
เนื้อหาสาระ
ที่นำเสนอ
- การเขียน
รายละเอียดเพื่อ
ขยายความ
ทุกประเด็น
ของเรื่องด้วย
ข้อมูลที่ถูกต้อง
และมีความ
สมดุล
- มีการใช้คำหรือ
วลีที่น่าสนใจใน
การเขียนขยาย
ความประเด็น
สำคัญของเรื่อง
- สำนวนการ
เขียนมีความ
เหมาะสมกับ
ชื่อเรื่อง
จุดมุ่งหมาย
และผู้อ่าน
- มีการเขียน
รายละเอียด
เพื่อขยายความ
ประเด็น
ส่วนใหญ่ของ
เรื่องด้วยข้อมูล
ที่สอดคล้องกัน
- ปริมาณข้อมูล
ที่ใช้ขยายแต่ละ
ประเด็น
ไม่สมดุลกัน
- มีการใช้คำหรือ
วลีที่ดึงดูด
ความสนใจผู้อ่าน
- สำนวนการ
เขียนน่าสนใจ
แต่ขาดความ
คงเส้นคงวา
- มีการเขียน
รายละเอียด
เพื่อขยาย
ใจความสำคัญ
และรายละเอียด
มีใจความ
สมบูรณ์
- รายละเอียด
ที่นำมาขยาย
ใจความสำคัญ
ยังขาดความ
ลึกซึ้ง
- ใช้คำง่าย ๆ
หรือซ้ำ ๆ
- สำนวน
การเขียนไม่
เหมาะสมกับ
เรื่องและผู้อ่าน
- มีการเขียน
รายละเอียด
เพื่อขยาย
ใจความสำคัญ
บางประเด็นและ
มีรายละเอียด
น้อยหรือมี
ใจความไม่
สมบูรณ์
- เขียนราย
ละเอียดทั่ว ๆ ไป
ไม่ตรงประเด็น
ที่กำหนด
หรือเขียนซ้ำไป
ซ้ำมา
- เขียนข้อความ
เป็นประเด็น ๆ
โดยไม่มี
รายละเอียด
ขยาย
- มีการเขียน
รายละเอียด
ในบางประเด็น
แต่มีความสับสน
วกวน
- เนื้อหาสาระ
ที่เขียนต่ำกว่า
หนึ่งหน้ากระดาษ
134 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
คะแนน
ประเด็น
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
การจัดองค์
ประกอบของ
เรื่องที่นำเสนอ
- การเรียบเรียง
สาระที่นำเสนอ
เหมาะสม และ
ประเด็นที่
นำเสนอมีความ
สมเหตุสมผล
- เรื่องที่เขียน
นำเสนอบทนำ
เนื้อหา และบท
สรุปอย่างชัดเจน
และเสนอความ
คิดเป็นลำดับ
- ข้อความในทุก
ย่อหน้ามีประโยค
ที่เป็นใจความ
สำคัญและมีการ
สรุปในตอนท้าย
ของย่อหน้า
- นำเสนอ
โครงสร้างของ
ประโยคและ
สำนวน
ที่หลากหลาย
- การเรียบเรียง
เรื่องราวในแต่ละ
ย่อหน้ามีการ
ร้อยรัดกันดี
- การจัดเรียง
เนื้อหาสาระ
แต่ละย่อหน้า
มีความเหมาะสม
ทั้งในส่วนของ
บทนำ เนื้อหา
และบทสรุป
- สาระที่นำเสนอ
ส่วนใหญ่มีความ
สมเหตุสมผล
- สาระที่นำเสนอ
ส่วนใหญ่มีความ
เชื่อมโยงระหว่าง
ประเด็น
- ข้อความใน
แต่ละย่อหน้า
ส่วนใหญ่มี
ประโยคที่เป็น
ใจความสำคัญ
- การเรียบเรียง
ประโยคและ
ข้อความในแต่ละ
ย่อหน้ามี
ความเหมาะสม
เข้าใจง่าย
แต่ยังใช้ซ้ำ ๆ กัน
หลายจุด
- การนำเสนอ
เรื่องราวมีการ
แบ่งย่อหน้า
ได้เหมาะสม
แต่โครงสร้างของ
เรื่องยังไม่ปรากฏ
ส่วนนำ เนื้อหา
และส่วนสรุป
อย่างชัดเจน
- การเชื่อมโยง
เรื่องราวในแต่ละ
ย่อหน้า สร้าง
ความสับสนหรือ
เสนอซ้ำ ๆ
- การเรียบเรียง
ประโยคไม่
สอดคล้องกับ
ประโยคที่เป็น
ใจความสำคัญ
- การนำเสนอ
เนื้อหาแบ่ง
ย่อหน้าไม่
เหมาะสม
- การนำเสนอ
เรื่องไม่ลื่นไหล
ประเด็นที่นำ
เสนอในแต่ละตอน
ไม่เชื่อมโยงกัน
- การเรียง
ประโยคยังไม่มี
จุดมุ่งหมาย
ที่แน่นอน
- การเรียบเรียง
เนื้อหาสับสน
หรือไม่ปรากฏ
หลักฐานว่ามีการ
วางแผนก่อน
การเขียนเรื่อง
- การดำเนิน
เรื่องราวไม่
จบอย่างสมบูรณ์
ตามหลัก
การเขียน
เรียงความ
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน135
คะแนน
ประเด็น
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
ความสอดคล้อง
และเชื่อมโยง
ของเรื่อง
- มีการวาง
โครงสร้าง
รูปแบบการเขียน
ชัดเจนและใช้
รูปแบบการเขียน
เรียงความเพื่อ
เชิญชวน
- เรื่องที่เขียน
มีความยาก
เหมาะสมกับ
ระดับชั้นที่เรียน
- งานเขียนมีการ
ระบุรายละเอียด
สำคัญมากและ
สมดุลช่วยให้
ผู้อ่านเข้าใจ
เรื่องราวอย่าง
ชัดเจน
- การเรียบเรียง
ประโยคและ
เรื่องราวมีความ
กลมกลืน
- มีการวาง
โครงสร้าง
รูปแบบการเขียน
ชัดเจนและใช้
รูปแบบการเขียน
เรียงความเพื่อ
เชิญชวน
- เรื่องที่เขียน
มีความยาก
เหมาะสมกับ
ระดับชั้นที่เรียน
- เรื่องที่เขียนใช้
โครงสร้างที่ง่าย
และเหมาะสม
- งานที่เขียน
มีการระบุ
รายละเอียด
ที่ช่วยให้ผู้อ่าน
เข้าใจเรื่องราวได้
- มีการวาง
โครงสร้าง
รูปแบบการเขียน
ชัดเจนและใช้
รูปแบบการเขียน
เรียงความเพื่อ
เชิญชวน
- เรื่องที่เขียน
มีความยาก
เหมาะสมกับ
ระดับชั้นที่เรียน
- ผู้อ่านจำเป็น
ต้องอาศัยการนึก
ภาพเพิ่มเติมเพื่อ
ทำความเข้าใจ
เรื่องที่ผู้เขียน
นำเสนอ
เนื่องจากมี
บางส่วนเขียน
ไม่สมบูรณ์
- งานเขียน
ปรากฏหลักฐาน
การใช้รูปแบบ
การเขียน
เรียงความเพื่อ
เชิญชวน
- เรื่องที่เขียน
ยังมีความสับสน
วกวน
- เขียนเรื่องวกวน
สับสนตลอดเรื่อง
- ความเชื่อมโยง
ของเรื่องขาดเป็น
ตอน ๆ
136 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
คะแนน
ประเด็น
๓ ๒ ๑
หลักภาษา
- ใช้ประโยคที่มีโครงสร้าง
ที่หลากหลาย และไม่มีข้อ
ผิดพลาด หรือมีความผิดบ้าง
ในส่วนที่ไม่สำคัญ
- มีการสะกดผิดประมาณ
๓๐%
- ใช้คำได้เหมาะสมกับ
ความหมาย หน้าที่ และบริบท
ของเรื่อง
- ใช้ประโยคที่มีโครงสร้าง
ที่หลากหลาย และมีข้อ
ผิดพลาดบ้าง แต่ไม่ทำให้ผู้อ่าน
มีความสับสน
- มีการสะกดผิดประมาณ
๖๐%
- ใช้คำส่วนใหญ่ได้เหมาะสม
กับความหมาย หน้าที่ และ
บริบทของเรื่อง
- ใช้ประโยคที่ง่าย ๆ และ
มีข้อผิดพลาดมากทำให้ผู้อ่าน
มีความสับสน
- สะกดคำผิดมากกว่า ๘๐%
- ใช้คำส่วนใหญ่ไม่เหมาะสม
กับความหมาย หน้าที่ และ
บริบทของเรื่อง
เกณฑ์การตัดสินให้คะแนน
๑. ได้คะแนนระหว่าง ๐-๓ คิดเป็น ๑ คะแนน
๒. ได้คะแนนระหว่าง ๔-๘ คิดเป็น ๒ คะแนน
๓. ได้คะแนนระหว่าง ๙-๑๓ คิดเป็น ๓ คะแนน
๔. ได้คะแนนระหว่าง ๑๔-๑๘ คิดเป็น ๔ คะแนน
๕. ได้คะแนนระหว่าง ๑๙-๒๓ คิดเป็น ๕ คะแนน
นิยามคำหรือข้อความที่ใช้ในเกณฑ์การให้คะแนนการเขียน
การเขียนเรียงความเพื่อเชิญชวน (persuasive composition) หมายถึง งานเขียนเพื่อ
แสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งประเด็นที่กำหนด โดยใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงพร้อมเสนอ
ตัวอย่างเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตนเองที่มีต่อประเด็นนั้น ตลอดจนชักชวน เชิญชวนผู้อ่านให้มีความ
คิดเห็นคล้อยตามตนเอง
จุดเน้นของเรื่อง (focus) หมายถึง เทคนิควิธีที่ใช้ในการนำเสนอเรื่องหรือประเด็นสำคัญ
ของเรื่องให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับสิ่งที่กำหนดให้เขียนและเป้าหมายของการเขียน ทั้งในส่วนนำ
ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
รายละเอียดเนื้อหาสาระที่นำเสนอ (support/elaboration) หมายถึง ปริมาณของ
เนื้อหาที่เขียนตามเกณฑ์ที่กำหนด ปริมาณข้อมูลและคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ในการขยายใจความ
สำคัญของเรื่อง และประเด็นสำคัญของเรื่องในแต่ละย่อหน้า ซึ่งคุณภาพของข้อมูลพิจารณา
จากความถูกต้อง ความสอดคล้องและความลึกซึ้ง
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน137
การจัดองค์ประกอบของเรื่องที่นำเสนอ (organization) หมายถึง การจัดองค์ประกอบ
ของการเขียนเรียงความเพื่อเชิญชวน โดยพิจารณาจากความครบถ้วนขององค์ประกอบของการเขียน
เรียงความที่ประกอบด้วยส่วนนำ ส่วนเนื้อหาและส่วนสรุป ความเหมาะสมของการเรียบเรียง
องค์ประกอบการเขียนเรียงความ และคุณภาพของรายละเอียดที่นำเสนอในแต่ละองค์ประกอบ เช่น
การเรียงลำดับเรื่องราว ความชัดเจน ความสมเหตุสมผลของการเรียงลำดับเรื่องราว เป็นต้น
ความสอดคล้องและเชื่อมโยงของเรื่อง (integration) หมายถึง ความกลมกลืนและเป็น
เอกภาพของเรื่องราวที่นำเสนอ โดยพิจารณาจากการวางโครงเรื่อง การเชื่อมโยงความคิด ทั้งระหว่าง
ประโยคและย่อหน้า ความสอดคล้องของเรื่องราวกับระดับชั้นที่เรียน ตลอดจนการใช้รายละเอียด
เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่าน
หลักภาษา (conventions) หมายถึง การเขียนเรื่องราวได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ทางภาษา พิจารณาจากความถูกต้องและความหลากหลายของประโยค การสะกดคำและการใช้คำ
หรือวลี ได้ถูกต้องตามหน้าที่และบริบท
การเขียนเชิญชวน (persuasive writing) หมายถึง การเขียนเรื่องเพื่อสนับสนุนความ
คิดเห็น หรือโต้แย้งความคิดเห็นหรือประเด็นที่กำหนด โดยมีการนำเสนอข้อเท็จจริงและใช้เทคนิควิธี
เพื่อดึงดูดหรือโน้มน้าวให้คนอื่นเห็นด้วย หรือยอมรับกับความคิดเห็นของตนเอง หรือทำตาม
แนวทางของตนเอง
ประเด็นสำคัญของเรื่อง (topic) หมายถึง ใจความสำคัญหรือสาระสำคัญที่ใช้เป็นกรอบ
หรือโครงสร้างของเรื่องราวที่นำเสนอ
ใจความสำคัญของเรื่อง (main idea) หมายถึง สาระสำคัญของเรื่องราวที่นำเสนอ
ในแต่ละส่วนหรือแต่ละย่อหน้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำคัญย่อย ๆ ในการสนับสนุนประเด็นสำคัญ
ของเรื่อง
ภาพรวมของเรื่อง (preview) หมายถึง การกล่าวนำเพื่ออธิบายภาพรวมของเรื่องราว
ทั้งหมดที่เขียน ว่าประกอบไปด้วยประเด็นหรือหัวข้ออะไรบ้าง ซึ่งจะเขียนไว้ในส่วนบทนำ
ส่วนบทนำ (introduction) หมายถึง การเขียนเสนอประเด็นสำคัญของเรื่องราวที่จะนำ
ไปสู่การนำเสนอสาระทั้งหมด มีลักษณะของการเบิกทางเพื่อนำเข้าสู่เรื่อง ซึ่งอาจใช้คำ ข้อความ
สำนวนหรืออื่น ๆ เพื่อเร้าหรือดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ติดตามสาระต่าง ๆ ในเรื่องราวที่จะนำเสนอ
ต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ
ส่วนเนื้อหา (content) หมายถึง เนื้อหาสาระหรือรายละเอียดที่นำเสนอในแต่ละใจความ
สำคัญเพื่อใช้สนับสนุนประเด็นสำคัญของเรื่อง ซึ่งประกอบไปด้วยใจความสำคัญของเรื่อง และข้อมูล
สนับสนุนใจความสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นการอธิบาย การขยายความหรือการให้ตัวอย่างประกอบ
138 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ส่วนสรุป (conclusion) หมายถึง การนำเสนอสาระที่เป็นแก่นหรือข้อสรุปของเรื่องราว
ที่นำเสนอทั้งหมด และปิดท้ายด้วยการให้ข้อเสนอแนะ การขอความร่วมมือ การเชิญชวน การโน้มน้าว
หรือการทิ้งประเด็นให้ผู้อ่านคิดขยายความต่อ เป็นต้น
ความเชื่อมโยง (idea connection) หมายถึง การเชื่อมต่อความคิดหรือใจความสำคัญ
ที่นำเสนอทั้งในระหว่างประโยค ระหว่างบรรทัดหรือระหว่างย่อหน้าตลอดแนวทั้งในระหว่างย่อหน้า
และตลอดทั้งเรื่อง ทั้งนี้อาจใช้คำ วลี ประโยค หรือข้อความที่เขียนในรูปของย่อหน้าในการเชื่อม
ประสาน
ความสอดคล้อง (congruence) หมายถึง การนำเสนอเรื่องราวหรือความคิดภายใต้
ประเด็นสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่อง
ความสมบูรณ์ของเรื่องที่เขียน (comprehensive) หมายถึง การนำเสนอเนื้อหาสาระ
ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักการเขียนเรียงความ โดยพิจารณาทั้งปริมาณเนื้อหาที่เขียน องค์ประกอบ
ของรูปแบบการเขียน และความสมบูรณ์ของเรื่องที่เขียน (เขียนเรื่องได้จบอย่างสมบูรณ์ตามประเด็น
ที่ตนเองเสนอ หรือตามสภาพความเป็นจริง)
ความกลมกลืนหรือความร้อยรัด หมายถึง ความสมบูรณ์ของการใช้คำ ประโยคหรือ
ข้อความที่สอดรับกันตลอดทั้งย่อหน้าและตลอดทั้งเรื่อง
โครงสร้างรูปแบบการเขียน หมายถึง ลักษณะการเขียนที่เป็นไปตามหลักการเขียนเรียงความ
ได้แก่ มีการเขียนบทนำ เนื้อหาและบทสรุป โดยทำนองของการเขียนเป็นไปในลักษณะของการเชิญชวน
โน้มน้าว หรือให้เหตุผล เพื่อให้คนอื่นคล้อยตามในลักษณะของการเห็นด้วย การยอมรับ การมีอารมณ์ร่วม
ตลอดจนการปฏิบัติตาม
ความยากเหมาะสมกับระดับชั้นที่เรียน หมายถึง ลักษณะของการเขียนเรียงความเพื่อ
เชิญชวนตามเกณฑ์การเขียนเรียงความ การใช้ภาษา และการนำเสนอเนื้อหาสาระตามสาระการเรียนรู้
เรื่องการเขียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ หรือช่วงชั้นที่ ๓ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๔๔
ความลึกซึ้ง หมายถึง ระดับของข้อมูลที่เป็นรายละเอียด ตัวอย่างหรือหลักฐานที่ผู้เขียน
ใช้ในการเขียนขยายความใจความสำคัญให้มีความชัดเจน และง่ายต่อความเข้าใจของผู้อ่าน
ความสมดุล หมายถึง การนำเสนอรายละเอียดหรือข้อมูลขยายแต่ละใจความสำคัญ
(ในแต่ละย่อหน้า) มีปริมาณและความลึกซึ้งใกล้เคียงกัน
ความสมเหตุสมผล หมายถึง ความสอดคล้องของสิ่งที่นำเสนอที่มีความเป็นเหตุและผล
ซึ่งกันและกัน ตามความเป็นจริง หรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง กฎหรือแนวคิดทฤษฎี
โครงสร้างที่หลากหลายของประโยค หมายถึง การเลือกใช้ประโยคในการเขียนเรื่องราว
ผสมผสานกันทั้งประโยคความเดียว ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน ประโยคปฏิเสธ ประโยค
บอกเล่า และประโยคคำถาม
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน139
Rubrics สำหรับประเมินคุณภาพการเข้าใจข้อมูล คุณภาพการปฏิบัติงาน
และคุณภาพการคิดประเภทต่าง ๆ ของผู้เรียน
ในการประเมินสภาพจริงทั้งครูและนักเรียนมักสงสัยว่าต้องทำได้ดีเพียงใดจึงจะยอมรับได้
การใช้เกณฑ์การประเมิน (Rubrics) จะช่วยให้เห็นภาพความสำเร็จของภาระงานที่มอบหมาย
Marzano (๒๐๐๐) ได้เสนอ Rubrics เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ที่ครู
ผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทการจัดการเรียนรู้ Rubrics เหล่านี้มี ๕ ระดับ ดังนี้
คุณภาพการเข้าใจข้อมูล มีองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการพิจารณา คือ ความถูกต้องและ
ความครบถ้วนของข้อมูล
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
คุณภาพ
การเข้าใจข้อมูล
ผู้เรียนเข้าใจข้อมูล
สำคัญพร้อม
รายละเอียด
ของเรื่องนั้น
อย่างถูกต้อง
และครบถ้วน
ผู้เรียนเข้าใจข้อมูล
สำคัญของเรื่องนั้น
แต่รายละเอียด
บางส่วนยังสับสน
หรือขาดหายไป
ผู้เรียนมีความเข้าใจ
ข้อมูลพื้นฐานของ
เรื่องนั้น แต่ยังมี
บางส่วนที่เข้าใจผิด
หรือยังไม่เข้าใจ
ผู้เรียนมีความเข้าใจ
ผิดมากจนทำให้ไม่
เข้าใจแม้แต่ข้อมูล
พื้นฐานของเรื่องนั้น
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
140 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
คุณภาพการปฏิบัติงาน ใช้ในการพิจารณาคุณภาพการปฏิบัติ ทักษะหรือขั้นตอน
กระบวนการ มีองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการพิจารณา คือ ความถูกต้อง ความคล่องแคล่ว
ความเข้าใจคุณลักษณะสำคัญของกระบวนการ
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
คุณภาพ
การปฏิบัติงาน
ผู้เรียนปฏิบัติทักษะ
หรือกระบวนการ
ที่สำคัญของเรื่องนั้น
ด้วยความ
คล่องแคล่ว และ
ไม่มีข้อผิดพลาด
ในเรื่องที่สำคัญ
นอกจากนี้
ยังมีความเข้าใจ
ลักษณะสำคัญ
ของกระบวนการ
ทางทักษะนั้น ๆ
ผู้เรียนปฏิบัติทักษะ
หรือกระบวนการ
ที่สำคัญของเรื่องนั้น
โดยไม่มีข้อผิดพลาด
ในเรื่องที่สำคัญ
ผู้เรียนปฏิบัติทักษะ
หรือกระบวนการ
ที่สำคัญของเรื่องนั้น
ได้เสร็จแบบหยาบ ๆ
และมีข้อผิดพลาด
ในเรื่องที่สำคัญ
ผู้เรียนปฏิบัติ
ผิดพลาดมาก
จนไม่สามารถ
ทำเรื่องนั้นได้เสร็จ
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
คุณภาพการคิด
สถาบัน Mc REL ได้ศึกษาทักษะการคิดที่ปรากฏในทุกกลุ่มสาระ จนกล่าวได้ว่าเป็นทักษะ
การคิดทั่วไปที่กำหนดในการพัฒนาผู้เรียน ประกอบด้วย ๑๐ ทักษะ และได้จัดประเภททักษะเหล่านี้
เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ทักษะการประมวลผลข้อมูล และทักษะการใช้ความรู้ (Marzano, ๒๐๐๐)
ดังนี้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน141
ทักษะการประมวลผลข้อมูล (General Information Processing Skills) ประกอบด้วย
๖ ทักษะย่อยต่อไปนี้
๑. การเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่าง (Comparing and Contrasting)
๒. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Analyzing Relationships)
๓. การจัดประเภท (Classifying)
๔. การให้เหตุผลสนับสนุนหรือโต้แย้ง (Argumentation)
๕. การอุปนัย (Making Induction)
๖. การนิรนัย (Making Deduction)
ทักษะการใช้ความรู้ (Knowledge Utilization Skills) ประกอบด้วย ๔ ทักษะย่อย
ต่อไปนี้
๗. การสืบเสาะ (Experimental Inquiry)
๘. การสำรวจตรวจสอบ (Investigation)
๙. การแก้ปัญหา (Problem Solving)
๑๐. การตัดสินใจ (Decision Making)
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
การเปรียบเทียบ
การวิเคราะห์
ความสัมพันธ์
ผู้เรียนนำคุณสมบัติ
สำคัญทั้งหมดของ
สิ่งนั้นมา
เปรียบเทียบได้ครบ
ทั้งประเด็นและ
รายละเอียด
ในบริบทของ
ข้อมูลนั้น ผู้เรียน
สามารถระบุความ
สัมพันธ์หลักและ
ความสัมพันธ์รอง
ที่สนับสนุน
ข้อมูลหลักได้
ผู้เรียนนำคุณสมบัติ
สำคัญที่สุดมา
เปรียบเทียบ
แต่ไม่ครอบคลุม
ทั้งหมด
ในบริบทของ
ข้อมูลนั้น ผู้เรียน
สามารถระบุ
รูปแบบความ
สัมพันธ์หลักได้
ผู้เรียนเปรียบเทียบ
โดยขาดประเด็น
สำคัญ/จำเป็น
บางข้อ
ในบริบทของ
ข้อมูลนั้นผู้เรียน
บอกคุณลักษณะ
บางอย่างของรูปแบบ
ความสัมพันธ์หลักได้
แต่ขาดส่วนที่สำคัญ
จำเป็น
ผู้เรียนเปรียบเทียบ
ในสิ่งที่ไม่สำคัญ/
จำเป็น
ในบริบทของ
ข้อมูลนั้น ผู้เรียน
ไม่สามารถระบุ
รูปแบบความ
สัมพันธ์หลักได้
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมินไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
142 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
การจัดประเภท
การอุปนัย
ผู้เรียนสามารถจัด
ระบบของรายการ
ต่าง ๆ จำแนก
ตามประเภท
และอธิบาย
คุณลักษณะของ
แต่ละประเภทได้
จากองค์ประกอบ
ที่พิจารณา ผู้เรียน
สามารถสร้าง
กฎเกณฑ์หรือลง
สรุปผลได้ชัดเจน
ถูกต้อง และ
สามารถอธิบาย
ความสมเหตุสมผล
ของการสรุปนั้นได้
ชัดเจน
ผู้เรียนสามารถ
จัดระบบของ
รายการต่าง ๆ
จำแนกตามประเภท
แต่อธิบาย
คุณลักษณะของ
แต่ละประเภทได้
ไม่ครบถ้วน
จากองค์ประกอบ
ที่พิจารณา ผู้เรียน
สามารถสรุปผลได้
ถูกต้อง แต่ยัง
อธิบายความสมเหตุ
สมผลของการ
สรุปนั้นไม่ชัดเจน
ผู้เรียนจำแนก
ประเภทของ
รายการต่าง ๆ
ยังไม่เป็นระบบ
ที่ชัดเจน แต่อธิบาย
คุณลักษณะที่เด่น ๆ
ของบางรายการได้
จากองค์ประกอบ
ที่พิจารณา ผู้เรียน
สามารถลงสรุปผล
ที่เชื่อมโยงกับสาระ
ที่พิจารณานั้นได้
แต่ยังไม่สมเหตุสมผล
ผู้เรียนจำแนก
ประเภทรายการ
ต่าง ๆ ไม่เป็นระบบ
จากองค์ประกอบ
ที่พิจารณา ผู้เรียน
ไม่สามารถ
ลงสรุปผล หรือ
สรุปผิด ไม่เชื่อมโยง
กับสาระที่พิจารณา
นั้น
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมินไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
การนิรนัย
จากหลักการ/
ข้อกำหนดนั้น ๆ
ผู้เรียนสามารถนำ
มาใช้คาดการณ์ผล
หรือหาผลสรุปได้
ถูกต้อง ตลอดจน
สามารถอธิบาย
ความสัมพันธ์
ระหว่างผลที่
คาดการณ์ หรือ
ข้อสรุปกับหลักการ/
ข้อกำหนดที่ใช้
จากหลักเณฑ์/
ข้อกำหนดนั้น ๆ
ผู้เรียนสามารถนำ
มาใช้คาดการณ์ผล
หรือหาผลสรุปได้
ถูกต้อง แต่การ
อธิบายความ
สัมพันธ์ระหว่างผล
ที่คาดการณ์กับ
หลักการ/
ข้อกำหนดที่ใช้
ไม่สมบูรณ์
จากหลักการ/
ข้อกำหนด ผู้เรียน
สามารถนำมาใช้
คาดการณ์ผลหรือ
หาผลสรุปที่
สนับสนุนหลักการ/
ข้อกำหนดที่ใช้เพียง
บางส่วน
ผู้เรียนไม่สามารถ
นำหลักการ/
ข้อกำหนดมาใช้
คาดการณ์หรือ
หาผลสรุปได้/หรือ
คาดการณ์หรือ
หาผลสรุปที่ไม่ตรง
กับหลักการ/
ข้อกำหนดที่ใช้
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน143
การสืบเสาะและการสำรวจตรวจสอบ เป็นการมอบหมายงานที่ผู้เรียนต้องวางแผน และ
ดำเนินการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นสภาพจริง
การสืบเสาะ มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ (Steven, ๒๐๐๕)
๑. ระบุปัญหา
๒. ตั้งสมมติฐาน
๓. เก็บรวบรวมข้อมูล
๔. วิเคราะห์ข้อมูล
๕. สรุปผลข้อมูล
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
การสืบเสาะ
ผู้เรียนออกแบบ
และดำเนินการ
ทดลองโดยมีการ
ทดสอบข้อ
สมมติฐาน
อย่างเพียงพอ
ข้อสมมติฐานเขียน
อย่างชัดเจน เมื่อ
การทดลองเสร็จ
สมบูรณ์ ผู้เรียน
สามารถอธิบายผล
ได้อย่างละเอียด
และถูกต้อง
ผู้เรียนออกแบบ
และดำเนินการ
ทดลองโดยมีการ
ทดสอบข้อสมมติฐาน
อย่างเพียงพอ
ข้อสมมติฐานเขียน
อย่างชัดเจน
แต่ผู้เรียนไม่ได้
อธิบายผลที่เกิด
อย่างเพียงพอ
ผู้เรียนออกแบบ
และดำเนินการ
ทดลองตามข้อ
สมมติฐาน แต่ขาด
การทดสอบ
ข้อสมมติฐาน
ที่เพียงพอ
ผู้เรียนไม่ได้
ออกแบบและ
ดำเนินการทดลอง
หรือออกแบบ
การทดลอง
ที่ไม่เชื่อมโยงกับ
ข้อสมมติฐาน
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
144 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การสำรวจตรวจสอบ มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ๔ ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ (Stever, ๒๐๐๕)
๑. ระบุปัญหา
๒. สรุปสภาพปัญหาให้เป็นข้อความ
๓. วางแผนการสำรวจตรวจสอบ
๔. ประเมินผลลัพธ์การสำรวจตรวจสอบ พร้อมนำแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินการต่อไป
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
การสำรวจ
ตรวจสอบ
ผู้เรียนระบุสิ่งที่รู้
เกี่ยวกับเรื่องที่จะ
ตรวจสอบได้อย่าง
ครบถ้วนและ
ถูกต้อง และนำเสนอ
แนวทางแก้ไข
ความยุ่งยาก หรือ
ข้อขัดแย้งของ
สถานการณ์นั้นได้
อย่างเป็นระบบ
ผู้เรียนระบุสิ่งที่รู้
เกี่ยวกับเรื่องที่จะ
ตรวจสอบได้อย่าง
ครบถ้วนและ
ถูกต้อง แต่แนวทาง
แก้ไขยังไม่ตอบสนอง
ความยุ่งยากหรือข้อ
ขัดแย้งของสถานการณ์
นั้นมากนัก
ผู้เรียนนำเสนอ
สิ่งที่รู้เกี่ยวกับเรื่อง
ที่จะตรวจสอบ
ได้บางส่วน
การนำเสนอสิ่งที่
ผู้เรียนรู้เกี่ยวกับ
เรื่องที่จะตรวจสอบ
ยังไม่ถูกต้อง
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน145
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑ ๐
การแก้ปัญหา
การตัดสินใจ
ผู้เรียนสามารถ
เลือกวิธีการที่มี
ประสิทธิภาพที่สุด
เหมาะสมที่สุด
ในการแก้ปัญหา
ข้อจำกัดต่าง ๆ
และอธิบายได้
สมบูรณ์ถูกต้องว่า
ทำไมแนวทางที่ใช้
จึงมีประสิทธิภาพ
ที่สุด
ผู้เรียนใช้เกณฑ์
ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง
กับบริบทในการ
เลือกทางเลือกที่
เหมาะสมที่สุดต่อ
การตัดสินใจ และ
สามารถอธิบายได้
ว่าทำไมทางเลือก
นั้นจึงเหมาะสม
ที่สุด
ผู้เรียนสามารถ
เลือกวิธีการที่มี
ประสิทธิภาพมาก
ที่สุด เหมาะสมที่สุด
ในการแก้ปัญหา
ข้อจำกัดต่าง ๆ
แต่อธิบายได้
ไม่ครบถ้วนว่าทำไม
แนวทางที่ใช้จึงมี
ประสิทธิภาพมาก
ที่สุด
ผู้เรียนใช้เกณฑ์
ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง
กับบริบทในการ
เลือกทางเลือกที่
เหมาะสมที่สุด
แต่ไม่สามารถ
อธิบายได้ครบถ้วน
ว่าทำไมทางเลือก
นั้นจึงเหมาะสม
ที่สุด
ผู้เรียนเลือกวิธีการ
ที่สามารถแก้ปัญหา
ข้อจำกัดต่าง ๆ
แต่ยังไม่เป็นวิธีการ
ที่มีประสิทธิภาพ
ที่สุด เหมาะสม
ที่สุด
ผู้เรียนใช้เกณฑ์
ที่เชื่อมโยงกับ
สถานการณ์แต่ยัง
ไม่เป็นเกณฑ์ที่
เกี่ยวข้องที่สุดกับ
บริบทใน
สถานการณ์ หรือ
ใช้ทางเลือกที่ยังไม่
เหมาะสมที่สุดกับ
เกณฑ์ที่ให้
ผู้เรียนเลือกวิธีการ
ที่ไม่สามารถ
แก้ปัญหา ข้อจำกัด
ต่าง ๆ ได้
ผู้เรียนใช้เกณฑ์
ที่ไม่เชื่อมโยงกับ
สถานการณ์
ไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมินไม่มีข้อมูลเพื่อการประเมิน
146 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ใบความรู้ที่ ๒.๔
วิธีการหาคุณภาพเครื่องมือ
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ครูผู้สอนต้องหาคุณภาพของเครื่องมือ
เพื่อเป็นการยืนยันว่าเครื่องมือดังกล่าวมีคุณภาพ ซึ่งการหาคุณภาพของเครื่องมือสามารถจำแนกเป็น
๒ ลักษณะ คือ
๑. การหาคุณภาพของเครื่องมือเป็นรายข้อ ได้แก่
- ค่าความยาก หาได้จากสัดส่วนของผู้ตอบคำถามข้อนั้นถูก กับจำนวนผู้ตอบทั้งหมด
- ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้หรือ
วัด ความถนัดหาได้จากสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความสามารถของผู้ตอบกับการตอบถูก
ส่วนเครื่องมือวัดบุคลิกภาพ หรือเจตคติหาได้จากสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนคุณสมบัติ
ทางบุคลิกภาพนั้นกับคะแนนการตอบคำถามรายข้อ
๒. การหาคุณภาพของเครื่องมือทั้งฉบับ ได้แก่
๒.๑ ความเที่ยงตรง (Validity) ประกอบด้วย
- ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่าง
ข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC = Index of Item-Objective Congruence)
- ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง อาจใช้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ความสอดคล้อง
ระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ หรือใช้วิธีการทางสถิติ คือวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor
Analysis) เพื่อดูว่าข้อคำถามเกาะกลุ่มกันตามองค์ประกอบที่ระบุไว้ตามทฤษฎีหรือไม่
- ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ ซึ่งจำแนกเป็นความเที่ยงตรงตามสภาพ
และความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากเครื่องมือวัด
กับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นในสภาพปัจจุบัน ซึ่งค่าสหสัมพันธ์ที่ได้จะเป็นความเที่ยงตรงตามสภาพ และ
เกณฑ์ที่กำหนดไว้ในอนาคต และค่าสหสัมพันธ์ที่ได้จะเป็นความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์
๒.๒ ความเชื่อมั่น (Reliability) เป็นการแสดงความคงเส้นคงวาของคะแนนหรือ
ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลไม่ว่ากี่ครั้งก็ตามจะได้ผลเหมือนเดิม วิธีการหาความเชื่อมั่น
มีหลายวิธีตามลักษณะของข้อมูลดังนี้
- สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product Moment
- คูเดอร์-ริชาร์ดสัน KR ๒๐ KR ๒๑
- สัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient)
หมายเหตุ : รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการหาคุณภาพของเครื่องมือ สามารถศึกษาจากเอกสาร/
ตำราเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน147
ตัวอย่าง
การหาคุณภาพโดยการประเมินความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์
ของการวัด (IOC= Index of Item-Objective Congruence)
การตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity)
ของข้อคำถาม เป็นการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับตัวชี้วัด
ผู้เชี่ยวชาญ คือ ผู้ที่เป็นที่ยอมรับของคนในวงการ/สาขางานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือเรื่อง
ที่จะวัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล และควรมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญ ๓-๕ คน
เอกสารที่ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาควรประกอบด้วย ข้อสอบหรือข้อคำถามที่สร้างขึ้น
แบบบันทึกการตรวจสอบคุณภาพ และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ตัวชี้วัด
วิธีการตรวจสอบ
๑. ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มุ่งเน้นในประเด็นความตรงของเครื่องมือวัด
คือ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเป็นหลัก และพิจารณาลักษณะของข้อสอบที่ดีประกอบด้วย นั่นคือ
พิจารณาในประเด็นต่อไปนี้
๑.๑ ข้อคำถามของข้อสอบตรงกับตัวชี้วัดหรือไม่
๑.๒ ข้อคำถามมีความเป็นปรนัย เหมาะสม ชัดเจน หรือไม่ ระดับภาษาหรือคำถาม
เหมาะสมกับระดับชั้นหรือไม่
๑.๓ ข้อความในข้อสอบกะทัดรัด ชัดเจนหรือไม่ ระดับภาษาเหมาะสมกับผู้ตอบหรือไม่
ใช้ศัพท์เทคนิคเกินความจำเป็นหรือไม่
๒. บันทึกผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อสอบแล้ว
จะบันทึกความคิดเห็นลงในแบบบันทึกการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับตัวชี้วัด
ตัวอย่างการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
148 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด มฐ ค ๔.๒ ม.๑/๑ แก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวอย่างง่าย
ความเห็น
สิ่งที่ควร
ปรับปรุง
แน่ใจว่า
สอดคล้อง
(+๑)
ไม่แน่ใจว่า
สอดคล้อง
(๐)
แน่ใจว่า
ไม่สอดคล้อง
(-๑)
ข้อคำถาม
(0) จากสมการ ๒x + ๓ = ๕
แล้ว ๕x มีค่าเท่าไร
ก. ๑
ข. ๔
ค. ๕ (ข้อถูก)
ง. ๒๐
๓. หาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับตัวชี้วัด (IOC) ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน
พิจารณาความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องของข้อคำถามรายข้อ (สอดคล้อง ไม่แน่ใจ ไม่สอดคล้อง)
แล้วนำผลรวมรายข้อมาหาค่าเฉลี่ยที่เรียกว่า ดัชนี IOC ดังนี้
IOC = ΣR
เมื่อ IOC คือ ดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับตัวชี้วัด
ΣR คือ ผลรวมของความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
N คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
การให้คะแนนของความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
+๑ หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับตัวชี้วัด
๐ หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามสอดคล้องกับตัวชี้วัด
-๑ หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามไม่สอดคล้องกับตัวชี้วัด
เกณฑ์การพิจารณาคือ ค่า IOC ตั้งแต่ .๕๐ ขึ้นไป ถือว่าข้อคำถามสอดคล้องกับตัวชี้วัด
ค่า IOC ต่ำกว่า .๕๐ ควรปรับปรุง หรือตัดทิ้ง
N
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน149
ตัวอย่าง
สรุปผลการประเมินความสอดคล้องกับระหว่างข้อคำถามกับตัวชี้วัด
ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๕ คน
ข้อสอบ (ข้อที่)
ผู้เชี่ยวชาญ (คนที่)
รวม IOC ผลการประเมิน
๑ ๒ ๓ ๔ ๕
๑ ๑ ๐ -๑ ๑ ๑ ๒ .๔๐ ปรับปรุง/ตัดทิ้ง
๒ ๐ ๑ ๑ ๑ ๑ ๔ .๘๐ ใช้ได้
๓ ๑ -๑ -๑ -๑ ๑ -๒ -.๔๐ ปรับปรุง/ตัดทิ้ง
๔ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๕ ๑.๐๐ ใช้ได้
๕ ๑ ๑ ๑ ๐ ๑ ๔ .๘๐ ใช้ได้
๖ ๑ -๑ -๑ -๑ ๑ -๑ -.๒๐ ปรับปรุง/ตัดทิ้ง
๗ ๐ ๑ ๑ ๑ ๑ ๔ .๘๐ ใช้ได้
๘ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๕ ๑.๐๐ ใช้ได้
๙ ๐ ๐ ๑ ๑ ๑ ๓ .๖๐ ใช้ได้
๑๐ ๑ ๑ ๑ ๑ ๐ ๔ .๘๐ ใช้ได้
150 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เอกสารประกอบกิจกรรมที่ ๒
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ นอกจากจะพิจารณาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ของชั้นปีแล้ว อาจนำประเด็นที่ผู้สนใจหรือประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสถานศึกษาหรือชุมชน ฯลฯ
มาพิจารณาว่าสอดคล้องกับตัวชี้วัดใดบ้าง นำมาจัดกลุ่มเป็นหน่วยการเรียนรู้ กำหนดชิ้นงานรวบยอด
ของหน่วยว่าคืออะไร ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ได้ชิ้นงานนั้น กำหนดวิธีการวัด และ
สร้างเครื่องมือวัดในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนว่าผู้เรียนบรรลุตัวชี้วัดแต่ละตัวในกิจกรรมนั้น ๆ
ซึ่งเป็นการประเมินระหว่างเรียน เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้และได้ชิ้นงานออกมาแล้วจึงประเมินสรุป
โดยประเมินผลงาน ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้
กรณีตัวอย่าง : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำไปสู่ชิ้นงานและภาระงานรวบยอด และ
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในชั้นเรียน
ครูกิ่งรับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานช่าง) ได้รับข่าวสาร
จากโทรทัศน์เกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม
จึงต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับน้ำเสีย ตระหนักถึงความสำคัญของการบำบัดน้ำเสีย และ
รู้วิธีแก้ปัญหาก่อนที่จะปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำ จึงกำหนดหน่วยการเรียนรู้จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
และกำหนดชิ้นงานจากการระดมสมองผู้เรียนที่ได้จากการสำรวจแหล่งที่มาของน้ำเสียภายในบริเวณ
โรงเรียน โดยให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มทำชิ้นงานเกี่ยวกับที่ดักไขมันจากร้านอาหารในบริเวณของโรงเรียน
ครูกิ่งมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลดังแสดงในตาราง และครูกิ่งได้
จัดเตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อใช้ประเมินผู้เรียนในขั้นตอนต่าง ๆ ระหว่าง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน151
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล
ตัวชี้วัด
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๑ อธิบายวิธีการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒ สร้างผลงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
และมีทักษะการทำงานร่วมกัน
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๓ มีทักษะการจัดการในการทำงาน
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๔ มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ในการทำงาน
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๕ มีทักษะในการแสวงหาความรู้
เพื่อการดำรงชีวิต
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๗ ใช้พลังงาน ทรัพยากรในการทำงาน
อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
๑. ครูกับผู้เรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสียจาก
โรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
๒. แบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ทำการสำรวจแหล่งที่มาของ น้ำเสีย
ภายในบริเวณโรงเรียน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาแล้ว
สรุปร่วมกันว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ น้ำเสียจากร้าน
อาหาร (ภายใต้บริบทของโรงเรียนนี้น้ำเสียจากร้านอาหารเป็น
ปัญหามากที่สุด) (ง ๑.๑ ม.๔-๖/๓ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๔)
๓. ผู้เรียนศึกษาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของไขมันที่ปะปนมากับ
การปรุงอาหารและการล้างภาชนะรวมถึงวิธีการกำจัดไขมัน
(ง ๑.๑ ม.๔-๖/๕)
๔. ครูและผู้เรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์การประเมิน ที่ดักไขมัน
(ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒)
๕. ผู้เรียนร่วมกันวางแผน และออกแบบที่ดักไขมันจากน้ำทิ้ง
ของร้านอาหารในโรงเรียน โดยพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้าน
(ง ๑.๑ ม.๔-๖/๑ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๕)
- การใช้คำถาม
คำถาม จากข่าวสารในปัจจุบันที่เกี่ยวกับปัญหาน้ำเสียจาก
โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย
ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง ผู้เรียนคิดว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบ
ในภายหน้าอย่างไรบ้าง
คำถาม จากการสำรวจแหล่งที่มาของน้ำเสียภายในบริเวณ
โรงเรียนผู้เรียนคิดว่าแหล่งของน้ำเสียภายในบริเวณใดที่เป็น
ปัญหา และควรได้รับการแก้ไขด้วยวิธีการใด
- การทดสอบ
แบบทดสอบเลือกตอบ (ดูตัวอย่างที่ ๑)
- เกณฑ์การประเมิน (Rubrics) (ดูตัวอย่างที่ ๕)
- การตรวจบันทึกผลการศึกษาข้อมูลของผู้เรียน
แบบบันทึกผลการศึกษาข้อมูลของผู้เรียน (ดูตัวอย่างที่ ๒)
152 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล
๖. ผู้เรียนร่วมกันสร้างที่ดักไขมันจากน้ำทิ้งของร้านอาหาร
ในโรงเรียน (ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๓ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๔)
๗. ผู้เรียนนำเสนอกระบวนการและผลการสร้างที่ดักไขมัน
ของแต่ละกลุ่ม
(ง ๑.๑ ม.๔-๖/๑ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๓ ง ๑.๑
ม.๔-๖/๔ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๕ ง ๑.๑ ม.๔-๖/๗)
๘. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำที่ดัก
ไขมันและประเมินร่วมกัน พร้อมให้เหตุผลประกอบ
- การประเมินการปฏิบัติงาน (ตามสภาพจริง)
แบบประเมินการปฏิบัติงาน (ดูตัวอย่างที่ ๓)
- การสังเกต
แบบสังเกตการทำงานร่วมกัน (ดูตัวอย่างที่ ๔)
- เกณฑ์การประเมินแบบ Rubric (ดูตัวอย่างที่ ๕)
- การใช้คำถาม
คำถาม ผู้เรียนมีวิธีดำเนินการอย่างไรในการสร้าง และมีการ
แก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างไร
- การใช้คำถาม
คำถาม ผู้เรียนคิดว่าที่ดักไขมันของแต่ละกลุ่มมีข้อเด่นและ
ข้อที่ควรพัฒนาว่าแตกต่างกันอย่างไร
แบบบันทึกการปฏิบัติงานของผู้เรียน (ดูตัวอย่างที่ ๖)
- การประเมินตนเอง (ดูตัวอย่างที่ ๗)
แบบประเมินตนเอง
- การประเมินโดยเพื่อนประเมินเพื่อน (ดูตัวอย่างที่ ๗)
แบบเพื่อนประเมินเพื่อน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน153
ตัวอย่างที่ ๑
แบบทดสอบวัดความรู้ของนักเรียน
๑. น้ำเสียจากบ้านเรือนเกิดจากกิจกรรมใดมากที่สุด ๔. ที่ดักไขมันใช้หลักการในเรื่องใด
ก. ซักผ้า ก. กาลักน้ำ
ข. ล้างรถ ข. แรงลอยตัว
ค. อาบน้ำ ค. การตกตะกอน
ง. ทำอาหาร ง. ความกดอากาศ
๒. สถานที่ใดมีน้ำเสียมากที่สุด ๕. วัตถุประสงค์สำคัญของที่ดักไขมันคือข้อใด
ก. โรงแรม ก. การบำบัดน้ำเสีย
ข. ร้านอาหาร ข. การรักษาสภาพแวดล้อม
ค. โรงพยาบาล ค. การปรับปรุงคุณภาพน้ำเสีย
ง. บ้านพักอาศัย ง. การลดจำนวนไขมันในน้ำเสีย
๓. ประสิทธิภาพของที่ดักไขมันขึ้นอยู่กับสิ่งใด ๖. ข้อใดเป็นการรักษาที่ดักไขมันให้ใช้งานได้ยาวนาน
น้อยที่สุด ก. ใช้น้ำร้อนล้างจานชาม
ก. อุณหภูมิของน้ำเสีย ข. ตักไขมันออกอย่างสม่ำเสมอ
ข. ปริมาณของแข็งในน้ำเสีย ค. ล้างจานชามเมื่อมีจำนวนมาก
ค. ทางเข้าทางออกของน้ำเสีย ง. กวาดเศษอาหารออกจากจานชามก่อนล้าง
ง. ระยะเวลาในการเก็บกักน้ำเสีย
เฉลย
๑. ง ๒. ค ๓. ก ๔. ข ๕. ง ๖. ข
154 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ ๒
แบบบันทึกผลการศึกษาข้อมูลของผู้เรียน
๑. ลักษณะการไหลของน้ำเสีย
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๒. ปริมาณของน้ำเสีย
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๓. อุปกรณ์ที่จะใช้ในการสร้างที่ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๔. วัสดุที่ใช้ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๕. ขนาดและรูปร่างของที่ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๖. ความคงทนของที่ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๗. ลักษณะการจัดวางที่ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
๘. การบำรุงรักษาที่ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
สรุปแนวคิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบการสร้างที่ดักไขมัน
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
……………………………………………………..……………………………………………………...........................................
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน155
ตัวอย่างที่ ๓
แบบสังเกตการทำงานร่วมกัน
* เป็นข้อสังเกตที่ครูผู้สอนเป็นผู้บันทึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียน เมื่อพบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรม
ที่ต้องแก้ไขครูควรบันทึกและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
ข้อ พฤติกรรมที่สังเกต
ข้อสังเกต*
การปฏิบัติ
มี ไม่มี
๑. มีการประชุมวางแผนร่วมกัน
๒. มีการแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มเพื่อรับผิดชอบ
๓. ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
๔. มีการร่วมกันแก้ปัญหา
๕. มีการยอมรับความเห็นซึ่งกันและกัน
156 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ ๔
การประเมินการปฏิบัติงาน (ประเมินตามสภาพจริง)
* เป็นข้อสังเกตที่ครูผู้สอนเป็นผู้บันทึกเกี่ยวกับการปฏิบัติของผู้เรียน เมื่อพบว่าผู้เรียนมีการปฏิบัติ
ที่ต้องแก้ไขครูควรบันทึกและให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
ข้อ ประเด็น
ข้อสังเกต*
การปฏิบัติ
มี ไม่มี
๑. ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
๒. ดำเนินการสร้างตามแบบที่กำหนดไว้
๓. มีการนำไปทดลองใช้จริง
๔. มีการเก็บข้อมูลผลของการทดลอง
๕. มีการนำปัญหาจากการทดลองมาหาสาเหตุของปัญหา
๖. มีการแก้ปัญหาจากการทดลอง
๗. มีการปรับปรุงแก้ไขหลังจากการทดลอง
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน157
ตัวอย่างที่ ๕
เกณฑ์การประเมินแบบ Rubrics
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑
การศึกษา
ค้นคว้าข้อมูล
(+ความคิด
สร้างสรรค์)
สะท้อนตัวชี้วัด
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๑
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๕
กระบวนการ
ทำงาน
(+ความคิด
สร้างสรรค์)
สะท้อนตัวชี้วัด
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๓
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๔
การทำงาน
ร่วมกัน
สะท้อนตัวชี้วัด
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒
คุณภาพของ
ที่ดักไขมัน
(+ความคิด
สร้างสรรค์)
สะท้อนตัวชี้วัด
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๒
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๗
- หาข้อมูลจากแหล่ง
ที่หลากหลาย เชื่อถือได้
และมีการอ้างอิงแหล่ง
ข้อมูล
- ข้อมูลมีความครบถ้วน
ผ่านกระบวนการ
วิเคราะห์ที่ครอบคลุม
ประเด็นปัญหา วัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้และ
วิธีดำเนินการ
- มีการวางแผน
โดยอาศัยข้อมูลที่ผ่าน
การวิเคราะห์อย่างรอบด้าน
ดำเนินการตามแผน
มีการประเมินระหว่าง
ปฏิบัติเพื่อปรับปรุง
แก้ไขให้ผลงานบรรลุ
วัตถุประสงค์
- มีการแบ่งหน้าที่ความ
รับผิดชอบของแต่ละ
คนอย่างชัดเจน และ
ทุกคนมีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติงานและลง
ความเห็นร่วมกัน
- ชิ้นงานแปลกใหม่
- สามารถดักจับไขมัน
ได้ดี
- วัสดุหาง่ายและ
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- การใช้และดูแลรักษา
ไม่ยุ่งยาก
ระดับคุณภาพ
- หาข้อมูลจากแหล่ง
ที่หลากหลาย เชื่อถือได้
ไม่มีการอ้างอิงแหล่ง
ข้อมูล
- ข้อมูลมีความครบ
ถ้วน ผ่านกระบวนการ
วิเคราะห์ที่ครอบคลุม
ประเด็นปัญหา วัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้ และ
วิธีดำเนินการ
- มีการวางแผน
โดยอาศัยข้อมูลที่ผ่าน
การวิเคราะห์แต่ยังไม่
รอบด้าน ดำเนินการ
ตามแผน มีการประเมิน
ระหว่างปฏิบัติเพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขให้ผลงาน
บรรลุวัตถุประสงค์
- มีการแบ่งหน้าที่ความ
รับผิดชอบของแต่ละ
คนอย่างชัดเจน แต่บาง
คนยังไม่มีส่วนร่วมใน
การปฏิบัติงานและ
ลงความเห็นร่วมกัน
- ชิ้นงานแปลกใหม่
- สามารถดักจับไขมัน
ได้ดี
- การใช้และดูแลรักษา
ไม่ยุ่งยาก
- หาข้อมูลจากแหล่ง
ที่หลากหลาย เชื่อถือได้
ไม่มีการอ้างอิงแหล่ง
ข้อมูล
- ข้อมูลครอบคลุม
ประเด็นปัญหา แต่ยัง
ขาดประเด็นวัสดุ
อุปกรณ์ที่ใช้ หรือ
วิธีดำเนินการ
- มีการวางแผน
ดำเนินการตามแผน
มีการประเมินระหว่าง
ปฏิบัติ แต่มิได้นำผลไป
ปรับปรุงแก้ไข
- การแบ่งหน้าที่ความ
รับผิดชอบของแต่ละ
คนยังไม่ชัดเจน บางคน
ยังไม่มีส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติงานและใช้ความ
คิดเห็นของคน ๆ เดียว
ในการตัดสินใจ
- ชิ้นงานไม่แปลกใหม่
- ดักจับไขมันได้ไม่ดีเท่า
ที่ควร
- การใช้หรือดูแลรักษา
มีความยุ่งยาก
- หาข้อมูลจาก
แหล่งเดียว ขาดความ
น่าเชื่อถือ ไม่มีการอ้างอิง
แหล่งข้อมูล
- ข้อมูลครอบคลุม
ประเด็นปัญหา แต่ขาด
ประเด็นวัสดุอุปกรณ์
ที่ใช้ และวิธีดำเนินการ
- มีการวางแผน
ดำเนินการตามแผน
ไม่มีการประเมิน
ระหว่างปฏิบัติ
- มีผู้รับผิดชอบ
เพียงคนเดียวและ
ไม่รับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น
- การดักจับไขมัน ไม่ดี
- การใช้และดูแลรักษา
มีความยุ่งยาก
158 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
คะแนน
ประเด็น
๔ ๓ ๒ ๑
การนำเสนอ
สะท้อนตัวชี้วัด
ง ๑.๑ ม.๔-๖/๑
- พูดเปิดประเด็นได้น่า
สนใจและสรุปประเด็น
ชัดเจน
- มีการนำเสนอ
กระบวนการและ
ผลการปฏิบัติงาน
อย่างครบถ้วน
- สื่อประกอบการนำ
เสนอชัดเจน ทำให้เข้าใจ
ง่ายยิ่งขึ้น
ระดับคุณภาพ
- พูดเปิดประเด็นได้น่า
สนใจและสรุปประเด็น
ชัดเจน
- มีการนำเสนอ
กระบวนการและ
ผลการปฏิบัติงาน
อย่างครบถ้วน
- สื่อประกอบการนำ
เสนอชัดเจน
- พูดเปิดประเด็นน่า
สนใจ แต่ไม่มีการสรุป
ประเด็น
- มีการนำเสนอผล
การปฏิบัติงาน
- สื่อประกอบการนำ
เสนอยังไม่ชัดเจน
- พูดเปิดประเด็นไม่น่า
สนใจ และไม่มีการสรุป
ประเด็น
- มีการนำเสนอผล
การปฏิบัติงาน
- สื่อประกอบการนำ
เสนอไม่ตรงประเด็น
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน159
ตัวอย่างที่ ๖
แบบสรุปทบทวนการปฏิบัติงานของผู้เรียน
ตอนที่ ๑ การทบทวนข้อมูลจากคำถามของครูในประเด็นต่อไปนี้
ข้อเด่น ข้อที่ควรพัฒนา
การนำไปใช้ ....................................................... .......................................................
....................................................... .......................................................
วัสดุที่ใช้ ....................................................... .......................................................
....................................................... .......................................................
การติดตั้ง ....................................................... .......................................................
....................................................... .......................................................
การดูแลรักษา ....................................................... .......................................................
....................................................... .......................................................
ประสิทธิภาพในการทำงาน ....................................................... .......................................................
....................................................... .......................................................
ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข
................................................................................. .................................................................................
................................................................................. .................................................................................
................................................................................. .................................................................................
ตอนที่ ๒ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติกิจกรรม
160 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ตัวอย่างที่ ๗
แบบประเมินตนเอง และเพื่อนประเมินเพื่อน
ข้อ รายการประเมิน
๑. การนำไปใช้ ยาก ง่าย
๒. วัสดุที่ใช้ เหมาะสม ไม่เหมาะสม
๓. การติดตั้ง ยาก ง่าย
๔. การดูแลรักษา ยาก ง่าย
๕. ประสิทธิภาพในการทำงาน ดี ไม่ดี
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน161
แบบบันทึกกิจกรรมที่ ๒
การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลระหว่างเรียน และชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด
มาตรฐานการเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผล
และตัวชี้วัด
กิจกรรมการเรียนรู้
ที่นำไปสู่ชิ้นงาน
ภาระงานรวบยอด
162 สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เครื่องมือวัดและประเมินระหว่างเรียน และชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด